โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไขปริศนา! หนูน้อยตาสีฟ้าแม้ไม่ใช่ลูกครึ่ง-แม่เผยสุขภาพตาปกติ (คลิป)

Amarin TV

เผยแพร่ 11 ธ.ค. 2561 เวลา 02.18 น.
ไขปริศนา! หนูน้อยตาสีฟ้าแม้ไม่ใช่ลูกครึ่ง-แม่เผยสุขภาพตาปกติ (คลิป)
จากกรณีเฟซบุ๊ก Wanida Pilachai ได้โพสต์คลิปวิดีโอเด็กชายคนหนึ่งซึ่งมีดวงตาสีฟ้า โดยระบุว่าเด็กคนดังกล่าวไม่ใช่เด็กลูกครึ่ง รวมทั้งยังบอกด้วย

จากกรณีเฟซบุ๊ก Wanida Pilachai ได้โพสต์คลิปวิดีโอเด็กชายคนหนึ่งซึ่งมีดวงตาสีฟ้า โดยระบุว่าเด็กคนดังกล่าวไม่ใช่เด็กลูกครึ่ง รวมทั้งยังบอกด้วยว่าคุณปู่ของน้องก็มีดวงตาสีฟ้าเช่นกัน ยิ่งโตสีตายิ่งออก จนเป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์นั้น

ทางด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า

  1. จริงๆ แล้ว คนที่มีตาสีฟ้านั้น ไม่ได้มี “สีฟ้า” อยู่จริงในดวงตา แต่เป็นเพราะว่าบริเวณตาดำของพวกเขาขาด “เมลานิน” เม็ดสีรงควัตถุชนิดเดียวกับสร้างที่ผิวหนังของเรา ใครที่ดวงตามีเมลานินมากก็จะมีตาสีน้ำตาลเข้ม ถ้าเมลานินน้อยก็จะมีตาสีน้ำตาลอ่อนลงเรื่อยๆ ลงไปจนเป็นสีเทา สีเขียว และสีฟ้าน้ำเงินในที่สุด ซึ่งเป็นผลของการสะท้อนของแสงจากภายนอก (นึกภาพถึงเวลาที่เห็นน้ำทะเลเป็นสีฟ้า)

  2. เรื่องสีของตาคนเรามันค่อนข้างซับซ้อน อธิบายแค่ด้วยเรื่องยีนเด่น (ข่ม) ยีนด้อยแบบที่เคยเรียนมาไม่ได้ การพบเด็กตาสีฟ้าแสดงว่าต้องมียีนเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า 1 ยีน

  3. ปัจจุบันเราพบว่ามีอย่างน้อย 2 ยีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสีของตา คือ ยีน OCA2 และยีน HERC2 บนโครโมโซมที่ 15 ยีน OCA2 จะสร้างโปรตีนพี (P protein) ที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดสีเมลานิน ถ้าใครสร้างโปรตีนพีได้น้อย ก็จะมีสีตาไปในทางสีอ่อนจนถึงสีฟ้าได้ /// ส่วนยีน HERC2 จะมีบริเวณที่เรียกว่า intron 86 ทำหน้าที่เปิดหรือปิดยีน OCA2 อีกที ถ้ามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นกับบริเวณนี้ ก็จะทำให้คนนั้นมีตาสีอ่อนลงเช่นกัน นอกจาก 2 ยีนนี้แล้ว ยังมียีนอื่นๆ อีกหลายยีนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดสีของดวงตา

  4. อีกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับยีน OCA2 คือ การกลายพันธุ์ของยีน OCA2 ที่ทำให้เกิดตาสีฟ้าขึ้นนั้น เริ่มต้นขึ้นเมื่อแค่ประมาณ 1 หมื่นปีก่อนเท่านั้นเอง โดยน่าจะเกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลดำ แล้วแพร่กระจายตามการอพยพของผู้คนไปทั่วยุโรปในช่วงปลายของยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย

