โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไขข้อสงสัย”เป้าหมายเงินเฟ้อ” มีไว้เพื่ออะไร เกี่ยวกับดอกเบี้ยขึ้น/ลงหรือไม่

Money2Know

เผยแพร่ 19 ม.ค. 2562 เวลา 07.23 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ไขข้อสงสัย”เป้าหมายเงินเฟ้อ” มีไว้เพื่ออะไร เกี่ยวกับดอกเบี้ยขึ้น/ลงหรือไม่

หลายคนสับสนเกี่ยวกับ "เป้าหมายเงินเฟ้อ" ที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนดทุกปีว่าเกี่ยวกับเรื่องการปรับขึ้นหรือลงของอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ และมีไว้เพื่ออะไร

บทความล่าสุด เรื่อง "เป้าหมายเงินเฟ้อสำคัญอย่างไรกับธนาคารกลาง?" นางสาวธนันธร มหาพรประจักษ์ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ช่วยไขข้อสงสัยสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าใจ หรือ ต้องการใช้ข้อมูลในการดำเนินธุรกิจ มีรายละเอียด ดังนี้

ในช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีท่ีร้อยละ 2.5 ± 1.5 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2562

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายนโยบายการเงินมาตั้งแต่ปี 2543 อย่างไรก็ดี พบว่า สาธารณชนบางส่วนยังมีความเข้าใจท่ีไม่ถูกต้องนัก บทความนี้จึงต้องการอธิบายความสำคัญของเป้าหมาย นโยบายการเงินของไทย หลักการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน รวมถึงแนวโน้มเป้าหมายในระยะต่อไป

ขอเร่ิมทำความเข้าใจก่อนว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้นบ่งบอกอะไรบ้าง? และทำไมจึงสาคัญถึงขนาดเป็นเป้าหมายที่ธนาคารกลางใช้พิจารณาในการดำเนินนโยบายการเงิน? อัตราเงินเฟ้อท่ัวไปคือ เครื่องชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวมในประเทศ

ในกรณีของไทยจัดทำโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งครอบคลุมราคาสินค้าและบริการจำนวน 422 รายการท่ีผู้บริโภคเผชิญในชีวิตประจำวัน

ท้ังน้ี หากภาวะเงินเฟ้อเร่งขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ ตัวอย่างในปัจจุบันที่ชัดเจน คือวิกฤตเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาท่ีราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก ๆ 26 วัน โดย IMF คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงถึงร้อยละ 1,000,000 ณ สิ้นปี 2561 ซึ่งราคา สินค้าที่พุ่งสูงข้ึนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประชาชนมีเงินไม่พอใช้ในการดำรงชีวิต และเผชิญกับความไม่แน่นอน ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะเพิ่มขึ้นเท่าไร ท้ายท่ีสุดแล้วชาวเวเนซุเอลากว่าสองล้านคนจึงตัดสินใจอพยพออกจากประเทศเพื่อหนีภัยเศรษฐกิจ

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าการดูแลระดับราคาสินค้าและบริการให้เหมาะสมเป็นหน้าท่ีสำคัญของธนาคารกลาง เพราะจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหน่ึงว่า การดูแลให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพด้านราคา (price stability) เป็นการดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวนจนเกินไป (low and stable inflation)

สำหรับวิธีการดูแลอัตราเงินเฟ้อให้มีเสถียรภาพนั้น จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อท่ีเหมาะสมกับเศรษฐกิจเสียก่อน เพื่อท่ีผู้ดำเนินนโยบายจะสามารถ วางแผนดูแลอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังทุกปีในการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อท่ีเหมาะสมของไทยในระยะปานกลาง

ทั้งนี้ กนง. จะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อท่ีกำหนดไว้ ผ่านการใช้เครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบาย

สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปัจจุบันท่ีร้อยละ 2.5 ± 1.5 น้ัน กนง. และกระทรวงการคลังเห็นร่วมกันว่าค่ากลางท่ีร้อยละ 2.5 เป็นระดับที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ความยืดหยุ่นของเป้าหมายท่ีร้อยละ 1.5 เพียงพอท่ีจะช่วยให้ กนง. มีความยืดหยุ่นและสามารถดำเนินนโยบายการเงินได้อย่างเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อตอบสนองกับอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นมากเกินไป

เป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5 หมายความว่า ธปท. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2562 ท่ีร้อยละ2.5 หรือไม่? และ หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำหรือสูงกว่าค่ากลางของกรอบเป้าหมาย กนง.จะไม่สามารถปรับขึ้น หรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่?

สาหรับประเด็นแรกนั้น แม้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีท่ีร้อยละ 2.5 จะเป็น ค่ากลางของเป้าหมายนโยบายการเงินในระยะปานกลาง ซึ่งรวมถึงเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2562 ด้วย แต่อัตราเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นระดับท่ีกนง. และกระทรวงการคลังเห็นว่าเหมาะสมกับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ซึ่งไม่ได้สะท้อนตัวเลขประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2562 แต่อย่างใด โดยล่าสุด ธปท. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในปี2562 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.0

สำหรับประเด็นที่สองนั้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5 จะเป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่ออัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวต่ำกว่าหรือสูงกว่าค่ากลางของกรอบเป้าหมาย กนง. จะต้องตอบสนองด้วยการปรับลดหรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทันที เนื่องจาก กนง.ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบหยุ่น (Flexible Inflation Targeting: FIT) ซึ่ง เป็นกรอบท่ีให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคาในระยะปานกลาง ควบคู่กับการดูแลการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน โดยการดำเนินนโยบายภายใต้กรอบดังกล่าวจะกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยยอมให้อัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวจากค่ากลางของเป้าหมายได้ในช่วงที่กำหนดทำให้การดำเนินนโยบายมีความยืดหยุ่นเพียงพอและสามารถรักษาเสถียรภาพด้านอื่น ๆ ได้พร้อมกัน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในการประชุม กนง. คร้ังล่าสุด กรรมการส่วน ใหญ่เห็นควรให้ปรับข้ึนดอกเบี้ยนโยบายจากความกังวลด้านเสถียรภาพระบบการเงิน แม้อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ต่ำกว่าค่ากลางของเป้าหมาย

ท้ายสุดน้ี แนวโน้มการกาหนดเป้าหมายเงินเฟ้อระยะต่อไปเป็นอย่างไร? จากการศึกษาของ ธปท. พบว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของท้ังเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีส่วนกดดันให้อัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ในระดับต่ำและมีแนวโน้มต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ท่ีช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นพร้อมกับต้นทุนการผลิตท่ีลดลง กระแสโลกาภิวัตน์ทางการค้า (globalization) และกระแส e- commerce ท่ีทำให้ธุรกิจแข่งขันด้านราคามากข้ึน รวมถึงการเข้าสู่สังคมสูงวัยท่ีทำให้การบริโภคโดยรวมของไทยขยายตัวได้ไม่มากเช่นในอดีต

ทั้งนี้ กนง. และกระทรวงการคลังจะมีการทบทวนเป้าหมายนโยบายการเงิน เป็นประจำทุกปีเพื่อให้เป้าหมายดังกล่าวเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ การเงิน รวมทั้งช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเป็นไปในทิศทางท่ีสอดประสานกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0