โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โพลชี้ คนโคราช 67% ต้องการรถไฟรางคู่ ควบคู่รถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะเส้นทาง กรุงเทพฯ-โคราช

BLT BANGKOK

อัพเดต 13 ธ.ค. 2562 เวลา 09.10 น. • เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 09.09 น.
f137938662bf0e1d210f5ea5dffc53ae.jpg

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่า ภารกิจหนึ่งของ มทร.อีสาน คือการทำงานที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนของคนโคราช อาทิ การเปิดหลักสูตรระบบราง เพื่อตอบรับเส้นทางเดินรถระบบความเร็วไปยังจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านการคมนาคมที่จะเป็นประโยชน์และเป็นการอำนวยความสะดวกของคนภาคอีสาน และเมื่อเกิดเส้นทางขนส่งทางราง และรถไฟความเร็วสูงที่ตัดผ่านจังหวัดนครราชสีมา
มทร. อีสาน โดย ศูนย์บริการวิชาการด้านบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ จึงได้จัดทำผลสำรวจเกี่ยวกับความคิดของคนโคราชต่อระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 23 มีความต้องการใช้เส้นทางรถไฟรางคู่ จากชุมทางถนนจิระ ไปขอนแก่น ในขณะที่ถ้าเป็นรถไฟความเร็วสูง ต้องการใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ - โคราช กว่าร้อยละ 36.4
นอกจากนี้ยังอยากให้มีการสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ให้คลอบคลุมทั้งประเทศ มากกว่าร้อยละ 70 และคิดว่าหากก่อสร้างเสร็จจะทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
สำหรับปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คิดว่าอาจเกิดปัญหาระหว่างการก่อสร้าง และจุดคุ้มทุนจากการดำเนินโครงการ และสุดท้ายในภาพรวมความคิดเห็นคนโคราชส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางกว่าร้อยละ 67.6 และอยากให้มีการศึกษาถึงความคุ้มค่า และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการ
ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง กล่าวว่า อยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีการคมนาคมมากขึ้น เพราะโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่ดี เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นศักยภาพของจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงภาพจากสายตาชาวต่างชาติด้วย
อย่างไรก็ตามการสำรวจดังกล่าว ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั้งสิ้น 272 คน พบว่า ความต้องการใช้เส้นทางรถไฟรางคู่เป็นดังนี้
อันดับ 1 จิระ - ขอนแก่น 23%
อันดับ 2 จิระ - อุบลฯ 19.7%
อันดับ 3 กรุงเทพฯ - สายเหนือ 19.3%
อันดับ 4 จิระ - มาบกระเบา 15.6%
อันดับ 5 กรุงเทพฯ - สายใต้ 14.5%
ไม่เลือกใช้เส้นทาง 7.8%
ขณะที่ความต้องการใช้เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เป็นดังนี้
อันดับ 1 กรุงเทพฯ - โคราช 36.4%
อันดับ 2 กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ 19.7%
อันดับ 3 โคราช - หนองคาย 16.1%
อันดับ 4 เชื่อม 3 สนามบินหลัก 13.4%
อันดับ 5 กรุงเทพฯ - ปาดังเบซาร์ 8.9%
อันดับ 6 อู่ตะเภา - ระยอง 4.9%
ไม่เลือกใช้เส้นทาง 0.7%
นอกจากนี้ยังได้สำรวจความคิดเห็นต่อการคมนาคมขนส่งระบบราง ดังนี้
- เส้นทางรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูงทับซ้อนกัน เห็นด้วย 69.1%
- การก่อสร้างรถไฟรางคู่ครอบคลุมทั้งประเทศ เห็นด้วย 77.9%
- การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงครอบคลุมทั้งประเทศ เห็นด้วย 70.6%
- ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - โคราช 543 บาท เห็นด้วย 58.8%
- ค่าโดยสารรถไฟรางคู่ จิระ - ขอนแก่น 166 บาท เห็นด้วย 82.4%
- การรื้อสะพานสีมาธานีเพื่อยกระดับรถไฟรางคู่ เห็นด้วย 69.9%
ขณะที่ทัศนคติของประชาชนต่อผลกระทบระบบรางของประเทศไทย พบว่า
ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์
26.3% เห็นว่าเกิดความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง
18.6% เห็นว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศ
16.7% เห็นว่าจะเกิดการกระจายสินค้า และการส่งออก
ด้านความกังวลต่อการพัฒนา
26.8% เห็นว่าจะเกิดปัญหาจราจรระหว่างก่อสร้าง
22.6% เห็นว่าผลประกอบการไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
20.7% เห็นว่าจะเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างก่อสร้าง
นอกจากนี้ยังพบว่า คนโคราช 67.6% เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการรถไฟรางคู่ ควบคู่กับรถไฟความเร็วสูง ขณะที่อีก 32.4% ต้องการให้พัฒนาโครงการใดโครงการหนึ่ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0