โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

"โดบี" ณ เมืองมุมไบ นักซักผ้าบันลือโลก! ซัก ตาก รีด ครบวงจร 24 ชม.

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 08 ก.ย 2566 เวลา 08.13 น. • เผยแพร่ 08 ก.ย 2566 เวลา 07.00 น.
ภาพปก-โดบี
โดบีฆาต (Dhobi Ghat) แหล่งซักผ้าในมุมไบ อินเดีย

“โดบี” ณ เมืองมุมไบ อินเดีย นักซัก (ผ้า) บันลือโลก! ซัก ตาก รีด ครบวงจร 24 ชม.

สาธารณรัฐอินเดียเป็นประเทศขนาดใหญ่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีทรัพยากรตามธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลายชนชาติ ทั้งที่เป็นชนพื้นเมืองเดิม(มิลักขะ) ชนชาติผู้รุกราน(อารยัน) ชนชาติที่เข้ามาใหม่ตามความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ด้วยความที่อินเดียมีความหลากหลายด้านทรัพยากรมนุษย์มากนี้เอง จึงทำให้มีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับโลก

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้อินเดียเป็นจุดสำคัญบนแผนที่โลก และดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับความแปลกตา ตลอดจนถึงผู้เดินทางหาเส้นทางแห่งจิตวิญญาณ เช่น วิถีแห่งศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ศาสนาเชน และศาสนาซิกข์ เป็นต้น

ในบรรดาชาวอินเดียด้วยกันเองนั้น กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เกิดมาจากเหตุผลทางสังคมของการเข้ามาในยุคที่มีการล่าอาณานิคมไปทั่วทุกแห่งหนอยู่นั้น กลุ่มชนชั้นหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า“โดบี (Dhobi) ก็เกิดตามมาในช่วง ค.ศ. 1890 หรือประมาณ130 ปีมาแล้วนับตั้งแต่สมัยที่จักรวรรดิอังกฤษเข้าปกครองประเทศอินเดีย ซึ่งโดบี(Dhobi) มีความหมายว่า “นักซัก” อันเป็นอาชีพที่ตกทอดกันมา โดยเฉพาะชื่อเสียงที่บันลือโลกว่า ซักผ้าได้ยอดเยี่ยมจนทำให้บรรดาเจ้าของธุรกิจด้านโรงแรม โรงพยาบาล และครอบครัวของผู้มีอันจะกินเข้ามาใช้บริการของ“นักซัก” กลุ่มนี้

เป็นเรื่องไม่ยากถ้าเราจะพบคนกลุ่มได้โดยทั่วไปทั้งในมหานครมุมไบและทั่วทุกภูมิภาคในประเทศอินเดียเพราะที่ใดมีนักซักผ้า ที่นั่นก็มีโดบี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะถามคนในเมืองมุมไบว่า รู้จักโดบีแบบที่เราอยากรู้อยากเห็นหรือไม่ เขาจะคงตอบว่า“รู้จักโดบี นักซักผ้า แต่ไม่รู้ว่าที่คุณอยากจะไปอยู่ตรงไหน?”

เพราะกลุ่มโดบีที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยู่ที่รัฐมหาราษฏระ(Maharashtra) ในพื้นที่ถูกเรียกขานว่ามหาลักษมี(Mahalaxmi area) ซึ่งสัญลักษณ์ของพระแม่ลักษมีคือความร่ำรวย ความมีอันจะกินนั่นเอง กลุ่มโดบีที่ถูกกล่าวถึงรู้จักกันว่าเป็นพวกพริท(Parit) พวกเขาได้อาศัยอยู่กับกลุ่มราชปุต(Rajput) ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มโดบีเป็นกลุ่มชนชั้นอื่น(Other Backward Class (OBC)) ส่วนใหญ่พูดภาษามาราธี( Marathi) ในกลุ่มพวกเขา และพูดภาษาฮินดี(Hindi) ซึ่งเป็นภาษาทางการของอินเดีย

ภายในที่ตั้งที่ชุมชนโดบีหรือเรียกว่า โดบีฆาต(Dhobi Ghat) อาศัยอยู่นั้นมีนักซักตั้งแต่ระดับพระกาฬจนถึงเด็กฝึกงานหมุนเวียนเปลี่ยนเวรราว10,000 คนต่อวัน และทำงานต่อเนื่องกันตลอด24 ชั่วโมง โดยรอบของพื้นที่มหาลักษมีได้ถูกควบคุมดูแลเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ทั้งที่เป็นขาเข้าและขาออกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ แม้ว่าพื้นที่จะถูกปิดกั้นด้วยกำแพงสูงจากฝั่งที่เป็นสถานีรถไฟมหาลักษมี(Mahalakshmi Station) เช่นกัน และมีทางเข้าและออกเพียงไม่กี่ทางเท่านั้น

จุดที่น่าสนใจคือ ลานซักล้างแบบเปิดโล่ง อันประกอบด้วยลานล้างสร้างจากคอนกรีตมากกว่า731 ลาน วิธีการซักคือการทุบผ้า ฟาดผ้า ด้วยแรงของโดบีลงบนพื้นหินโบราณเพื่อให้สิ่งสกปรกกระเด็นออกจากเนื้อผ้าแล้วใช้แปรงช่วยขัดถูอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการตากแขวนบนเชือก โดยนำเชือกสองเส้นมาพันกันแล้วบิดเป็นเกลียวเพื่อป้องกันผ้าปลิวและประหยัดไม้หนีบผ้าได้เช่นกัน และถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน จะต้องรีบซักก่อนที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นไปถึง50 องศาเซลเซียส และผ้าในวันนั้นจะแห้งเร็วกว่าทุกช่วงฤดู

อัตราค่าบริการซัก ตาก รีด เฉพาะที่เป็นเสื้อหรือกางเกง กระโปรง อยู่ที่ราคาตัวละ10-15 รูปี หรือประมาณ5-8 บาท ยกเว้นชุดที่ยากและยาวแบบผ้าสาหรีที่ต้องใช้พื้นที่และเวลา อยู่ประมาณ60 รูปี หรือ30 บาท โดยเฉลี่ยแล้วค่าแรงของโดบีต่อเดือนต่อคนจะอยู่ประมาณที่8,000-9,000 รูปีหรือ4,000-5,000 บาท แต่ด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโดบีและชาวอินเดียโดยทั่วไปเขาถือคติว่า“กรรมกะโร เปซ่าโด” แปลว่า ทำงานจึงมีเงิน ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรก็แล้วแต่ขอให้มีงานทำเพราะการทำงานนอกจากได้เงินแล้วยังได้พัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปอีกก้าวหนึ่งด้วย

อ่านเพิ่มเติม :

ผงซักฟอกมาจากไหน? ก่อนหน้านั้นเราใช้อะไรซักผ้า?

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 30 มีนาคม 2563

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0