โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ไขทุกข้อสงสัยกับคำถามที่หลายคนอยากรู้บริจาค"ไต" 1ข้าง แล้วตัวเราจะเป็นอย่างไร

NATIONTV

เผยแพร่ 21 ส.ค. 2561 เวลา 06.04 น. • Nation TV
ไขทุกข้อสงสัยกับคำถามที่หลายคนอยากรู้บริจาคไต 1ข้าง แล้วตัวเราจะเป็นอย่างไร
ไขทุกข้อสงสัยกับคำถามที่หลายคนอยากรู้บริจาคไต 1ข้าง แล้วตัวเราจะเป็นอย่างไร

บริจาคไต 1 ข้างแล้วเป็นอย่างไร คำถามที่ผู้คนและผู้ที่จะบริจาคไตอยากรู้มากที่สุด วันนี้จึงมีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับเรื่องการบริจาคไตมาเสนอ โดยแฟนเพจเฟซบุ๊ก Kidney Transplant Chula - ปลูกถ่ายไตจุฬา เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่จะบริจาคไตได้รู้กัน
โดยปกติแล้วถ้าเรามีไต 2 ข้าง เรามีความเสี่ยงในผู้ที่แข็งแรงดี คือ 14 ใน 10,000 หรือเท่ากับ 0.14% กล่าวคือ "ถ้าเรามีไตสองข้าง เรามีโอกาสที่จะสบายดีไม่ต้องฟองเลือดตลอดชีวิตเราเท่ากับ 99.8% นั่นเอง" เมื่อบริจาคไตไป 1 ข้างแล้วผู้บริจาคไตจะมีความเสี่ยงที่จะต้องกลายมาเป็นคนไข้ฟอกเลือดเสียเองในอนาคตเพิ่มขึ้นเป็น 0.5 ถึง 0.9 ซึ่งก็คือ "จะมีโอกาสที่ผู้บริจาคไตจะสบายดี ไม่ต้องฟอกเลือดเท่ากับ 99.1 ถึง 99.5% นั่นเอง"
อย่างไรก็ตามขอเน้นว่าตัวเลขที่ให้ไว้เป็นค่าเฉลี่ย โดยแต่ละคนจะมีความเสี่ยงที่ไม่เท่ากันขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น โรคประจำตัว น้ำหนักตัว ความดันโลหิต ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะทราบความเสี่ยงอย่างละเอียดเมื่อได้รับการตรวจประเมินจากทีมแล้ว แนะนำว่าผู้ที่จะบริจาคไตควรเป็นผู้ที่เมื่อหลังบริจาคแล้วมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นคนไข้ฟอกเลือดเสียเองนน้อยกว่า 5% ลงมา
นอกเหนือจากเรื่องความเสี่ยงการฟอกเลือดแล้ว ผู้บริจาคไตจะมีความเสี่ยงด้านอื่นอีกเพียงเล็กน้อย ได้แก่ เสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย (ซึ่งสามารถกินยาความดันรักษาได้) เสี่ยงที่จะมีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย (ซึ่งรักษาได้) และในผู้หญิงจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษได้เล็กน้อย (ซึ่งก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยและสามารถควบคุมหรือรักษาได้)
ทั้งหมดนี้ก็เพื่ออยากให้ทุกคนรู้ว่าเมื่อทีมรักษาตรวจเช็คผู้ประสงค์บริจาคจนละเอียดและลงความเห็นว่าสามารถบริจาคไตได้แล้ว ผู้บริจาคจะมีความเสี่ยงของภาวะที่กล่าวมาเพิ่มขึ้นน้อยมากๆ (ขอย้ำว่าเสี่ยงเพิ่มขึ้นน้อยมากๆ) การปลูกถ่ายไตจึงเปรียบเสมือนการให้คนหนึ่งคนที่แข็งแรงช่วยฉุดคนป่วยที่กำลังจมน้ำขึ้นมาให้ปลอดภัยทั้ง 2 คนนั่นเอง แต่สุดท้ายแล้ว ผู้ที่จะตัดสินใจว่าจะบริจาคหรือไม่นั้นคือตัวผู้บริจาคนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจากแฟนเพจเฟซบุ๊ก Kidney Transplant Chula - ปลูกถ่ายไตจุฬาเรียบเรียงโดย ผศ.นพ. ณัฐวุฒิ โตวนำชัย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0