โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไทยผนึก CLMV เชื่อมนิคมอุตฯ ดึงการลงทุน

[invalid]

อัพเดต 15 ธ.ค. 2561 เวลา 07.56 น. • เผยแพร่ 15 ธ.ค. 2561 เวลา 07.50 น. • tnnthailand.com
ไทยผนึก CLMV เชื่อมนิคมอุตฯ ดึงการลงทุน
นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือสำคัญดึงการลงทุนจากต่างชาติทำให้ไทยและกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ผนึกความร่วมมือเพื่อสร้างการพัฒนาเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น

นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดประชุมเขตเศรษฐกิจพิเศษอาเซียนในประเทศไทยโดยมีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ โดยยืนยันว่าเขตศรษฐกิจพิเศษอาเซียนถือเป็นศูนย์กลางการลงทุนยุคใหม่ เป็นดาวเด่นที่ต่างชาติตัดสินใจเข้ามาลงทุน จากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีและมีประชากรรรมกันกว่า 700 ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV (ซีแอลเอ็มวี)และไทยที่มีความร่วมมือเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์และการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น

ทั้งนี้หากมีร่วมมือและเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจเข้าด้วยกันแทนที่จะแข่งขันกันเชื่อว่าจะเป็นพลังดึงดูดเงินลงทุนเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น โดยปัจจุบันอาเซียนมีเขตเศรษฐกิจพิเศษนับพันแห่งหรือคิดเป็น 20%ของเขตเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีกว่า 4,500 แห่งใน 270 เมืองซึ่งพบว่าล้วนมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 20%

นอกจากไทยแล้วเวียดนามน่าจะเป็นอีกประเทศที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้าไปมากขึ้นต่อเนื่อง จากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาลและเสถียรภาพของเศรษฐกิจ การเมือง ทำให้ผู้ประกอบการไทยอย่างนิคมอมตะเข้าไปลงทุนสวนอุตสาหรรมแล้วหลายแห่ง นางสมหทัย พานิชชีวะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) บอกว่าเวียดนามมีความได้เปรียบด้านต้นทุนจากค่าแรงถูกแต่แรงงานมีประสิทธิภาพ ขณะนี้มีบริษัทจากญี่ปุ่นย้ายฐานเข้าไปลงทุนมากที่สุดจึงถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย

ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมในกัมพูชา ลาวและเมียนมาร์ ก็เริ่มมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆทั้งด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการให้มาตรการภาษีจูงใจ รวมถึงค่าแรงที่ถูก ทำให้บริษัทจากจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และญี่ปุ่นเริ่มเบนเข็มการลงทุนจากไทยไปยังกลุ่มซีแอลเอ็มวีมากขึ้น ไทยจึงต้องพัฒนานิคมอุตสหากรรมเพื่อยกระดับการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือสำคัญดึงการลงทุนจากต่างชาติทำให้ไทยและกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ผนึกความร่วมมือเพื่อสร้างการพัฒนาเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0