โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไม่ธรรมดา!!!! อายุ 21 จบ ป.โท สายกฎหมาย ไขเคล็ดลับความเก่งจาก "น้ำเพชร"

PPTV HD 36

อัพเดต 22 มี.ค. 2562 เวลา 12.53 น. • เผยแพร่ 22 มี.ค. 2562 เวลา 23.30 น.
ไม่ธรรมดา!!!!  อายุ 21 จบ ป.โท สายกฎหมาย ไขเคล็ดลับความเก่งจาก "น้ำเพชร"
“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” นี่คือคำถามคลาสสิคที่เด็กๆ ทุกคนต้องเจอ แต่จะมีสักกี่คนที่เดินตามเส้นทางเพื่อทำให้ได้อย่างที่เคยตอบไว้ หนึ่งในนั้นคือ “ประวีณ์ธิดา จารุนิล” หรือ น้ำเพชร และดูเหมือนว่าเธอจะเดินเร็วกว่าคนอื่นไปก้าวหนึ่ง

วันนี้น้ำเพชรอายุ 21 ปี จบการศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้วปริญญาตรีจบตอนไหน? คำตอบคือ จบพร้อมกับที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยน้ำเพชรเลือกเรียนหลักสูตร Pre-Degree นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมๆกับเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปด้วย เลยนัดพูดคุยกันเพราะเชื่อว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คนได้

“มันเป็นโอกาสที่สามารถย่นระยะเวลาที่ทำให้เราจบปริญญาตรีได้เร็วขึ้น ก็จะสามารถไปต่อยอดอย่างอื่นได้เร็ว” นี้คือความตั้งใจของเธอ ภาพนักศึกษาผู้หญิง ใส่แว่นหนา ถือตำราเรียน ถูกสลัดทิ้งน้องน้ำเพชรเดินมาทักทายด้วยลุคสาวน้อยผมสั้น ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมออกตัวด้วยประโยคแรกที่คุยกัน

กฎหมายมีเสน่ห์ในสายตาของ “น้ำเพชร” ?

"เพราะคิดว่ามันสำคัญมากๆและเป็นกฎเกณฑ์ในสังคมด้วยและมันต้องใช้ในชีวิตประจำวันเยอะ เราเลยรูสึกว่ามันมีเสน่ห์ทำให้เราอ่านและชอบที่เราจะต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ"

หนอนหนังสือหรือเปล่า?

“ไม่ใช่หนอนหนังสือแต่ชอบเรียนหนังสือก็เลยตั้งใจเรียนหนังสือด้วย” ที่เลือกเรียนกฎหมายเพราะชอบมาตั้งแต่เด็ก จึงเป็นจุดการันตีแรกว่าเพราะใจรักและชอบส่งผลให้มีความสุขที่จะได้ลงมือทำ

อยากเป็น “ผู้พิพากษา” ?

“ความฝันแรก ฝันเดียว ตั้งแต่เด็ก เป็นอาชีพที่ทรงเกียรติมากและได้มอบความยุติธรรมให้กับสังคม” ซึ่งน้ำเพชรบอกว่า เธอจะเป็นผู้พิพากษาที่มีเมตตา ไม่ดุ

การเรียนนิติศาสตร์ด้วยตัวบทกฎหมายที่มีหลายมาตราทักษะการจำที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักนำไปคิดวิเคราะห์ น้ำเพชรจึงต้องใช้เคล็ดลับประจำตัว “จำได้ เข้าใจ ใช้เป็น” ซึ่งตรงนี้น้ำเพชรไม่หวง สามารถนำไปใช้ได้ทุกคน

*“จำได้คือเราต้องจำตัวบทกฎหมายให้ได้แม่นยำ  เข้าใจคือต้องเข้าใจในตัวบทแล้วสามารถตีความกฎหมายได้ ใช้เป็นคือการนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้” *

ดูเหมือนจะง่ายแต่น้ำเพชรบอกว่า “ไม่ใช่”

“ยากสุดคือการใช้เป็นเพราะการปรับกับข้อเท็จจริงมันมีการยืดหยุ่น เราก็ต้องอ่านฎีกาเยอะๆจะต้องมีประสบการณ์ระดับหนึ่ง”

