โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โรคเข่าเสื่อม เช็กพฤติกรรมสักนิด ว่าเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงแล้วหรือยัง

SpringNews

อัพเดต 02 มิ.ย. 2563 เวลา 02.19 น. • เผยแพร่ 02 มิ.ย. 2563 เวลา 02.19 น.
โรคเข่าเสื่อม เช็กพฤติกรรมสักนิด ว่าเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงแล้วหรือยัง

ช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายยังคงต้องเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ให้กลับมาระบาดระลอก 2 เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้สูงอายุ หนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่ควรอยู่บ้านให้มากที่สุด และเมื่อต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน อาจมี โรคเข่าเสื่อม มาเยี่ยมเยียนได้

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเข่าเสื่อม

ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการผลิตคอลลาเจน และน้ำหล่อลื่นบริเวณข้อต่อในร่างกายก็เริ่มลดลง ทำให้บริเวณข้อเข่าขาดน้ำหล่อลื่นที่จะช่วยลดแรงกระแทกระหว่างกระดูก เมื่อกระดูกเกิดการเสียดสีกันโดยตรงมากๆ จึงเป็นสาเหตุของเข่าเสื่อม และทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในที่สุด

ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์  กลุ่มคนเหล่านี้มักพบกับอาการปวดบริเวณข้อได้ง่ายอยู่แล้ว เมื่อบริเวณข้อมีการอักเสบเป็นประจำหรือเป็นเรื้อรังนานๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคเข่าเสื่อมได้เช่นกัน ดังนั้น หากเป็นโรคเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้หาย เพื่อลดความเสี่ยงในการปวดเรื้อรัง

*เข่าเสื่อม ไม่ได้เป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัยเท่านั้น คนอายุน้อยก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ หากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การออกกำลังกายที่ใช้แรงกระแทก หรือ การเป็นโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอักเสบ*

เข่าเสื่อม
เข่าเสื่อม

พฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคเข่าเสื่อม

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จะทำให้ขาต้องรับน้ำหนักตัวมากเกินไป ส่งผลให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อเข่ามากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีปริมาณไขมันมาก และมีมวลกล้ามเนื้อน้อย จะยิ่งทำให้เกิดภาระในการรับน้ำหนักตัว ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกบริเวณข้อเข่ามากกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และมีอาการปวดข้อเข่าได้

ผู้ที่ออกกำลังกายที่มีการกระแทกมาก อย่าง การวิ่ง การยกน้ำหนัก อาจทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อต่อมากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน ควรเลือกออกกำลังกายเบาๆ ก่อน ไม่ควรเริ่มด้วยการวิ่งเร็วๆ เพราะอาจทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อเข่ามากเกินไป จนอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณข้อเข่า หากทำเป็นประจำ ควรใช้อุปกรณ์ที่ช่วย Support บริเวณข้อเข่า และออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หักโหมมากจนเกินไป

นอกจากนี้ พฤติกรรมการนั่งพับเพียบ การนั่งคุกเข่านานต่อเนื่องเป็นประจำ ก็ทำให้เกิดแรงกดทับได้มากเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเข่าเสื่อมได้

ข้อควรปฏิบัติเพื่อข้อเข่าที่แข็งแรง

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเข่าเสื่อม ควรรักษาน้ำหนักตัวให้มีความสมดุล และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย และลดแรงกดทับจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

การเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ การออกกำลังกายทางน้ำ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่ออักเสบ หรือ ข้อเสื่อมอยู่แล้ว รวมถึงผู้ที่ต้องการออกกำลังกายแต่กลัวปัญหาเรื่องแรงกระแทก เพราะน้ำจะช่วยพยุงร่างกาย และลดแรงกระแทก ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดี

สารสกัดที่ช่วยบำรุงข้อ

อาหารเสริมเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ในการช่วยบำรุงข้อ ลดความเสี่ยงในการเป็น โรคเข่าเสื่อม ปัจจุบัน คอลลาเจน Type II มีส่วนช่วยในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน บำรุงข้อต่อ เพิ่มน้ำหล่อลื่นบริเวณข้อต่อ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกบริเวณข้อต่อได้ อีกทั้งสารสกัดจากขมิ้นชัน นับว่ามีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาโรคข้อเสื่อมสามารถป้องกันได้ และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคก็เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติตั้งแต่เนิ่นๆ โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการก่อน สามารถติดตามเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ Healthyclub by Biopharm

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0