โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โรคด่างขาว พ่อแม่รู้ไหมเด็กเล็กก็เป็นโรคนี้ได้นะ

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 18 ก.ค. 2562 เวลา 09.45 น. • Motherhood.co.th Blog
โรคด่างขาว พ่อแม่รู้ไหมเด็กเล็กก็เป็นโรคนี้ได้นะ

โรคด่างขาว พ่อแม่รู้ไหมเด็กเล็กก็เป็นโรคนี้ได้นะ

คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยสงสัยว่ารอยด่างที่เป็นวงสีขาวบนตัวลูกคืออะไรแน่ บางคนก็กลัวว่าลูกรักจะเป็น "โรคด่างขาว" เพราะเคยเห็นตัวอย่างจากราชาเพลงป็อบผู้ล่วงลับว่าคนเป็นโรคนี้ต้องลำบากแค่ไหน แต่รอยด่างแบบไหนละ ถึงจะเข้าข่ายเป็นโรคด่างขาว หรือว่าลูกมีอาการโรคผิวหนังชนิดอื่นกันแน่ มาทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ได้ในบทความนี้เลยค่ะ

ด่างขาว หรือ Vitiligo เป็นโรคผิวหนังที่สามารถพบได้ในเด็กที่กำลังจะเข้าสู่วัยรุ่น พบได้น้อยกว่าในเด็กเล็ก แต่ก็เคยมีรายงานว่าพบเด็กอายุ 6 เดือนที่เป็นโรคนี้เช่นกัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งพบว่ามีประวัติครอบครัวเป็นด่างขาว สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดสีผิว (Melanocyte) ถูกทำลาย หากเกิดในผู้ใหญ่พบว่าอาการจะสัมพันธ์กับโรคของระบบออโตอิมมูน เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และโรคโลหิตจาง

ด่างขาวมักพบได้ในบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด เช่น ใบหน้า มือ
ด่างขาวมักพบได้ในบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด เช่น ใบหน้า มือ

ลักษณะของด่างขาว

ด่างจะเป็นวงสีขาว อาจมีขอบเรียบหรือขอบหยัก พบได้ในทุกบริเวณของร่างกาย โดยจะพบมากในบริเวณที่โดนแสงแดด มักพบบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ปลายนิ้วมือ และยังทำให้ขนที่อยู่ตรงกับบริเวณดังกล่าวมีสีขาวด้วย ต่างจากเกลื้อน กลาก หรือกลากน้ำนม ที่ขนที่ขึ้นตรงจุดนั้นจะมีสีตามสีขนหรือผมปกติของเด็ก

แม้ว่าด่างขาวจะสามารถพบได้ทุกบริเวณบนร่างกาย แต่ก็มีแนวโน้มที่จะพบได้ตาม:

  • บริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด เช่น ใบหน้า มือ
  • ผิวหนังที่มีรอยพับ เช่น ข้อศอก หัวเข่า และง่ามขา
  • ผิวหนังที่อยู่รอบรูเปิด (Orifices) ของร่างกาย เช่น ตา รูจมูก สะดือ และบริเวณอวัยวะเพศ
หากด่างขาวขึ้นบริเวณที่มีผมหรือขน ก็จะทำให้ผมและขนบริเวณนั้นขาวไปด้วย
หากด่างขาวขึ้นบริเวณที่มีผมหรือขน ก็จะทำให้ผมและขนบริเวณนั้นขาวไปด้วย

ปกติแล้วผู้ป่วยเป็นด่างขาวไม่ต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยกเว้นในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคของระบบออโตอิมมูน ส่วนกรณีที่แยกลักษณะของด่างได้ไม่ชัดเจนว่าเป็นด่างจากโรคอะไรนั้น ก็จะต้องใช้เครื่อง Wood's Lamp ในการตรวจดูเพิ่มเติม แต่การตรวจเลือดอาจมีขึ้นได้เพื่อหาความเกี่ยวข้องกับโรคไทรอยด์หรือเบาหวาน

