โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โรคที่พบในซากฟอสซิลหางไดโนเสาร์

ไทยรัฐออนไลน์ - Social

อัพเดต 16 ก.พ. 2563 เวลา 08.33 น. • เผยแพร่ 17 ก.พ. 2563 เวลา 03.01 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

(ภาพจาก : Assaf Ehrenreich, Sackler Faculty of Medicine, Tel Aviv University)

การขุดค้นซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) สิ่งมีชีวิตยุคโบราณหลากหลายชนิด บางครั้งพบซากฟอสซิลแปลกประหลาด เปิดประตูความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับยุคสมัยที่ผ่านมานานนับหลายสิบล้านปี ล่าสุดนักวิจัยจากภาควิชากายวิภาคศาสตร์และมานุษยวิทยา รวมทั้งศูนย์การวิวัฒนาการมนุษย์และประวัติศาสตร์ด้านชีววิทยาแดน เดวิด แห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ในอิสราเอล รายงานการศึกษากระดูกสันหลังส่วนหางของไดโนเสาร์ชนิดกินพืชที่อาศัยอยู่เมื่อ 66-80 ล้านปีก่อน

ทีมวิจัยเผยว่า พบสิ่งผิดปกติในหางของไดโนเสาร์วัยหนุ่ม เมื่อทำการสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร (micro-CT) และสร้างเนื้องอกรวมถึงเส้นเลือดด้วยคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ ระบุได้ว่าสิ่งประหลาดนั้นคือเนื้องอกธรรมดาที่เกิดขึ้นแล้วไม่แพร่กระจายลุกลาม ลักษณะคล้ายคลึงกับโพรงที่เกิดจากเนื้องอก ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มเซลล์ผิดปกติ “แอลซีเอช” (Langerhans cell histiocytosis) เป็นโรคหายากและสร้างความเจ็บปวดให้กับมนุษย์โดยเฉพาะเด็กวัย 2-10 ขวบในยุคปัจจุบัน

ไดโนเสาร์ตัวนี้เคยอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของรัฐอัลเบอร์ตา ของแคนาดา และการวิจัยนี้บ่งชี้ว่าโรคดังกล่าวไม่ได้มีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น แต่สามารถอยู่รอดมาได้นานกว่า 60 ล้านปี ซึ่งนักวิจัยกำลังพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมโรคบางโรคถึงอยู่รอดและวิวัฒนาการมาถึงวันนี้.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0