โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไทยเตรียมเสนอยูเนสโก ‘สงกรานต์’ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

อีจัน

อัพเดต 22 พ.ย. 2562 เวลา 05.42 น. • เผยแพร่ 22 พ.ย. 2562 เวลา 05.34 น. • อีจัน
ไทยเตรียมเสนอยูเนสโก ‘สงกรานต์’ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2562 พิมพ์รวี วัฒนวรางกูร…

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2562 พิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่ากระทรวงวัฒนธรรมของไทยเตรียมเสนอคณะรัฐบาล เพื่อเสนอให้ “เทศกาลสงกรานต์” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO)
“ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมวัฒนธรรมภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมประสบความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ถึง 300 รายการใน 6 หมวด วัฒนธรรมดังกล่าวมีทั้งการแสดงพื้นบ้าน งานหัตถกรรม และการแสดงออกทางวัฒนธรรมอย่างสงกรานต์” อธิบดีกล่าว

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกล่าวว่าขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยังต้องใช้การศึกษาเพิ่มเติมจากที่ประชุมท้องถิ่นต่างๆ ทั้ง 4 ภาค และต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม รวมถึงการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีด้วย
อธิบดีระบุว่าสงกรานต์มีความเป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากชาวไทยทั้ง 4 ภาค ต่างมีความเข้าใจจุดประสงค์หลักของเทศกาลประจำปีนี้ร่วมกัน
จุดประสงค์ดังกล่าวมีทั้งการรวมตัวกันในชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงความกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่ และการสาดน้ำเล่นกันเพื่อส่งเสริมสายสัมพันธ์ในหมู่เพื่อน

ซึ่งความหมายของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไปได้คือ การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์และความต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีการพิจารณาเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เท่าที่สอดคล้องกับบทบัญญัติที่มีอยู่ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเท่านั้น รวมทั้งข้อกำหนดให้มีการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนทั้งหลาย กลุ่มชน และปัจเจกบุคคล และต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมฯ ระบุว่าการส่งคำขอรอบสุดท้ายเพื่อให้ยูเนสโกพิจารณาอาจจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2020
///

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0