โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

โรงงานจีนแท็กทีม เร่งปั๊ม "หน้ากาก" โควิด-19

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 27 ก.พ. 2563 เวลา 13.59 น. • เผยแพร่ 27 ก.พ. 2563 เวลา 13.59 น.
Move01

กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โรงงานหลายแห่งในจีนจะเริ่มกลับมาเปิดสายการผลิตอีกครั้งหลังหยุดยาวตรุษจีน ช่วยให้ซัพพลายสินค้าหลายชนิดกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง

แต่สำหรับ “หน้ากากอนามัย” แล้วสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง เมื่อซัพพลายยังต่ำกว่าดีมานด์อย่างเห็นได้ชัด แม้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์กำลังผลิตจะกลับมาถึง 94% แล้วก็ตาม

ตามข้อมูลของรัฐบาลจีนโรงงานหน้ากากทั่วแดนมังกรมีกำลังผลิตเต็มที่รวมกันประมาณ 20 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งในเวลาปกติตัวเลขนี้สามารถรองรับดีมานด์ทั่วโลกได้ถึง 50% แต่ในช่วงเวลาที่ประชากรกว่า 1.4 พันล้านคนต้องรับมือกับการระบาดของไวรัสเช่นนี้

เรียกว่าห่างไกลจากคำว่าเพียงพอ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่นอกจากโรงงานผลิตหน้ากากแล้ว ยังมีโรงงานอื่น ๆ ตั้งแต่โรงงานรถยนต์, โรงงานมือถือ, โรงงานผ้าอ้อม ไปจนถึงโรงกลั่นน้ำมัน เริ่มลงทุนติดตั้งเครื่องจักรเพิ่มไลน์การผลิตหน้ากากอนามัยเข้าไปด้วย

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า รัฐบาลจีนพยายามกระตุ้นให้วงการอุตสาหกรรมเพิ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นแบบเร่งด่วน ตามเป้าเพิ่มกำลังผลิตอีก 70% เพื่อให้ทันกับดีมานด์ โดยโรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ บริษัทร่วมทุนกับต่างชาติ หรือเป็นเอกชน ต่างตบเท้าเข้าร่วม

หนึ่งในนั้น คือ “นิว ยิฟา กรุ๊ป” ที่ปรับไลน์การผลิตทิสชู่เปียกในโรงงานที่เมืองฝูเจี้ยน เป็นการผลิตหน้ากากอนามัยโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่มาดัดแปลง และกำลังพิจารณาปรับไลน์การผลิตผ้าอ้อมมาเป็นหน้ากากอนามัยด้วยเช่นกัน พร้อมยกเลิกคำสั่งซื้อเดิมมูลค่ากว่า 6 ล้านเหรียญสหรัฐไปก่อน

“เชน เฉินหยวน” รองประธานบริษัท กล่าวว่า ตอนนี้พนักงานทั้งหมดหันมาผลิตหน้ากากอนามัยแล้ว น่าจะผลิตได้ประมาณ 6 แสนชิ้นต่อวัน

นอกจากนี้ ยังมี “บีวายดี” (BYD) โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประกาศว่าจะเริ่มผลิตหน้ากากและยาฆ่าเชื้อที่โรงงานในเสิ่นเจิ้น ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ คาดว่าจะมีกำลังผลิตประมาณ 5 ล้านชิ้น และยาฆ่าเชื้ออีก 5 หมื่นขวดต่อวัน โดยจะเน้นส่งให้กับโรงพยาบาลและพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงเป็นหลัก

ขณะที่โรงงานรถยนต์ซึ่งจีเอ็มร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นเตรียมติดตั้งเครื่องจักรผลิตหน้ากากกำลังผลิต 1.7 ล้านชิ้นต่อวัน

ในวันที่ 26 นี้ ส่วนบริษัทน้ำมันของรัฐบาลอย่าง “ไชน่าปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล” หรือ “ซิโนแพ็ค” (Sinopac) ตั้งเป้าผลิตหน้ากากให้ได้ 1 ล้านชิ้นต่อวัน

ภายในวันที่ 10 มี.ค.นี้ ในขณะที่ “ฟ๊อกคอน” ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากไต้หวัน เตรียมใช้โรงงานในเสิ่นเจิ้นผลิตหน้ากากอนามัยให้ได้ 2 ล้านชิ้นต่อวันภายในสิ้นเดือนนี้ เช่นเดียวกับผู้ผลิตสินค้าเด็ก “DaddyBaby” ซึ่งตั้งเป้าผลิตหน้ากาก 4.2 ล้านชิ้นต่อวัน

“เล ลิมิน” รองประธานกรรมการสมาคมการค้าสิ่งทอของจีน เปิดเผยกับสื่อท้องถิ่นว่า สิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้กำลังผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศน่าจะสามารถแตะ 180 ล้านชิ้นต่อวันได้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้อาจยังไม่เพียงพอกับดีมานด์ โดยบริษัทหลักทรัพย์ฮัว ชวง ประเมินว่า ลำพังแค่คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม, เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและขนส่งมวลชน โดยไม่รวมประชาชนทั่วไป ก็น่าจะต้องใช้หน้ากากอนามัยมากถึง 240 ล้านชิ้นต่อวันแล้ว จึงเป็นไปได้สูงว่าปัญหาขาดแคลนสินค้าน่าจะยังดำเนินต่อไป

จากความเคลื่อนไหวนี้ต้องลุ้นกันว่ารัฐบาลจีนจะสามารถรับมือกับความท้าทายเร่งด่วนนี้อย่างไร และการปรับไลน์การผลิตของโรงงานต่างๆ จะส่งผลเป็นลูกโซ่กับธุรกิจอื่นด้วยหรือไม่ต้องติดตาม อีกไม่นานน่าจะมีผลลัพธ์ตามมา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0