โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไขปริศนาเหตุใดบางคนจึงดูคล้ายกับคนรักของตัวเองในช่วงที่พวกเขาคบกัน

issue247.com

อัพเดต 23 ม.ค. 2562 เวลา 04.57 น. • เผยแพร่ 24 ม.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

เมื่ออลิซอายุ 21 ปีกับเมลิสสาแฟนสาวอายุ 20 ปีเดินอยู่ด้วยกันในเมืองซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัสซึ่งเป็นบ้านเกิดของตัวเองพวกเขาดูสะดุดตามากเนื่องจากทั้งคู่มีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อ ขณะที่ภาพของอลิซในทวิตเตอร์ก็กลายเป็นกระแสโด่งดังในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

Photo Credit : Twitter @alicelunesz

ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งถามว่า “เคยไปตรวจเลือดบ้างไหมเพราะฉันมั่นใจว่าพวกเธอคือฝาแฝดกัน” ความเหมือนกันของทั้งคู่กลายเป็นที่กล่าวขานของใครหลายๆคนทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ อลิซเล่าว่า “ฉันรู้ว่าตอนแรกต้องมีคนรู้สึกประหลาดใจโดยเฉพาะเมื่อเราจูบกันในที่สาธารณะ ทุกคนจะคิดว่า ‘ว้าวเหมือนกันเปี๊ยบเลยเป็นพี่น้องกันหรือเปล่า..’ แต่โดยส่วนตัวเราทั้งคู่ก็คิดว่ามีหลายอย่างที่ทำให้เราดูแตกต่างกันนะ” อลิซกับเมลิสสาไม่ใช่คู่รักที่ดูคล้ายกันเพียงคู่เดียว เมื่อช่วงต้นฤดูร้อนที่ผ่านมาก็มีทวีตเกี่ยวกับแบรด พิตต์ว่าเขาได้แปลงโฉมตามแฟนสาวของเขาทุกคนตั้งแต่ยุค 90 เลยทีเดียว

Photo Credit : Twitter @sarahmcgbeauty

Photo Credit : Twitter @sarahmcgbeauty

Photo Credit : Twitter @sarahmcgbeauty

นอกจากแบรดก็ยังมีอีกหลายคู่บนท้องถนน ว่ากันว่าเราเกิดมาเพื่อตามหาสิ่งที่คุ้นเคยหรือคนที่เราอยู่ด้วยแล้วสบายใจ ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้านอีกแล้ว..จริงไหม? การศึกษาเมื่อปี 2013 พบว่าคนส่วนใหญ่จะหลงใหลใบหน้าของตัวเองและคนที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน การศึกษาดังกล่าวได้ให้คู่รักต่างเพศ 20 คู่ดูภาพคนรักของตัวเองซึ่งมีทั้งหมด 7 แบบคละกันไม่ว่าจะเป็นใบหน้าของผู้ชาย ใบหน้าของผู้หญิง บางใบหน้าก็ดูทั่วไปขณะที่บางใบหน้าก็ดูสวยหล่อมีเสน่ห์ แต่มีอยู่ภาพหนึ่งเป็นภาพผสมระหว่างใบหน้าของคนรักกับใบหน้าของผู้เข้าร่วม ส่วนผู้เข้าร่วมในกลุ่มควบคุมก็จะได้เห็นใบหน้าคนรักในเวอร์ชั่นส่องกระจก เมื่อผู้เข้าร่วมต้องเรียงลำดับภาพที่มีเสน่ห์น้อยที่สุดไปหามากที่สุด ผลปรากฏว่าพวกเขาชอบแบบที่ผสมกับใบหน้าของตัวเองมากที่สุดมากกว่าใบหน้าคนรักในเวอร์ชั่นส่องกระจกเสียอีก (หลงตัวเองมากไปไหม?) แปลกแต่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร ว่าแต่ทำไมคนเราจึงชอบคนที่เหมือนกับตัวเองล่ะ? เป็นไปได้ว่าอาจจะเพื่อประโยชน์สำหรับลูกๆในอนาคตของเรา นักวิจัยบางกลุ่มเชื่อว่าเราจะรู้สึกไว้วางใจคนที่ดูคุ้นเคย เป้าหมายคือการหาใครสักคนที่ดูเหมือนกับเราแต่ก็ต้องไม่เหมือนมากเกินไป การจับคู่กับใครสักคนที่เหมือนกันมากเกินไปจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคทางพันธุกรรมเช่นเดียวกับราชวงศ์ยุโรปในยุคศตวรรษที่ 19

แล้วคู่รักที่ดูต่างกันในตอนแรกแต่ค่อยๆเริ่มเหมือนกันทีละนิดอย่างแบรด พิตต์และผู้หญิงที่เขาเคยเดทด้วยล่ะ? เรื่องนั้นก็มีคำอธิบายเช่นกัน การศึกษาในช่วงปลายยุค 80 พบว่าคู่รักที่ไม่เหมือนกันเลยในตอนแรกแต่พอผ่านการแต่งงานมา 25 ปีพวกเขากลับดูเหมือนกันมาก นั่นเป็นเพราะพวกเขามีประสบการณ์ต่างๆร่วมกันมานานหลายปีจึงทำให้การแสดงสีหน้าออกมาคล้ายกันรวมทั้งริ้วรอยบนใบหน้าและรูปหน้าด้วย ใบหน้าของเราอาจเปลี่ยนโดยที่ไม่รู้ตัวแต่บางครั้งคู่รักก็เลือกที่จะแต่งตัวในสไตล์ที่คล้ายๆกันด้วย ยกตัวอย่างคู่ของไรอัน อับราฮัมอายุ 29 ปีกับรูเบนแฟนหนุ่มอายุ 31 ปี (แฮชแท็กโปรดของพวกเขาในอินสตาแกรมคือ #boyfriendtwins)

      View this post on Instagram

A post shared by Rubenrodpa (@rubenrodpa) on Oct 5, 2018 at 2:54pm PDT

 

ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นเมื่อรูเบนโกนศีรษะให้เหมือนกับไรอัน หลังจากนั้นการแต่งตัวของพวกเขาก็เริ่มคล้ายๆกันด้วย ไรอันเล่าว่า “บางครั้งพอมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากลองอะไรใหม่ๆอีกฝ่ายก็จะรู้สึกว่าเขาอยากลองด้วยเช่นกัน ก็มีคนวิจารณ์นะเวลาเราเปลี่ยนแปลงนู่นนี่นั่นแต่เราก็ไม่แคร์ซะอย่าง” “บางคนชอบ บางคนเกลียด แต่เราก็มีความสุข ความรู้สึกของเราต่างหากคือเรื่องสำคัญ!”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0