โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โซเชียลแชร์โพสต์ หลังเพจดังเตือนไม่รวยจริงระวังค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน

ช่อง 7

อัพเดต 21 ก.ย 2561 เวลา 18.10 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2561 เวลา 18.10 น. • Ch7
โซเชียลแชร์โพสต์ หลังเพจดังเตือนไม่รวยจริงระวังค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน
โซเชียลแชร์โพสต์ หลังเพจดังเตือนไม่รวยจริงระวังค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน
โซเชียลแชร์โพสต์ หลังเพจดังเตือนไม่รวยจริงระวังค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน

สังคมออนไลน์ โพสต์ข้อมูลเตือนเรื่องการรักษาพยาบาล ขึ้นข้อความเตือนว่า เจ็บหนัก ถ้าไม่รวยจริง อย่าเข้าโรงพยาบาลเอกชน โดยให้ข้อมูลว่าคนไทย จำนวนไม่น้อย พอเจ็บป่วยหนัก ญาติคนไข้จะพาบึ่งไปโรงพยาบาลเอกชนเลยเพราะเชื่อว่า เพื่อให้ได้รับการรักษาดี และคนไข้มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าคนไข้อาการหนักมากๆ การแอดมิท โรงพยาบาลเอกชนที่หรูๆ บางแห่ง มีค่าใช้จ่ายหลายพัน ถึงหลายหมื่นตามเกรดโรงพยาบาล ยิ่งถ้าแอดมิทในห้อง ICU ของโรงพยาบาลเอกชน จะมีค่าใช้จ่ายต่อวันสูง บางที่ หลักแสนยังเอาไม่อยู่
แม้ว่าตอนนี้ จะมีสิทธิ UCEP หรือ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิ์ทุกที่ รักษาฟรี 72 ชั่วโมง แต่กรณีอาการหนักๆ การรักษาในอัตราของโรงพยาบาลเอกชน จะมีค่าใช้จ่ายสูง แม้ว่าโรงพยาบาลจะเบิกได้จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. แต่ก็อาจจะมีช่องว่างการเรียกเก็บค่าบริการอื่นๆ จากคนไข้เข้าไปอีก นอกจากค่ารักษาที่เบิกได้ ที่จะสาหัสก็คือ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ต้องระวัง
ก็คือ ถึงแม้ว่า จะมีสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่ว่า จะเป็นผู้ป่วยบัตรทองประกันสังคม หรือ สิทธิข้าราชการ ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายการรักษาของโรงพยาบาลเอกชนด้วย อันนี้ เพจ Drama Addicct เค้าเตือนโดยอ้างอิงประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพหรือ สปสช.ที่ประสานงาน ระหว่างคนไข้ที่มีกรณีการร้องเรียน และขอความช่วยเหลือจาก สปสช.
ทีนี้ มาฟังจากฝั่ง สปสช. ถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ทันตแพทย์อรรถพร  ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการ และโฆษก สปสช. อธิบายว่า สิทธิ UCEP จะมีการกำหนดเป็นรายการที่โรงพยาบาลจะเบิกได้ เป็นราคาที่คณะกรรมการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานกับทุกโรงพยาบาล ไม่ว่าของรัฐ หรือเอกชน
เช่น การกำหนดราคาการสวนหัวใจ สมมติว่า มีเพดานที่จ่ายได้เส้นละ 20,000 บาท อย่างนี้ สปสช.ก็จะจ่ายได้สูงสุด 20,000 บาท แต่ถ้าพบว่า โรงพยาบาลเอกชน ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่า คนไข้อาการเจ็บป่วยวิกฤติฉุกเฉิน คือ เข้าข่ายสิทธิ UCEP การที่จะไปเรียกเก็บเพิ่มจากคนไข้ ในส่วนที่เบิกไม่ได้ อันนี้โรงพยาบาลจะทำไม่ได้ ก็คือ จะเรียกเก็บค่ารักษาได้ตามที่ตกลงไว้กับ สปสช.กรณีที่คนไข้ หรือญาติ ถูกเรียกเก็บเพิ่ม ต้องขอให้ร้องเรียนมายัง สปสช.ได้เลย โรงพยาบาลนั้นๆ จะถูกสอบสวน ถ้าผิดจริง มีโทษถึงยึดใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลเลยทีเดียว
สรุปว่า เป็นประเด็นที่ต้องระวัง และศึกษาข้อมูล รายละเอียดไว้ด้วย เพราะโรคภัยไข้เจ็บ เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ต้องรู้ อย่างที่ สปสช. ระบุว่า 3 อาการเข้าข่ายวิกฤติฉุกเฉิน จำไว้หลักๆ มี 3 อย่าง คือ อาการทางสมอง, หัวใจ และทางเดินหายใจ ต้องเป็นอาการที่หนัก และอันตรายถึงชีวิต ต้องได้รับการรักษาทันที

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0