โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น แต่อยากซื้อหุ้น จะทำอย่างไรดี

Stock2morrow

อัพเดต 21 ส.ค. 2562 เวลา 05.08 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 03.34 น. • Stock2morrow
ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น แต่อยากซื้อหุ้น จะทำอย่างไรดี
ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น แต่อยากซื้อหุ้น จะทำอย่างไรดี

ถ้าคุณพบว่าตัวเองนั้น อยากลงทุน แต่ไม่มีความรู้ หรือไม่ชำนาญ อยากลงทุน แต่ไม่มีความรู้ หรือไม่ ชำนาญ อยากลงทุน แต่มีเงินไม่มากนัก รู้แล้วว่ากองทุนรวมคือทางออก ว่าแต่มันจะมีมั้ย ? กองทุนรวมแบบที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีเหมือนหรือคล้ายลงทุนในหุ้น แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า มีครับ ก็ “กองทุนหุ้น” ไง มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นข้อมูล เปรียบเทียบการลงทุนใน “หุ้นรายตัว” กับ “กองทุนหุ้น” (โดยไม่รวม LTF RMF)

 

หลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2556 พบว่าทั้งตลาดมีหุ้น 452 ตัว มีหุ้นผลตอบแทนติดลบ 38 ตัว ในขณะที่กองทุนหุ้นมี 103 ตัว แต่ไม่มีกองทุนหุ้นตัวใดมีผลตอบแทนติดลบเลย ในขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยไกล้เคียงกันคือ หุ้นรายตัวมีผลตอบแทนเฉลี่ย 38.47% และกองทุนหุ้นมีผลตอบแทนเฉลี่ย 37.32%

 

"อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณคงเริ่มคิดแล้วว่ากองทุนหุ้นน่าสนใจ งั้นเรามาทำความรู้จักกองทุนหุ้นกัน"

 

กองทุนหุ้นนั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ “กองทุนตราสารทุน” (Equity Fund) มันคือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนตราสารทุนประเภทต่างๆ ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นๆ โดยสัดส่วนของการลงทุนต้องเป็นไปตามที่เกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด คือ ต้องลงทุนในตลาดทุนไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเงินส่วนที่เหลืออาจจะนำไปใช้ลงทุนสินค้าอื่นๆ ก็ได้

 

ในแต่ละกองทุนจะมีการชี้แจงนโยบายการเลือกหุ้นที่จะลงทุน เช่น เลือกลงทุนหุ้นขนาดเล็ก หุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตสูง หุ้นที่มีมูลค่าการตลาด ไม่เกิน 20,000 ล้าน หรือเลือกลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 25 อันดับแรกของตลาด ก็ว่ากันไป

 

กองทุนรวมประเภทนี้ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงเนื่องจากเป็นการนำเงินไปลงทุนในตราสารทุน ซึ่งมีความผันผวนของราคาค่อนข้างสูง แต่ก็ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงด้วยเช่นกัน

 

กองทุนตราสารทุนจะมีนโยบายลงทุนหลักๆ อยู่ 2 ประเภทคือ

 

1.กองทุนที่เน้นเอาชนะผลตอบแทนตลาด (Active Fund) เช่น ถ้าปีนั้นตลาดสร้างผลตอบแทนได้ 10% กองทุนนั้นต้องมีผลตอบแทนมากกว่า 10%

ข้อดีก็คือ ถ้ามีผู้จัดการกองทุนที่เก่ง มองการณ์ไกลมาบริหารกองทุน และยังมีความยืดหยุ่นที่จะปรับพอร์ตในการลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจได้ แต่ข้อเสียก็คือ ถ้าผู้จัดการกองทุนไม่เก่งผลตอบแทนก็จะแย่กว่าตลาดไปเลยก็ได้

 

2.กองทุนประเภทสร้างผลตอบแทนดัชนี (Passive Fund) เช่น ถ้าปีนั้น ตลาดหุ้นสร้างผลตอบแทนได้ 10% กองทุนนั้นต้องพยายามทำผลตอบแทนของกองทุนให้เท่ากับผลตอบแทนของตลาดด้วย

ข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายของกองทุนต่ำกว่า Active Fund เพราะไม่ต้องใช้นักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุนในการบริหาร แต่ข้อเสียก็คือ ถ้าเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ก็ยังคงต้องลงทุนในหุ้นทั้ง 100% อยู่ จะลด หรือเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ ทำให้ผลตอบแทนก็ตกไปตามตลาด

แต่ถ้าหากว่าคุณเป็นคนประเภท ผลตอบแทนก็อยากได้นะ แต่ใจก็ไม่ค่อยถึง ไม่ค่อยกล้าเสี่ยงเท่าไหร่ แบบนี้จะเลือกกองทุนแบบไหนดี ? ตอบว่าเลือกกองทุนรวมแบบนี้เลยครับ

 

กองทุนรวมผสม (Balanced Fund) คือกองทุนที่ลงทุนทั้ง ในตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือตราสารอื่นๆ แต่ต้องมีสัดส่วนในการลงทุนในตราสารทุนในขณะใด้ขณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 25% และไม่เกินกว่า 65% การลงทุนในกองทุนแบบนี้ จะมีความเสี่ยงหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุน ระหว่างตราสารทั้งสองประเภทที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ซึ่งแบ่งได่เป็น 2 แบบครับ

แบบแรก กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทั้งสองประเภทไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะมีสัดส่วนตราสารทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 65%

แบบที่สอง ไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทั้งสองประเภท หรือที่เรียกว่า กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น โดยการลงทุนในสัดส่วนของตราสารแต่ละประเภทอย่างไร กองทุนประเภทนี้เหมาะกับผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง

 

“เห็นมั้ยละครับว่าถ้าคุณอยากจะลงทุนในหุ้น อยากมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดี แต่คุณก็รู้ตัวเองดีพอว่าคุณยังไม่เหมาะกับการลงทุนในหุ้นรายตัว ในตลาดก็มีเครื่องมือการลงทุนที่ตรงกับเราแน่นอน เช่นกองทุนหุ้นแบบที่ผมเล่ามานี่ล่ะครับ”

มงคล ลุสัมฤทธิ์

 

เจ้าของเพจที่รวมและแบ่งปันความรู้วางแผนการเงิน เพจ : Financial Times by Mongkol นักออกแบบความมั่งคั่ง โดยมงคล ลุสัมฤทธิ์ (Wealth Designer)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0