เธอบอกว่าถ้าจัดประเภท “เด็กเรียน” กับ เด็กเรียนปานกลาง” ขอจัดตัวเองให้อยู่ในประเภทเด็กเรียนแต่ไม่ได้เรียนตลอดเวลา ไม่ได้เป็นหนอนหนังสือ มีไปเที่ยวกับเพื่อน ดูหนัง ฟังเพลง ส่วนเวลาอ่านหนังสือจะอ่านครั้งละ 3-6 ชั่วโมง แต่ไม่ได้อ่านทุกวันเน้นอ่านสม่ำเสมอแต่จะมากหน่อยคือช่วงสอบ 

แต่อย่างที่บอกไปว่า น้ำเพชรเรียนปริญญาตรีพร้อมกับเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายการท่องจำหนังสือจึงมากกว่าคนอื่นที่สำคัญ เธอเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แต่ด้วยตัวอย่างจาก คุณพ่อ คุณแม่ ที่อยู่ในสายกฎหมายทั้งคู่ ทำให้เธอชอบและมุ่งมั่นในเส้นทางสายนี้เช่นกัน และท่านทั้งสองก็สนับสนุนเธอเต็มที่

“จริงๆคุณพ่อคุณแม่ก็มีแนะนำค่ะ ว่าตอนแรกที่เรียนกฎหมายมันเป็นวิชาที่ท่องจำยากและตัวบทก็ทำความเข้าใจยาก ท่านก็แนะนำว่าควรอ่านยังไงหรือต้องทำความเข้าใจยังไง แต่พอเราเรียนไปหลังๆเราก็ทำความเข้าใจเองได้”

เคยท้อบ้างไหม?

“ไม่มีท้อ แต่มีเครียดบ้างในช่วงสอบเยอะๆ อ่านเยอะๆ ก็มีเครียดบ้าง เพราะเราวางแผนชีวิตชัดเจนว่าอยากเป็นผู้พิพากษา ก็เลยเป็นแรงผลักดันและทำให้มุ่งมั่นเพื่อทำให้ได้ รวมถึงครอบครัวที่คอยให้กำลังใจ สนับสนุน”

หลังจากรับพระราชทานปริญญาบัตรมหาบัณฑิต “น้ำเพชร” ตั้งใจจะเรียนต่อเนติบัณฑิตและจะใช้เวลาอีก 4 ปี จากนี้เพื่อตัดสินใจว่าจะหาประสบการณ์เพื่อปูทางให้เธอก้าวไปสู่การสอบเป็น “ผู้พิพากษา”

ในตอนท้ายของการพูดคุยเลยอดถามไม่ได้ว่า เธอมีมุมมองต่อการบังคับใช้กฎหมายและการคุ้นชินกับการละเมิดกฎหมายของคนไทยในเรื่องเล็กๆน้อย เช่น กฎจราจร อย่างไร

“มันเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าที่บางที่มันไม่ได้มีประสิทธิภาพเต็มร้อย มันต้องมีการปรับปรุงและพัฒนากันไป เพราะกฎหมายมีอยู่ในทุกอย่างของสังคมมันเกี่ยวข้องกันหมดจึงเป็นความสำคัญที่เราควรรู้ให้หมด”

และเธอกำลังเป็นอีกหนึ่งฟั่นเฟืองที่จะเข้าไปในวงการตราชั่งเพื่อพัฒนากฎหมายของไทยในอนาคต

ติดตาม Life Story ตอนอื่นๆ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> คุยกับคนหัวใจโขน…หลังถอดหัวโขน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ล่าฝันไปตามจังหวะดนตรี บนเส้นทางนักเต้น กับ "ทราย นภัส รอดบุญ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> “ยอมแลกเหงื่อ” เพื่อคำสัญญากับพ่อบนเส้นทาง “ลูกยาง” ของเด็กหนุ่มจากปากพนัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ตามติดชีวิต“คู่หูห่อหมกฮวก” ผู้สร้างสีสันจนสะท้านเวที “The Voice 2018”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ถ้าไม่เป็นมะเร็งวันนั้น "ผู้หญิงคนนี้" อาจไม่ได้ยินเสียงหัวใจของตัวเองในวันนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> มากกว่าฝันคือ ‘ลบคำสบประมาท’ ความในใจ “เล็ก The Voice”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0