โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไข้เลือดออกระบาดเชียงใหม่ ดับแล้ว 1 ป่วยอีก 439 ราย!

NATIONTV

อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 06.56 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 05.56 น. • ฟงหวิน ศักดิ์อัศวิน
ไข้เลือดออกระบาดเชียงใหม่ ดับแล้ว 1 ป่วยอีก 439 ราย!
ไข้เลือดออกระบาดเชียงใหม่ ดับแล้ว 1 ป่วยอีก 439 ราย!

สสจ.เชียงใหม่ เตือนไข้เลือดออกระบาด ปัจจุบันมีผู้ป่วย 439 ราย เสียชีวิตแล้ว 1 ราย ควรสังเกตอาการคนในครอบครัว หากมีอาการไข้สูงฉับพลัน ไข้นานเกิน 2 วัน รีบพบแพทย์ อย่าซื้อยาทานเอง

วันที่ 7 ก.ค. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทาง ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย มีการคาดการณ์มาตั้งแต่ต้นปี 2563 จะมีการระบาดหนัก ประกอบกับช่วงนี้เป็นฤดูฝนเป็นช่วงระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงต้องดำเนินการและติดตามสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกอย่างใกล้ชิด จากการเฝ้าระวังและการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2563 ถึงปัจจุบัน ของจังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 439 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 คน

ส่วนอำเภอที่มีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ อ.เชียงดาว อ.แม่ริม และ อ.ฮอด ตามลำดับ

ทั้งนี้โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ประชาชนควรสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัว หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน และไข้นานเกินกว่า 2 วัน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย เพราะหากเข้ามารับการวินิจฉัยช้า อาจเป็นเหตุสำคัญทำให้มีภาวะแทรกซ้อนและเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตได้ และทางกรมควบคุมโรค ขอแนะนำว่า สถานพยาบาลที่แม้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรมีการเฝ้าระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลาย 

เนื่องจากยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคสามารถพบได้ทุกจังหวัด โดยการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการ ไข้ ปวดข้อ มีผื่น หรือมีอาการคล้ายไข้เลือดออกแต่เกล็ดเลือดอยู่ในระดับปกติ และเมื่อพบผู้ที่มีอาการสงสัยให้รีบแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อดำเนินการควบคุมโรคอย่างรวดเร็ว สำหรับประชาชนให้ช่วยกันร่วมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันไม่ให้ถูกกัด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422"

ทั้งนี้แนะนำให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดโดยยึดหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ 

1.เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 

2.เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 

3.เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ 

จะสามารถป้องกันทั้ง 3 โรคในคราวเดียวกัน คือ 

1.โรคไข้เลือดออก 

2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 

3.โรคไข้ปวดข้อยุงลาย 

หากพบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่ไม่สามารถกำจัดได้ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือ อสม. ในเขตพื้นที่ของท่าน เพื่อดำเนินการกำจัดต่อไป สำหรับการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยภายในบ้าน และการป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยใช้ยาทากันยุง นอนกางมุ้ง รวมทั้งการเลี้ยงปลาหางนกยุง การใช้ทรายทีมีฟอส และขัดทำความสะอาดภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำ ทุก 7 วัน จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0