โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่ม 51 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย

อินโฟเควสท์

อัพเดต 06 เม.ย. 2563 เวลา 06.45 น. • เผยแพร่ 06 เม.ย. 2563 เวลา 05.06 น. • สำนักข่าวอินโฟเควสท์

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดวันนี้ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 51 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ป่วนยืนยันติดเชื้อสะสมรวม 2,220 ราย ใน 66 จังหวัด รักษาหายกลับบ้านได้แล้ว 793 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย เสียชีวิตรวม 26 ราย

โดยผู้เสียชีวิต 3 รายนั้น รายที่ 24 เป็นชายไทย อายุ 28 ปี อาชีพพนักงานบริษัทในกรุงเทพ เพื่อนร่วมงานของภรรยาติดโควิด เริ่มป่วย 27 มีนาคมด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ รักษที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่งแต่อาการไม่ดีขึ้นจึงย้ายไปอีกที่หนึ่งในจ.สมุทรปราการ วันที่ 4 เม.ย.มีอาการไข้สูงและพบออกซิเจนในเลือดลดลง และส่งตัวไปรักษาในรพ.เอกชนแห่งหนึ่งใน กทม.เก็บตัวอย่างตรวจผลออกมาวันที่ 4 พบว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และเสียชีวิตในวันนั้น เวลา 22.00 น.

รายที่ 25 เป็นชายไทย 51 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตเริ่มป่วยสูง ภาวะอ้วน เริ่มป่วย 28 มีนาคม ไปรักษาที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง แรกรับมีอาการไอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ หนาวสั่น วันที่ 29 มีนาคมมารับการรักษาอีกครั้ง ต่อมา 1 เมษายน admit ที่รพ.เดิม ด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ หายใจลำบาก พบว่าออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ปอดอักเสบรุนแรง และเสียชีวิตวันที่ 4 เมษายน

รายที่ 26 เป็นหญิงไทย 59 ปี อาชีพค้าขาย มีโรคประจำตัวเบาหวาน ชอบเล่นการพนันหลายที่หลายแห่งใน กทม. ทำให้พบเจอผู้คนจำนวนมาก และเริ่มป่วย 29 มีนาคม เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งใน กทม.อาการแรกรับไม่มีไข้ แต่หอบเหนื่อย ออกซิเจนในลเลือดลดลง เอ็กซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรงแพทย์ส่งตัวอย่างเสมหะและสารคัดหลั่งในโพรงจมูกไปตรวจ พบว่าเป็นโควิด-19 ต่อมาวันที่ 2 เมษายนเสียชีวิต

สำหรับรายละเอียดของผู้ป่วยรายใหม่ 51 รายนั้น แบ่งเป็น กลุ่มๆ ดังนี้

กลุ่มแรก เป็นผู้ป่วยที่มีประวัติผู้ป่วยยืนยันหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ จำนวน 25 ราย แบ่งเป็น พิธกรรมทางศาสนา 3 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนัยนรายก่อนหน้านี้ 22 ราย

กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 19 ราย โดยแบ่งเป็น คนไทยเดินทางกลับากต่างประเทศ 1 ราย คนต่างชาติเดินทางมาจากต่างประเทศ 1 ราย สัมผัสผู้เดินทางจากต่างประเทศ 1 ราย อาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด หรือทำงานใกล้ชิดกับชาวต่างชาติ เป็นต้น จำนวน 3 รายบุคลากรทางการแพืย์และสาธารณสุข รวม 13 ราย ซึ่งพบว่าเป็นบุคลากรในรพ.เอกชน 11 ราย มีทั้งจากการดูแลผู้ป่วยและมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น รับประทานอาหาร ขณะที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค จำนวน 7 ราย

สำหรับจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือ กทม.จำนวน 1,051 ราย ส่วน 11 จังหวัดที่ยังไม่มีรายงานการรับรักษาผู้ป่วย ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าน บึงกาฬ พังงา พิจิตร ระนอง สตูล สิงห์บุรี อ่างทอง

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06 เม.ย. 63)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0