แพทย์ผิวหนังได้ทำการแบ่งประเภทของด่างขาวออกตามจำนวนและบริเวณที่เกิดได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ด่างขาวแบบเป็นหย่อม (Focal Vitiligo) เป็นด่างขาวที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่จุดเฉพาะในบริเวณหนึ่ง
  • ด่างขาวแบบธรรมดา (Generalized Vitiligo) เป็นลักษณะของด่างขาวที่กระจายตัวไปทั่วบริเวณร่างกาย โดยกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในทั้งสองซีกของร่างกาย บางครั้งก็เท่ากันในทั้งซีกซ้ายและซีกขวาจนเหมือนส่องกระจก จัดเป็นด่างขาวประเภทที่พบได้ทั่วไป
  • ด่างขาวเฉพาะส่วน (Segmental Vitiligo) มีลักษณะเป็นจุดอยู่เพียงแค่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย เป็นด่างขาวที่มักพบได้ยาก

และถึงแม้ว่าด่างขาวจะพบได้ในเด็กทุกชาติพันธุ์ แต่ด่างขาวก็จะโดดเด่นมากเมื่ออยู่กับเด็กที่มีผิวสีเข้มกว่า และในบางกรณี เด็กที่มีด่างขาวจะมีอาการอย่างอื่นด้วย เช่น ผมขาวก่อนวัย สีของริมฝีปากจางลงไป

บางคนก็มีด่างขาวที่ขึ้นเฉพาะส่วน มีแค่จุดนั้นจุดเดียวทั้งร่างกาย
บางคนก็มีด่างขาวที่ขึ้นเฉพาะส่วน มีแค่จุดนั้นจุดเดียวทั้งร่างกาย

โรคด่างขาวในเด็ก เป็นอันตรายหรือไม่

โรคนี้หากพบในเด็กจะไม่เป็นอันตรายในระยะสั้น แต่จะส่งผลระยะยาวคือ อาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังขึ้นในบริเวณที่เป็นรอยด่างขาว ดังนั้นหากพบว่าลูกมีอาการควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงกับโรคมะเร็งแล้ว ด่างขาวที่พบในเด็กนั้นจะรักษาให้หายยากมาก และไม่มีโอกาสที่จะหายไปได้เองตามธรรมชาติมากนัก และหากเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลานาน ก็อาจมีผลข้างเคียงจากยาได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้ระหว่างที่ลูกเข้ารับการรักษา คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยระวังไม่ให้เขาสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไปด้วยวิธีการรักษา

การรักษาด่างขาวสามารถทำได้หลายวิธี ส่วนวิธีไหนถึงจะดีนั้น ขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้โดยดูจากการลุกลามของโรค วิธีที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก้

  • ใช้ยาทา การใช้ยาทาจะนิยมใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ให้ใช้ทาในบริเวณที่เป็นด่างขาวบนตัวลูก ยาตัวนี้จะไปช่วยลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุของการที่เม็ดสีในผิวหนังถูกทำลาย เพื่อให้เม็ดสีกลับมาและทำงานได้ตามปกติ แต่เนื่องจากยาตัวนี้มีผลข้างเคียงพอสมควร จึงต้องจำกัดการใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไม่ใช่ว่าเด็กที่เป็นด่างขาวทุกรายจะสามารถใช้ยานี้ได้ผล
  • รับยากระตุ้น เป็นการกินยาหรือทายาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับแสงแดด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผิวของเด็กสามารถต่อสู้กับแสงแดดได้มากขึ้น ซึ่งจะมีทั้งการให้เด็กรับแสงอัลตราไวโอเลตเองจากธรรมชาติและการฉายแสงอาทิตย์เทียม
  • การฉายแสงอาทิตย์เทียม วิธีนี้เป็นการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตกระตุ้นเซลล์สร้างสีให้ทำงาน แต่จะใช้ได้ผลกับเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปีเท่านั้น โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยกินหรือทายา จากนั้นมาฉายแสงอาทิตย์เทียม โดยจะเป็นแสงยูวีเอ (Photochemotherapy PUVA) ซึ่งก็อาจจะมีผลข้างเคียง คือมีอาการแสบและคันบ้างเล็กน้อย และยังมีความเสี่ยงกับมะเร็งผิวหนัง หรืออาจใช้การรักษาโดยการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบี ชนิดความยาวคลื่นแคบ (Narrow Band UVB Therapy) หรือใช้เลเซอร์ (Excimer Laser)
  • การปลูกถ่ายผิวหนัง เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีการลุกลามอย่างรวดเร็วและไม่มีแนวโน้มว่าจะหายขาด โดยตัดเอาผิวหนังจากบริเวณที่มีเซลล์สีปกติมาปลูกบริเวณที่เป็นด่างขาว (Skin Grafts) การรักษาทำได้ค่อนข้างยาก และก็ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานพอสมควร ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดด้วย

