โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โรคตาบอดสี ลูกเป็นหรือไม่ เช็ดได้ด้วยพ่อแม่

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 20 ส.ค. 2562 เวลา 11.30 น. • Motherhood.co.th Blog
โรคตาบอดสี ลูกเป็นหรือไม่ เช็ดได้ด้วยพ่อแม่

โรคตาบอดสี ลูกเป็นหรือไม่ เช็ดได้ด้วยพ่อแม่

หากพ่อแม่พบว่าลูกไม่เข้าใจเรื่องสี เวลาพ่อแม่ถามถึงสีรอบตัวบางครั้งลูกพูดสีผิดไปจากที่เป็นหรือบางครั้งก็ตอบไม่ได้ เป็นไปได้ว่าอาจเป็น "โรคตาบอดสี" แต่พ่อแม่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าลูกเป็นเด็กตาบอดสีจริงๆ จะมีวิธีไหนตรวจสอบ และจะสามารถรักษาได้หรือไม่หากลูกมีอาการจริงๆ ติดตามอ่านได้ในบทความตอนนี้เลยค่ะ

ตาบอดสีคืออะไร?

ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) เป็นภาวะที่ตาของผู้ป่วยมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจน เพราะตาของผู้ป่วยแปรผลหรือแปรภาพสีผิดเพี้ยนไปจากผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในผู้ชายพบได้ประมาณ 8% และพบในผู้หญิงได้ประมาณ 0.4% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสีที่คนมักเป็นตาบอดสี คือ สีเขียว เหลือง ส้มและสีแดง ส่วนภาวะตาบอดสีทุกสี (Achromatopsia) จะพบได้น้อยมาก ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

อาการตาบอดสีพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
อาการตาบอดสีพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

การมองเห็นสีของคนเรา ดวงตาจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว โดยใช้สำหรับการมองเห็นในเวลากลางคืน แต่สีที่มองเห็นจะเป็นสีในโทนดำ ขาว และเทาเท่านั้น ส่วนอีกชนิด คือ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) ที่มีความไวในการรับแสงที่สว่างกว่าเซลล์รูปแท่ง และสามารถแยกแสงสีต่างๆได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์รูปกรวยนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ เซลล์รูปกรวยชนิดที่ไวต่อแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์รูปกรวยครบทั้ง 3 ชนิดที่ไวต่อแสง กรวยแต่ละชิ้นก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองในการแยกสี และมีการผสมของแสงสีต่างๆจากเซลล์นี้ จึงทำให้คนปกติสามารถมองเห็นสีได้หลายโทนสี

อาการของตาบอดสี

ภาวะตาบอดสีในแต่ละบุคคลอาจมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของตาบอดสีที่เป็น แต่อาจจะสังเกตได้จากสัญญาณเตือนเหล่านี้

  • จดจำและแยกสีต่างๆได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในการบอกสีที่เห็น เช่น แยกความต่างของสีเขียวและแดงไม่ได้ แต่สามารถแยกสีน้ำเงินและเหลืองได้ง่าย
  • สามารถมองเห็นสีได้หลากหลายสี แต่บางสีอาจมองเห็นต่างไปจากคนอื่น
  • มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น ซึ่งต่างจากคนปกติที่จะสามารถมองเห็นสีได้มากกว่าร้อยสี
  • ในบางรายสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และเทา แต่แทบไม่พบตาบอดสีประเภทนี้

อาการของภาวะตาบอดสีส่วนใหญ่สามารถพบได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก เนื่องจากเซลล์และเส้นประสาทในดวงตาและสมองจะถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่เกิด พ่อแม่อาจลองสังเกตลูกด้วยอาการเบื้องต้นได้ เช่น เด็กที่มีอายุเกิน 4 ขวบแต่จดจำและบอกสีต่างๆไม่ถูกต้อง หรือไม่สามารถเลือกสิ่งของที่มีสีต่างกันได้ แบบนี้อาจจะมีแนวโน้มในการเกิดภาวะตาบอดสีที่สูงมาก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่แทบไม่รู้ว่าตนเองมีอาการตาบอดสี

เด็กที่ตาบอดสีมักเรียนรู้วิธีชดเชยโดยไม่รู้ตัว เช่น ถ้าเขาไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีบางสีได้ เขาอาจเปรียบเทียบความแตกต่างและความสว่าง และนำข้อมูลที่ได้ไปเชื่อมโยงกับชื่อของสีนั้นๆ นอกจากนี้ เด็กๆอาจเรียนรู้วิธีแยกแยะสิ่งต่างๆโดยดูจากลักษณะพื้นผิวและเนื้อของวัสดุ แทนที่จะแยกแยะโดยใช้สี ที่จริงหนุ่มสาวหลายคนยังไม่ทราบว่าตนมีอาการตาบอดสีตลอดช่วงที่เป็นเด็ก

และเนื่องจากโรงเรียนมักจะใช้อุปกรณ์ช่วยสอนที่อาศัยสีเป็นหลัก โดยเฉพาะในชั้นเด็กเล็ก พ่อแม่และครูจึงอาจเข้าใจผิดว่าเด็กมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ ทั้งที่ความจริงแล้วเด็กอาจมีปัญหาตาบอดสี

