โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไขปริศนาความนัยของ "สิงโตหูตั้ง-หูพับ" ในพระราชวังต้องห้ามของจีน

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 16 ส.ค. 2566 เวลา 02.27 น. • เผยแพร่ 11 ส.ค. 2566 เวลา 19.39 น.
ภาพปก - สิงโต
สิงโตสำริด ประตูไท่เหอ

ปริศนาความนัยของ “สิงโต” แบบหูตั้ง-หูพับ ใน พระราชวังต้องห้าม

พระราชวังสถานที่ประทับของพระจักรพรรดิจีน เป็นที่รู้จักและถูกกล่าวขานจากคนทั่วโลกว่ามีแบบแผนวางไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระราชอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในฐานะ“โอรสแห่งสวรรค์ผู้ปกครองแผ่นดิน

พระราชวังต้องห้าม ที่กรุงปักกิ่งได้สะท้อนแนวคิดดังกล่าว โดยนับตั้งแต่มีการสร้างบ้านแปงเมืองจากอาณาจักรต้าหมิง ดังที่ ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม (อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช และชาญธนประกอบ(แปล). 2563. น.18) เขียนไว้ว่า

“ภายในวังซึ่งมีพื้นที่720,000 ตารางเมตรแห่งนี้ ปัจจุบันมีอาคารมากกว่า9,000 ห้อง(“ห้อง” ในที่นี้คือหน่วยนับพื้นที่ โดยพื้นที่ระหว่างเสา4 มุมนับเป็น1 ห้อง) หลังจากเปลี่ยนสถานะเป็นพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบันเก็บรักษาโบราณวัตถุ1,807,558 ชิ้น(จากการสำรวจ ค.ศ. 2011) ตัวเลขและเรื่องราวที่มากมายจนกล่าวไม่ได้หมดนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละมากกว่าล้านคนให้มาซาบซึ้ง ฮึกเหิม และสะเทือนอารมณ์ไปกับสถานที่ที่อยู่ระหว่างอดีตกับปัจจุบันได้มาอยู่ภายในสมบัติล้ำค่าที่สำคัญที่สุดและใหญ่โตที่สุดในโลก(หมายถึงวังแห่งนี้) เพื่อสัมผัสสิ่งที่เรียกว่าความรุ่งโรจน์และเสื่อมสลายของโลกมนุษย์“

ดังนั้น ในพระราชวังต้องห้ามจึงมีสิ่งที่เป็นปริศนาที่ไว้คอยเตือนผู้คนที่ได้เข้ามาเป็นข้าราชการขององค์พระจักรพรรดิไว้หลายอย่าง ดังปรากฏให้เห็นตามพื้นที่สำคัญ เช่นประตูไท่เหอ” ซึ่งมีประติมากรรม สิงโตสำริด คู่หนึ่ง สูงถึง3 เมตร แผงคอมีลักษณะขดม้วน ที่คอแขวนกระดิ่ง มีสร้อยแกะสลักมีลวดลายมังกรและพรรณพฤกษานานพันธุ์ และศีรษะที่ค้อมลงเล็กน้อย อีกทั้งสายตาที่จับจ้องมองเบื้องหน้า เท้าขวาที่กางกงเล็บออกเหยียบลูกบอลไว้ และหูที่ตั้งขึ้นคอยรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยความตั้งใจ

อีกฟากหนึ่งในระดับระนาบเดียวกันก็มีสิงโตเพศเมีย ซึ่งกำลังเล่นกับลูกสิงโตตัวน้อยที่นอนหงายยอมแพ้และให้มีความสุขภายใต้กรงเล็บอันแหลมคมของสิงโตผู้เป็นแม่ และที่สำคัญหูของสิงโตทั้งคู่ตั้งเสมออยู่ตลอดเวลานั้นเอง

ส่วนประตูอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมีชื่อว่า“ประตูเฉียนชิง” ซึ่งเป็นประตูที่ด้านหน้าประดับประติมากรรมทองแดงปิดทองรูปสิงโตคู่ ซึ่งมีขนาดย่อมกว่าและมีลักษณะเด่นพิเศษคือ“หูพับลง“

ปริศนาของ สิงโต ที่ตั้งอยู่ตรง“ประตูไท่เหอ และ “ประตูเฉียนชิง” จึงเป็นสิ่งย้ำเตือนจิตใจของผู้คนที่อาศัยภายใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์พระจักรพรรดิได้ตักเตือนตนเองอยู่เสมอเพราะว่า ประตูไท่เหอ นั้น ตามที่อชิรัชญ์ ไชยโรจน์พานิช และชาญ ธนประกอบ(แปล). 2563 น.52 เขียนไว้ว่า

“สมัยพระจักรพรรดิหย่งเล่อจึงใช้ประตูเฟิ่งเทียน(สมัยชิงเรียกประตูไท่เหอ) เป็นสถานที่ออกว่าราชการ เกิดธรรมเนียม“ประตูหลวงฟังข้อราชการ” ในสมัยหมิงและชิง โดยองค์จักรพรรดิประทับ ณ ที่แห่งนี้เพื่อรับการถวายความเคารพจากขุนนาง และออกพระบรมราชโองการต่าง ๆ ไม่ว่าจักรพรรดิจะปรากฏพระองค์หรือไม่ ขุนนางทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารก็ต้องมากระทำพิธีเข้าเฝ้าที่ประตูดังกล่าวทุกเช้า”

แต่ในขณะเดียวกัน“ประตูเฉียนชิง” เป็นประตูทางเข้า“ต้าเน่ย” ซึ่งหมายถึง หน่วยงานราชการตลอดจนถึงหมู่พระที่นั่ง หรือตำหนักของพระราชวงศ์ ได้แก่ หวงไท่โฮ่ว และรวมถึงเป็นที่ประทับขององค์พระจักรพรรดิอีกด้วย จนเกิดคำกล่าวว่า“ไท่เหอ” เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง ส่วน“ต้าเน่ย” เป็นพื้นฐานของคุณธรรม

สิงโตคู่ที่หน้าประตูไท่เหอ“หูตั้ง” เพราะคอยรับพระบรมราชโองการปฏิบัติหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณคอยบำบัดทุกข์บำรุงของราษฎร และบนพื้นที่เดียวกันสิงโตคู่ที่หน้าประตูเฉียนชิง“หูพับ” เพราะฝ่ายในต้องรู้จักเก็บความลับ รู้จักการประมาณตนใช้ชีวิตให้เรียบง่าย รู้จักตริตรองเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับฟังมา และอะไรควรทำ อะไรควรรู้ หรือโดยสรุปคือ ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้าเท่านี้ก็คงจะเข้าใจ

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

จ้าวกว่างเชา เขียน. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช และ ชาญ ธนประกอบ(แปล). (2563). ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มติชน.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 31 มีนาคม 2563

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0