โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไทยติดอันดับ 7 ประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงมหาสมุทรมากที่สุดในโลก

The Momentum

อัพเดต 17 ส.ค. 2562 เวลา 09.30 น. • เผยแพร่ 17 ส.ค. 2562 เวลา 08.44 น. • สันติชัย อาภรณ์ศรี

In focus

  • ปีหนึ่งๆ มีขยะไหลเทสู่ท้องทะเลและมหาสมุทรประมาณแปดล้านตัน ราว  88-95% มาจากแม่น้ำ 10 สาย ซึ่งเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินและท้องทะเล แต่ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นก็คือ 8 ใน 10 สายเป็นแม่น้ำในทวีปเอเชีย และอีกสองสายอยู่ในทวีปแอฟริกา 
  • แม่น้ำที่พาขยะไหลเทสู่มหาสมุทรมากที่สุดก็คือ แม่น้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน นอกจากนั้น ในประเทศจีนยังมีแม่น้ำเหลือง แม่น้ำไข่มุก และแม่น้ำไห่เหออีกที่ติดอันดับ
  • จีนสร้างขยะมากที่สุดในโลกที่จำนวนสูงถึง 8.80  ล้านตัน และกลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 3.53 ล้านตัน
  • ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 7 ของโลก สร้างขยะสูงถึงหนึ่งล้านตัน และกลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.41 ล้านตัน 

ปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลและมหาสมุทรเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล ดังเช่นโศกนาฏกรรมของมาเรียม ลูกพะยูนกำพร้าแม่ที่เสียชีวิตจากเศษพลาสติกขวางลำไส้จนมีอาการอุดตันบางส่วนและอักเสบ ทำให้มีแก๊สสะสมเต็มทางเดินอาหาร จนมีการติดเชื้อในกระแสเลือด 

แล้วขยะพลาสติกเดินทางไปสู่ท้องทะเลได้อย่างไร ?

ทีมวิจัยจาก Helmholtz Center for Environmental Research ประเทศเยอรมนี ทำวิจัยเรื่องขยะในท้องทะเล พบว่า ปีหนึ่งๆ มีขยะไหลเทสู่ท้องทะเลและมหาสมุทรประมาณแปดล้านตัน ราว  88-95% มาจากแม่น้ำ 10 สาย ซึ่งเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินและท้องทะเล แต่ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นก็คือ 8 ใน 10 สายเป็นแม่น้ำในทวีปเอเชีย และอีกสองสายอยู่ในทวีปแอฟริกา 

อันดับหนึ่งคือแม่น้ำแยงซีเกียง ตามมาด้วยแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย แม่น้ำเหลือง แม่น้ำไห่เหอ จากประเทศจีน แม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกา แม่น้ำคงคาในอินเดียและบังคลาเทศ แม่น้ำไข่มุกในประเทศจีน แม่น้ำอามูร์ระหว่างรัสเซียและจีน แม่น้ำไนเจอร์ในไนจีเรีย และแม่น้ำแม่โขง

และเมื่อดูปริมาณขยะพลาสติกที่สะสมในมหาสมุทร พบว่า อันดับหนึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ตามมาด้วยมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ มหาสมุทรแปซิกฟิกตอนใต้ หมาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ และแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน

และจากการสำรวจของทีมวิจัยซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย นำโดยเจนนา แจมเบ็ค นักวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ได้สำรวจปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในโลก พบว่าประเทศที่สร้างขยะมากที่สุดในโลกคือ

  • จีน สูงถึง 8.80 ล้านตัน และกลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 3.53 ล้านตัน 
  • อินโดนีเซีย 3.20 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 1.29 ล้านตัน 
  • ฟิลิปปินส์ 1.90 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.75 ล้านตัน 
  • เวียดนาม 1.80 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.73 ล้านตัน 
  • ศรีลังกา 1.60 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.64 ล้านตัน 
  • อียิปต์ 1.00 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.39 ล้านตัน 
  • ไทยแลนด์ 1.00 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.41 ล้านตัน 
  • มาเลเซีย 0.90 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.37 ล้านตัน  
  • ไนจีเรีย 0.90 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.34 ล้านตัน 
  • บังคลาเทศ 0.80 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.31 ล้านตัน 
  • บราซิล 0.50 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.19 ล้านตัน และ
  • สหรัฐอเมริกา 0.30 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.11 ล้านตัน

ประเทศไทยขึ้นแท่นอยู่ที่อันดับ 7 ของโลก สร้างขยะสูงถึงหนึ่งล้านตัน และกลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.41 ล้านตัน 

“ปี 2016 มีขยะพลาสติกมากกว่า 310 ล้านตัน โดยหนึ่งในสามของจำนวนนี้ตกค้างอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งสร้างความเสียหายและมีผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกด้วย มีสิ่งมีชีวิตมากกว่า 270 สายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ และมากกว่า 240 สายพันธุ์กินพลาสติกเข้าไป” อิซาเบลล์ ออทิสเซียร์ ประธานองค์กร WWF ฝรั่งเศสกล่าว 

 

อ้างอิง:

  • https://www.plasticethics.com/home/2019/3/17/the-countries-polluting-the-oceans-the-most-with-plastic-waste
  • https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.est.7b02368
  • https://www.statista.com/chart/12211/the-countries-polluting-the-oceans-the-most/
  • https://www.scientificamerican.com/article/stemming-the-plastic-tide-10-rivers-contribute-most-of-the-plastic-in-the-oceans/

 

ภาพ : Willy Kurniawan/REUTERS

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0