โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ไฟเขียว! ฟ้อง ‘โฮปเวลล์’ จดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย

The Bangkok Insight

อัพเดต 16 ต.ค. 2562 เวลา 16.21 น. • เผยแพร่ 16 ต.ค. 2562 เวลา 16.19 น. • The Bangkok Insight
ไฟเขียว! ฟ้อง ‘โฮปเวลล์’ จดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย

“บอร์ดรถไฟ” เดินหน้าฟ้อง “โฮปเวลล์” ฐานจดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย พร้อมขอศาลสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ชะลอจ่ายค่าชดเชย 19 ต.ค. นี้

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยหลังการประชุมบอร์ดเป็นครั้งแรกว่า ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบร่างสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องตามที่อัยการสูงสุด, คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้พิจารณาแล้ว

นอกจากนี้เห็นชอบให้นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ เป็นผู้ลงนามสัญญาโครงการกับผู้ชนะการประมูลคือ กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (CPH) ในวันที่25 ตุลาคม 2562

นายจิรุตม์กล่าวต่อว่า ที่ประชุมบอร์ดยังได้มอบหมายให้ฝ่ายอนาบาลของการรถไฟฯ ไปหารือกับกระทรวงคมนาคมเพื่อฟ้องร้องบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ในข้อหาจดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากคณะทำงานฯ ของกระทรวงคมนาคมพบหลักฐานว่า ในระหว่างที่มีการขออนุมัติโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพฯ(โครงการโฮปเวลล์) นั้น ทางบริษัท โฮปเวลล์ มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติมากกว่าที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้ขอยกเว้นประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 (ปว. 281) ตามเงื่อนไขของบริษัทต่างด้าวที่มาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯและกระทรวงคมนาคมจะต้องไปหารือในฐานะคู่สัญญาร่วมกันก่อน จากนั้นจึงดำเนินการฟ้องร้องบริษัท โฮปเวลล์ ภายในวันที่19 ตุลาคม 2562 เพราะการรถไฟฯ ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ในกรณีที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่บริษัท โฮปเวลล์ ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในวันที่ 19 ตุลาคม 2562 ด้วย

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงการลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินว่า เมื่อการรถไฟฯ และ CPH ลงนามสัญญาแล้ว CPH ก็ต้องดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดภายใน 3 เดือน เพื่อกำหนดแผนการส่งมอบพื้นที่ให้ชัดเจน

เบื้องต้นได้วางกรอบเวลาการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดภายใน 2 ปีโดยแบ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างเป็น3 ส่วนได้แก่

  • ช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา จะเร่งรัดให้ได้ภายในช่วงเวลาประมาณ1 ปี
  • ช่วงพญาไท–สุวรรณภูมิ มีความพร้อมสามารถส่งมอบได้ทันที แต่ CPH ต้องจ่ายค่าบริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้เรียบร้อยก่อน
  • ช่วงดอนเมือง–บางซื่อ–พญาไท จะต้องแก้ไขปัญหาเรื่องผู้บุกรุกและการรื้อย้ายสาธารณูปโภคให้เรียบร้อยก่อน
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0