วิธีการรักษาด่างขาวนี้ จะขึ้นกับอายุที่เริ่มเป็น ตำแหน่ง และขนาด เมื่อมีอาการดีขึ้น เม็ดสีผิวบริเวณที่มีด่างขาวจะเริ่มกลับมามีสีตามปกติอีกครั้ง ซึ่งเรียกว่า Repigmentation

พ่อแม่มีส่วนสำคัญในการกู้ความมั่นใจในตัวเองให้ลูก
พ่อแม่มีส่วนสำคัญในการกู้ความมั่นใจในตัวเองให้ลูก

ครีมกันแดดจำเป็นอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ลูกทาครีมกันแดดที่ผิวเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง เพราะด่างขาวพวกนี้ไม่สามารถปรับตัวเป็นผิวแทนได้ เนื่องจากไม่มีเมลาลินอยู่ในนั้น ผิวหนังจึงจะมีอาการไหม้และเกิดแผลเป็น และหากผิวหนังส่วนอื่นที่โดนแดนกลายเป็นผิวแทนก็ยิ่งจะไปขับเน้นให้ด่างขาวมีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กที่มีผิวสีอ่อน

ลองใช้เครื่องสำอางเป็นทางเลือก

หากมีความจำเป็นก็สามารถใช้เครื่องสำอางอย่างรองพื้นหรือคอนซีลเลอร์ในการช่วยปกปิดความแตกต่างของสีผิวบริเวณใบหน้าได้ ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และทดลองหลายๆแบรนด์เพื่อหาสิ่งที่เข้ากับผิวของลูกมากที่สุด

อาณุภาพของเครื่องสำอางที่ช่วยปกปิดสีผิวที่ไม่เสมอกันจากโรคด่างขาว
อาณุภาพของเครื่องสำอางที่ช่วยปกปิดสีผิวที่ไม่เสมอกันจากโรคด่างขาว

ผลกระทบทางอารมณ์ที่อาจเกิดกับลูก

ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะทราบดีกว่าการเป็นด่างขาวจะไม่ส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกรัก แต่การเป็นด่างขาวก็อาจจะยังเป็นเรื่องใหญ่สำหรับลูกอยู่ดี เพราะการมีอะไรในตัวเองที่มันผิดแปลกไปจากเพื่อนๆจะทำให้เขารู้สึกแย่ โดยเฉพาะกับเด็กก่อนวัยรุ่นและเด็กวัยรุ่นที่กำลังพยายามจะกลมกลืนกับเพื่อนฝูง

เด็กบางคนมีทัศนคติที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวเองให้รับมือกับความท้าทายทางภายภาพเช่นนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีเด็กอีกไม่น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือในการกู้ความมั่นใจและความเคารพตัวเองคืนมา คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้โดย:

  • ไม่โฟกัสไปที่ด่างขาวของลูก หรือสร้างความกดดันให้เขารู้สึกว่ามันคือเรื่องที่ต้องปกปิด
  • ย้ำเตือนให้ลูกเห็นคุณค่าของตัวเอง โดยพูดถึงสิ่งที่ลูกสามารถทำมันได้ดี และย้ำว่าสีผิวของลูกไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย
  • สอนให้ลูกอธิบายถึงอาการด่างขาวที่ลูกเป็นให้คนรอบข้างฟังได้อย่างสะดวกใจ เมื่อความสงสัยหมดไป เด็กๆรอบข้างจะหมดคำถามและเลิกจ้องมองไปเอง
  • สนับสนุนให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนฝูงตามปกติ โดยไม่ต้องรู้สึกว่าการเป็นโรคด่างขาวเป็นอุปสรรค
  • หากมีโอกาสเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ก็จะยิ่งดี เพราะลูกจะรู้สึกว่าตัวเองมีพลังและมีคุณค่า

โรคด่างขาวในเด็ก แม้จะไม่ใช่โรคที่มีความอันตรายมากนัก แต่ก็รักษาได้ยากพอสมควร และอาจจะทำให้เด็กมีปมด้อยจากการมีจุดขาวบนตัวอีกด้วย ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีจุดด่างสีขาวบนตัว ควรสังเกตและรีบพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจนและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรักษา คือต้องหลีกเลี่ยงแดดจัดๆ ทาครีมกันแดด กางร่ม หรือใส่เสื้อแขนยาว เพราะบริเวณที่เป็นด่างขาวมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นๆ

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0