โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ไขทุกข้อสงสัย ไขมันทรานส์ หลังสธ. ห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่มี กรดไขมันทรานส์ ในประเทศไทย

MThai.com - Health

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2561 เวลา 06.50 น.
ไขทุกข้อสงสัย ไขมันทรานส์ หลังสธ. ห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่มี กรดไขมันทรานส์ ในประเทศไทย
หลังจากที่คนไทย ตื่นตัวกับประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์ มีผลบังคับใช้อีก 180

หลังจากที่คนไทย ตื่นตัวกับประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์ มีผลบังคับใช้อีก 180 วัน ชี้ปรากฎหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

https://seeme.me/ch/goodmorningthailand/qop2dR

โดยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยปรากฎหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน(Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีผลให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต น้ำเข้า หรือจำหน่าย ในประเทศไทย ภายใน 180 วัน

โดยเรื่องนี้หลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ไขมันทราส์ เราจึงนำคำอธิบายโดยละเอียด จากอาจารย์เจษฎ์ ที่ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้มาให้ได้ติดตามกัน

“อีก 6 เดือน ประเทศไทยจะปลอด “ไขมันพืชเติมไฮโดรเจนบางส่วน ( ไขมันทรานส์ )

เมื่อวานหลายคนคงได้เห็นการแชร์กันเต็มฟีด เรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวงฯ เกี่ยวกับกรดไขมันทรานส์ (trans fat acid) ว่า เนื่องจากไขมันทรานส์ที่เกิดจากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (partially hydrogenated oil) ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ จึงให้อาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ต้องเขียนให้ครบนะ) เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายใน 180 วัน นับจาก 11 ก.ค. 2561

ประกาศนี้ ทำเอาหลายคนดีใจกันใหญ่ โดยเฉพาะคนในวงการสาธารณสุขและโภชนาการ เพราะรู้กันมานานแล้วไขมันทรานส์อันตราย (ซึ่งผมก็เคยโพสต์เรื่องนี้หลายทีแล้ว)

เรามาสรุปเรื่องนี้กันหน่อยนะ ก่อนที่จะตื่นเต้นปนตกใจกัน แล้วแชร์ข้อมูลอะไรผิดๆ เกี่ยวกับไขมันทรานส์ … อย่างที่ก่อนนี้ก็เคยมีหลายทีแล้ว

  1. ไขมันทรานส์ นั้นเป็นรูปฟอร์มหนึ่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ที่แทนที่โมเลกุลของมันจะมีตำแหน่งของไฮโดรเจน เป็นแบบซีส cis ตามปรกติ มันกลับพลิกตำแหน่งของไฮโดรเจน ทำให้เปลี่ยนรูปทรงไปแบบทรานส์ trans (ดูรูปบนขวา)

  2. ไขมันทรานส์พบได้ในธรรมชาติ แต่ไม่มากนัก เช่น ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม แต่ที่เราพบกันมากกว่า คือเป็นผลพวงจากการผลิต “น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน” ซึ่งก็คือการทำให้น้ำมันพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว เปลี่ยนสถานะจากสภาพของเหลว มาเป็นของกึ่งแข็ง เช่น เนยเทียม มาร์การีน ครีมเทียม ช้อตเทนนิ่งสำหรับขนมอบ ฯลฯ (ซึ่งนิยมทำขึ้นเพื่อทดแทนไขมันสัตว์ที่แข็งตัวง่ายกว่า และมีไขมันอิ่มตัว เช่น เนยสด ครีมจริง) ทำให้ในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มนี้ แม้จะมีราคาถูก และลดการบริโภคไขมันอิ่มซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ กลับทำให้ผู้บริโภคได้รับไขมันทรานส์ไปโดยไม่รู้ตัว

  3. พึ่งจะไม่กี่ปีนี้เอง ที่เริ่มแน่ชัดแล้วว่าไขมันทรานส์นั้น ไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด เพราะมันไปเพิ่มการสร้างคอเลสเตอรอลตัวที่เลว คือ แอลดีแอล (LDL) ในร่างกาย ลดคอเลสเตอรอลตัวที่ดี คือ เอชดีแอง (HDL) แถมเพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดด้วย … ทำให้เริ่มมีการรณรงค์ในต่างประเทศ ให้ลดละเลิกกินอาหารกลุ่มน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ที่มีไขมันทรานส์สังเคราะห์

