โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โนโมโฟเบีย คือ อะไร คนไทยที่เสพติดมือถือต้องฟัง

Typethai

เผยแพร่ 20 ธ.ค. 2561 เวลา 17.01 น.

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำว่า "no mobile phone phobia" เป็นศัพท์ที่หน่วยงายวิจัยทางการตลาดขนาดใหญ่ (YouGov) บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2010 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดจากความหวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือ เพื่อติดต่อสื่อสาร จัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่ในกลุ่มวิตกกังวล พบมากที่สุดในกลุ่มคนในช่วงอายุ 18-24 ปี รองลงมาคือกลุ่มคนในช่วงอายุ 25-34 ปี และกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปีตามลำดับ 

  • มีมือถือติดตัวตลอดเวลา และกังวลใจมากเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัว 

  • หมกมุ่นเช็คข้อความจากโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชันต่างๆ อัพเดทข้อมูลจากมือถืออยู่ตลอด 

  • หยิบมือถือขึ้นมาดูบ่อย แม้ไม่มีเรื่องด่วน เมื่อมีสัญญาณแจ้งเตือนจะเสียสมาธิจากสิ่งที่ทำอยู่

  • เล่นมือถือเป็นอันดับแรกหลังจากตื่นนอน

  • เล่นมือถือเป็นประจำในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอื่นๆ

  • สิ่งของอย่างอื่นหาย ตกใจไม่เท่ามือถือหาย

  • ไม่เคยปิดมือถือเลย

  • ในแต่ละวันใช้เวลาพูดคุยในโลกออนไลน์มากกว่าโลกความเป็นจริง

ก่อนที่จะสายเกินไป เราลองมาเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้ถอยห่างจากโรคนี้ หรือแนะนำคนรอบข้างด้วยก็เป็นการดีเช่นกัน

เมื่อรู้สึกเหงา หากิจกรรมอื่นหรือหาเพื่อนคุยแทน เช่น คุยกับคนในบ้าน เพื่อนร่วมงาน นัดเพื่อนเพื่อมาเจอกันดีกว่า สนุกกว่าเยอะ

ตั้งกฎว่าจะไม่แตะต้องมือถือภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ช่วงที่ไม่มีธุระจำเป็น แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้ได้มากขึ้น

กำหนดให้ห้องนอนเป็นเขตปลอดมือถือไม่ต้อง หยิบมือถือมาเล่นหรือเผลอหลับไปกับมือถือที่เล่นก่อนนอน

เทคโนโลยีมีไว้ให้ชีวิตสะดวก แต่เราต้องใช้อย่างพอเหมาะ ไม่งั้นจากที่เราต้องเป็นคนควบคุมมัน มันอาจะทำให้เรากลายเป็นทาสของมันแทน โลกข้างนอกจอมือถือ ยังมีอะไรให้น่าค้นหาอีกเพียบ ลองดู!!!!!

อย่าลืมติดตาม เรื่องราวสนุกๆแบบ TypeThai มากมาย ที่ Facebook / YouTube / IG / Twitter

อ้างอิง :ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0