  5. ดังนั้นการที่เราพบคนหลายๆ ชาติ ไม่ว่าจะจากทวีปอัฟริกา หรือจากทวีปเอเชีย ที่จู่ๆ ก็มีลูกหลานที่มีตาสีฟ้าขึ้นมา ก็แสดงว่าในสายวงศ์วานเครือญาติของเขามียีนกลายพันธุ์ที่นำไปสู่การเกิดตาสีฟ้าแฝงอยู่ แล้วบังเอิญมาแสดงออกในเด็กคนนั้น ซึ่งเคสแบบนี้หาได้ยากแต่ก็มีพบอยู่เรื่อยๆ

  6. นอกจากเรื่องความบังเอิญทางพันธุกรรมแล้ว ยังมีกรณีของกลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก Waardenburg syndrome (WS) ที่ทำให้เด็กมีตาสีฟ้าได้ โดยเป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก พบเพียงประมาณ 1 ใน 40,000 รายเท่านั้น และมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทจนสูญเสียการได้ยิน โดยมักจะเกิดความผิดปรกติในเรื่องการสร้างเมลานินตามไปด้วย (ซึ่งกรณีนี้ ไม่ใช่น้องคนที่เป็นข่าว เพราะคุณแม่ยืนยันว่าน้องปรกติดี).

ทีมข่าวเดินทางไปพบกับนางสาวปนัดดา ชูมี หรือโดนัด อายุ 21 ปี แม่ของน้องเนซัส วัย 11 เดือน แม้ว่า โดยพบว่าดวงตาของน้องเนซัส ก็ยังคงเป็นสีฟ้า เหมือนดังภาพที่ปรากฏในโชเชียล ซึ่งหากมีการสังเกตภายในดวงตาจะพบว่ามีการแบ่งชั้นตาคล้ายกับดวงตาของคนทั่วไป ตั้งแต่น้องเนซัสมีดวงตาดำ เป็นสีฟ้าเท่านั้น มีความใส เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน และไม่มีการสวมใส่คอนแทคหรือนำจริงแปลกปลอมเอาไว้ในดวงตาของน้อง

ด้านนางสาวปนัดดา แม่ของน้องเนซัส เปิดเผยว่า ตอนแรกที่คลอดน้องมา ตนเองรู้สึกตกใจเพราะตาของน้อง สีเทาอ่อน และมีสีฟ้าเล็กน้อย ซึ่งตนเองกลัวว่าลูกจะตาบอด และมีความผิดปกติ จึงได้ปรึกษากับหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านตา ได้คำตอบว่าเป็นเรื่องปกติหากมีคนในครอบครัวมีตาสีฟ้า จนกระทั่งมาทราบจากย่าว่า ตั้งแต่เด็กจนโตปู่ของน้องเนชัส มีดวงตาเป็นสีฟ้า ความเป็นสีฟ้าไม่ได้เข้มเหมือนน้องในปัจจุบัน และปู่ก็ยังคงมองเห็นหรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทางคุณหมอได้ใช้วิธีการตรวจสอบดวงตาของน้องก็พบว่าน้องเป็นปกติ การตอบสนองทุกอย่าง ไม่ได้เกิดข้อบกพร่องแต่อย่างใด

ส่วนกรณีที่สังคมมองว่า มีการตัดต่อหรือดัดแปลงนั้น แม่ยืนยันว่าไม่ได้มีการตัดต่อใด ๆ เพราะจากภาพที่ปรากฏก็เห็นชัดเจนว่าน้องมีดวงตาสีฟ้าจริง ส่วนเรื่องของความเชื่อและความโชคดีนั้น ตนเองและครอบครัวก็ไม่ได้คิดอะไร นอกจากมีความเป็นห่วงเรื่องของดวงตาในอนาคตมากกว่า

ติดตามข่าวสารเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้ที่ อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0