  1. แม้ว่าจะมีกระแสรณรงค์ต่อต้านไขมันทรานส์ เช่น มีข้อจำกัดว่าในอาหารจะมีปริมาณไขมันทรานส์ได้มากน้อยเพียงใด ไปจนถึงการห้ามผลิตห้ามจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน … แต่ก็ยังมีช่องว่างในการหลบเลี่ยงตรงที่ผู้ผลิตหันไปใช้ช่องโหว่เรื่อง “ไขมันทรานส์ 0 กรัม” แทน เนื่องจากถ้าในอาหารนั้น ถึงจะมีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และน่าจะมีไขมันทรานส์มาด้วย แต่ถ้ามีปริมาณน้อยกว่าตามที่แต่ละประเทศกำหนด ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ก็มีสิทธิเขียนได้ว่า 0 gram trans fat (ดูรูปล่างซ้าย) ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ ว่าเป็น 0% คือไม่มีอยู่เลย

  2. ดังนั้น ตามประกาศใหม่ของ ก.สาธารณสุข (ซึ่งแรงมาก) ก็จะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถใช้ช่องโหว่นั้นได้อีกต่อไป นั่นคือ ห้ามที่ผลิต ทั้งจำหน่าย อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน แม้แต่น้อย … ซึ่งดีต่อผู้บริโภคที่จะไม่ต้องคอยดูที่ฉลากให้ชัดเจนอีกต่อไป ถ้าห่วงเรื่องไขมันทรานส์

  3. ส่วนผู้ผลิตนั้น ก็เหนื่อยกันหน่อยล่ะ โดยถ้าเป็นบริษัที่ทำครีมเทียม เนยเทียม มาร์การีนอยู่ ก็ต้องเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิต จากที่เคยเอาน้ำมันพืช มาผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ก็ต้องทำให้เป็นการเติมไฮโดรเจนแบบสมบูรณ์ทั้งสายโมเลกุล ซึ่งจะเป็นการกำจัดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งแบบซิสและแบบทรานส์ ออกจากผลิตภัณฑ์

  4. ขณะที่ผู้ผลิตอาหาร ก็อาจจะหันกลับไปใช้พวกเนยจริง ครีมจริง แทนน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน … สำหรับคนไทยเรา ราคาสินค้าอาหารกลุ่มนี้ ก็คงจะแพงขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มที่ในไทยเรานิยมเอามาใช้เป็นวัตถุดิบ ก็อาจจะตกต่ำลง เพราะขาดความต้องการ

  5. ที่เข้าใจกันผิดๆ อีกอย่าง คือ น้ำมันพืชบรรจุขวดนี้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องไขมันทรานส์นะ … ที่เห็นข้างขวดน้ำมันว่าเป็นน้ำมันผ่านกรรมวิธีเนี่ย มันเรื่องกรรมวิธีการกลั่นน้ำมัน แล้วก็ไม่ได้เอามาเติมไฮโดรเจนเพื่อกันหืนแต่อย่างไร เพราะไม่งั้นได้กลายเป็นของกึ่งแข็งกันพอดี

  1. เรื่องเอาน้ำมันพืชไปผัดทอดแล้วจะเกิดไขมันทรานส์ขึ้น ก็เป็นอีกเรื่องที่แชร์กันผิดๆ (ทำให้คนหันไปกินน้ำมันหมูกัน ซึ่งแย่เข้าไปใหญ่) … มีงานวิจัยพบว่าน้ำมันพืช ถ้าโดนความร้อนสูงมาก ซ้ำๆ หลายๆ รอบ จะมีไขมันทรานส์เกิดขึ้นจริง แต่ปริมาณน้อยมากๆ (จะน้อยกว่าที่เราได้รับจากไขมันทรานส์ตามธรรมชาติเสียอีก) ดังนั้น ถ้าเอามาใช้ทำอาหารแค่ครั้งเดียว ก็ไม่ต้องกลัวอะไร (ที่เค้าห้ามเอามาทอดซ้ำบ่อยๆ เนี่ย จริงๆ เค้ากลัวเรื่องการเกิดสารก่อมะเร็งขึ้นต่างหาก)

ยาวมาก ครบถ้วนทุกเรื่อง … สรุปสั้นๆ ว่า ดีแล้วที่ สธ. ออกประกาศแบบนี้ แรงดี … ยังไงเสีย ก็ลดๆ การกินไขมันลงนะ ไม่ว่าจะเนยเทียมเนยจริง หรือ ครีมเทียมครีมจริง

สนใจหนังสือ “อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง” ติดต่อสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ สนพ. มติชน http://www.matichonbook.com/…/matichonb…/newbooks/-2997.html

https://seeme.me/ch/goodmorningthailand/kDNKAM

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0