โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โพลระบุประธานกมธ.ศึกษาแก้รัฐธรรมนูญควรเป็นคนนอก

ไทยโพสต์

อัพเดต 17 พ.ย. 2562 เวลา 01.18 น. • เผยแพร่ 17 พ.ย. 2562 เวลา 01.18 น. • ไทยโพสต์

17 พ.ย.2562 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13 – 14 พฤศจิกายน 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจาย  ทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,257 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงที่มาของประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.11 ระบุว่า ควรมาจากคนนอกที่ไม่ใช่ตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้านและรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 16.63 ระบุว่า ควรมาจากตัวแทน  พรรคร่วมฝ่ายค้าน ร้อยละ 12.89 ระบุว่า ควรมาจากตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 8.43 ระบุว่า ควรมาจากตัวแทนรัฐบาล และร้อยละ 2.94 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิด/พฤติกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญพึงมี พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.07 ระบุว่า เป็นคนที่ไม่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ อย่างชัดเจนจากรัฐธรรมนูญ 2560 รองลงมา ร้อยละ 21.32 ระบุว่า เป็นคนที่สนับสนุน รัฐธรรมนูญ 2560 อย่างชัดเจน ร้อยละ 15.19 ระบุว่า เป็นคนที่เคยร่างรัฐธรรมนูญมาก่อน ร้อยละ 7.40 ระบุว่า        เป็นคนที่ไม่เคยร่างรัฐธรรมนูญเลย ร้อยละ 7.16 ระบุว่า เป็นคนที่ไม่สนับสนุน รัฐธรรมนูญ 2560 อย่างชัดเจน ร้อยละ 6.60 ระบุว่า ไม่เป็นคนร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ร้อยละ 5.97 ระบุว่า เป็นคนที่ไม่เคยแสดงออก อย่างชัดเจนว่าสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ 2560 ร้อยละ 5.65   ระบุว่า เป็นคนร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ร้อยละ 3.02 ระบุว่า เป็นคนที่ได้ประโยชน์ จากรัฐธรรมนูญ 2560 อย่างชัดเจน ร้อยละ 1.91  ระบุว่า เป็นคนที่เสียประโยชน์ จากรัฐธรรมนูญ 2560 อย่างชัดเจน และร้อยละ 4.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงระยะเวลาในการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.22 ระบุว่า ไม่เกิน 6 เดือน รองลงมา ร้อยละ 32.06 ระบุว่า ไม่เกิน 1 ปี ร้อยละ 11.14 ระบุว่า ไม่ควรมีกำหนดระยะเวลา ร้อยละ 6.29 ระบุว่า ไม่เกิน 2 ปี ร้อยละ 2.94 ระบุว่า ไม่เกิน 3 ปี ร้อยละ 0.32 ระบุว่า ไม่เกิน 5 ปี และร้อยละ 1.03 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ     

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0