โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ไขคำตอบ! "กระเบนสีชมพู" เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน

Thai PBS

อัพเดต 18 ก.พ. 2563 เวลา 05.59 น. • เผยแพร่ 18 ก.พ. 2563 เวลา 05.59 น. • Thai PBS
ไขคำตอบ!

วันนี้ (18 ก.พ.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นิตยสาร National Geographic Thailand  ได้เผยแพร่เรื่องราวของปลากระเบนสีชมพูตัวหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งช่างภาพ kristianlainephotography ถ่ายภาพไว้ได้

      ดูโพสต์นี้บน Instagram    

Its pink manta kind of monday today. The only pink manta in the whole world can be found cruising the shallow waters around lady elliot from time to time, around 8 times in 8 years i think is more like the odds ;) . . . . . #thisisqueensland #seeaustralia #southerngreatbarrierreef #nikonaustralia #gbrmarinepark #australiangeographic #ladyelliotislandecoresort #underwaterphotography #ocean #oceanvision #discoverocean #ausgeo #qldparks #aquatech_imagingsolutions #madeofocean #freedive #natgeowild #natgeoyourshot #natgeoau #aussiephotos #ig_australia__ #natgeo #ourblueplanet #padi #australia_shotz #abcaustralia #oceanconservancy #underwater_is_life #snorkel.around.the.world #naturephotographer

โพสต์ที่แชร์โดย Kristian (@kristianlainephotography) เมื่อ ก.พ. 9, 2020 เวลา 10:07pm PST

 

ทั้งนี้จากการศึกษาของโปรเจกต์แมนตา (Project Mantra–โครงการปลากระเบน) กลุ่มนักวิจัยจากออสเตรเลียที่ศึกษาปลากระเบนสีชมพูตัวนี้ ได้ยืนยันว่าเป็นสีผิวจริงของมัน ในตอนแรก พวกเขาคิดว่าสีชมพูนี้ เป็นผลมาจากการติดเชื้อของผิวหนังหรือผลค้างเคียงจากอาหารที่กิน เช่นเดียวกับนกฟลามิงโกสีชมพู ที่ได้สีผิวมาจากการกินสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หรือครัสเตเชียน (crustaceans) อันหมายถึงสัตว์น้ำจำพวก กุ้ง กั้ง หรือ ปู แต่จากการศึกษาในปี 2016 โดยนักวิจัย เอมิเลีย อาร์มสตรอง ที่ได้นำตัวอย่างผิวหนังของมันมาศึกษา ก็ค้นพบว่าไม่ได้เกิดจากสาเหตุทั้งสองที่เคยคาดการณ์ไว้

ในตอนนี้ เชื่อว่าปลากระเบนตัวนี้มีภาวะการกลายพันธุ์ของยีน (Genetic Mutation) ในเมลานินหรือหรือเม็ดสีผิว อาเซีย เฮนส์ (Asisa Haine) ผู้ช่วยนักวิจัยกลุ่มโปรเจกต์แมนตรา ระบุ

โดยปลากระเบนตัวนี้ไม่เพียงแค่เป็นสัตว์น้ำที่ดูดี แต่มันมีประโยชน์ต่อการศึกษาได้อีกด้วย เฮนส์กล่าวและเสริมว่า “การทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นของการกลายพันธุ์ในยีนอาจช่วยบอกเรา” ว่าปลากระเบนมีกระบวนการพัฒนาสีผิวอย่างไร

โซโลมอน เดวิด นักนิเวศวิทยาทางน้ำประจำมหาวิทยาลัย Louisiana’s Nicholls Sate สงสัยว่ากลายการพันธุ์จะเกิดจากภาวะที่เรียกว่า Erythrism อันเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีผลให้ร่างกายผลิตเม็ดสีแดงมากกว่าปกติ

การได้เห็นการกลายพันธุ์ในสีผิวของสัตว์น้ำไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมายโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องที่เจ๋งที่เราได้พบเจอ

นอกจากนี้ เขากล่าวผ่านอีเมล์ ด้วยว่า ปกติ ปลากระเบนแมนตาแนวปะการังมีสีผิว 3 แบบ คือสีดำล้วน ขาวล้วน หรือสีขาวดำซึ่งมีมากที่สุดซึ่งเป็นรูปแบบสีที่เรียกว่า “Countershading” อันเป็นลักษณะหนึ่งของการพรางตัวในสัตว์ที่ช่วยให้พวกมันเป็นที่สังเกตเห็นยากในสภาพแวดล้อมใต้น้ำ ปลาชนิดนี้จะมีสีดำที่ด้านหลัง และมีสีขาวที่ด้านหน้าท้อง เมื่อถูกมองเห็นจากด้านบน ผิวสีดำของมันจะกลมกลืนไปกับบรรยากาศสีดำใต้ทะเล แต่เมื่อถูกมองจากด้านล่าง สีขาวตรงหน้าท้องของมันก็กลมกลืนไปกับแสงอาทิตย์ที่สะท้อนลงบนผิวน้ำ อันเป็นการปรับตัวที่ป้องกันพวกมันจากสัตว์นักล่า เช่น ฉลาม เป็นต้น

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0