โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไม่ธรรมดา 4 สมุนไพรตัวแม่

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 22 ส.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • เผยแพร่ 22 ส.ค. 2562 เวลา 17.00 น.

23 สิงหาคม 2562 กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมผลิตพืชสมุนไพรด้วยแบบแปลงใหญ่ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชสมุนไพร คุณภาพ ตามความต้องการตลาด ได้มาตรฐานสากล หนุนตลาดภายในประเทศ-ส่งออกเอเชีย

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า "จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2561 พื้นที่ปลูกสมุนไพรเป็นการค้า รวม 27,555 ไร่ ผลผลิตรวม 39,103 ตัน มีการรวมกลุ่มผลิตสมุนไพรในรูปแบบแปลงใหญ่ จำนวน 16 แปลง ใน 15 จังหวัด จำนวนเกษตรกร 701 ราย พื้นที่ 7,706.75 ไร่

*"สำหรับ พืชสมุนไพรที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง หรือ Product Champions 4 ชนิด ได้แก่ ได้แก่ กระชายดำ มีพื้นที่ปลูก 116 ไร่ ผลผลิตรวม 310 ตัน, ไพล มีพื้นที่ปลูก 595ไร่ , ผลผลิตรวม 1,694 ตัน, บัวบก มีพื้นที่ปลูก 842 ไร่ ผลผลิตรวม 255 ตัน และ ขมิ้นชัน มีพื้นที่ปลูก 1,746 ไร่ ผลผลิตรวม 3,405 ตัน" *

ทั้งนี้แนวโน้มด้านการตลาดสมุนไพรไทย ความต้องการวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานมีมากขึ้น โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ผลิตแบบอินทรีย์ เนื่องจากสมุนไพรเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษา สร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนเพื่อเสริมความงาม ผู้ประกอบการจึงต้องการวัตถุดิบที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน เพราะเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

นอกจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ในปี 2561 ได้มีการประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับพืชสมุนไพร และกำลังมีการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับสมุนไพรแห้ง เกษตรกรสามารถขอรับการรับรองมาตรฐานได้ทั้งมาตรฐานกระบวนการผลิต และมาตรฐานสินค้า เพื่อให้วัตถุดิบสมุนไพรมีคุณภาพ คือ มีสารสำคัญออกฤทธิ์ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด มีความปลอดภัย คือมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน และสิ่งแปลกปลอม ไม่ค่าเกินมาตรฐานที่กำหนด

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตวัตถุดิบแบบอินทรีย์หรือการเข้าสู่ระบบรับรองกระบวนการผลิตอื่น ๆ (GAP, GACP, PGS) และได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่คู่ค้ากำหนด รวมถึงส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรที่สำคัญทางเศรษฐกิจในรูปแบบแปลงใหญ่ เพื่อให้ได้สมุนไพรที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ สามารถสร้างอำนาจต่อรอง และเชื่อมโยงตลาดได้ ตามนโยบายตลาดนำการผลิต

รวมถึงการส่งเสริมการใช้พันธุ์ดี สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ตลอดจนจัดทำแหล่งรวบรวม อนุรักษ์และขยายพันธุ์สมุนไพรที่สำคัญ ผ่านศูนย์ปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 20 ศูนย์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงพันธุ์สมุนไพรที่เป็นที่ต้องการของตลาด ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพอีกด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0