ชั้นเรียนเด็กเล็กมักใช้สีในการสอนเยอะ เอาจพบความผิดปกติตอนนั้น
ชั้นเรียนเด็กเล็กมักใช้สีในการสอนเยอะ เอาจพบความผิดปกติตอนนั้น

สาเหตุของตาบอดสี

1. กรรมพันธุ์

เป็นสาเหตุหลักของตาบอดสีได้มากที่สุด โดยโครโมโซม X ทำให้เพศชายถ้ามีหน่วยพันธุกรรม X ที่ทำให้เกิดตาบอดสี ก็จะแสดงอาการของตาบอดสีออกมา ในขณะที่เพศหญิงถ้าหน่วย X นี้ผิดปกติเพียงหนึ่งหน่วย ก็ยังสามารถมองเห็นได้ปกติเห็นปกติได้ ถ้าหน่วย X อีกตัวหนึ่งไม่ทำให้เกิดตาบอดสี จึงทำให้สามารถพบตาบอดสีในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิงในรุ่นลูก ในขณะที่เพศหญิงอาจเป็นเพียงพาหะที่สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้แทน นอกจากนี้ยังอาจเกิดการถ่ายทอดทางพันธุกรรมข้ามรุ่นได้ เช่น ตาเป็นตาบอดสี มารดาอาจเป็นพาหะ และพบตาบอดสีในหลานชายแทน

2. ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง

ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย เพราะเหตุนี้โรคตาบอดสีส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้ชาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา ในเพศหญิงพบน้อยกว่าเพศชายประมาณ 16 เท่า หรือคือเป็นประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมดจะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร และเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณร้อยละ 5 ของประชากร

3. ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

ตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกัน และคงที่แบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลง เพราาะผู้ที่สามารถเห็นสีได้ปกติ จะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณเม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปรผลที่เป็นปกติด้วย

4. ตาบอดสีที่เป็นภายหลัง

มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือโรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียที่สีแดงมากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควรจะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็เป็นได้เช่นกัน หรือได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์หรือสไตรีน อาจส่งผลต่อการสูญเสียการมองเห็นสี

การวินิจฉัยตาบอดสี

จักษุแพทย์จะวินิจฉัยผู้ป่วยโดยใช้แผ่นภาพทดสอบตาบอดสี เพื่อดูความสามารถในการแยกแยะสี ซึ่งรูปแบบแผ่นภาพที่ใช้ทดสอบมีอยู่หลากหลายประเภท แต่แผ่นทดสอบตาบอดสีที่นิยมใช้จะมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

  • แผ่นภาพอิชิฮะระ (Ishihara) ในแต่ละภาพจะมีจุดสีที่ต่างกัน ส่วนใหญ่พื้นหลังจะเป็นจุดสีเขียว ส่วนเส้นสร้างจากจุดสีแดงหรือส้ม แพทย์จะให้ผู้ป่วยมองหาตัวเลขบนแผ่นภาพนั้นๆ ผู้ที่เป็นตาบอดสีจะไม่สามารถบอกตัวเลขจากภาพได้ถูกต้อง วิธีนี้สามารถคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว แต่จะไม่สามารถบอกได้ถึงระดับความรุนแรงของตาบอดสี
ใช้ได้กับเด็กที่รู้จักตัวเลขแล้ว
ใช้ได้กับเด็กที่รู้จักตัวเลขแล้ว
  • การเรียงเฉดสี (Color Arrangement) ผู้ป่วยจะต้องไล่เฉดสีที่กำหนดมาให้ โดยต้องไล่เฉดสีที่คล้ายกันให้อยู่ใกล้กันได้อย่างถูกต้อง หากผู้ป่วยเป็นตาบอดสีจะเกิดความสับสนในการเรียงสีให้ถูกต้อง
การทดสอบด้วยวิธีเรียงสีจะใช้กับคนที่โตแล้ว
การทดสอบด้วยวิธีเรียงสีจะใช้กับคนที่โตแล้ว

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก จะนิยมให้ใช้แผ่นภาพอิชิฮะระในการทดสอบมากกว่า และยังมีการดัดแปลงให้เหมาะสมสำหรับเด็กที่ยังไม่ได้เข้าเรียนหรือเรียนรู้ตัวเลขอีกด้วย โดยจะใช้รูปร่างของสิ่งของง่ายๆที่เด็กคุ้นเคยแทนการใช้ตัวเลข

การรักษาตาบอดสี

ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จักษุแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ แต่อาการตาบอดสีจะไม่แย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนตาบอดสีประเภทที่เกิดจากโรคต่างๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา เมื่อเกิดอาการมองเห็นสีผิดปกติไปให้รีบมารับการตรวจรักษา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติถาวรได้

สมัยนี้มีแว่นแบบมีเลนส์ที่ช่วยกรองแสงให้เห็นสีได้เกือบเหมือนปกติ
สมัยนี้มีแว่นแบบมีเลนส์ที่ช่วยกรองแสงให้เห็นสีได้เกือบเหมือนปกติ

หากพ่อแม่สังเกตและตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว ก็จะช่วยในการปรับตัวของลูกในการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน และการเลือกวิชาชีพที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับการใช้สีได้ดีกว่าการปรับตัวภายหลังเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ และพ่อแม่ควรแจ้งให้คุณครูทราบว่าลูกตาบอดสี เพื่อคุณครูจะได้ให้การดูแลลูกของเราได้ดียิ่งขึ้น

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0