โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โฆษก "เพื่อชาติ" มองปม "แรมโบ้อีสาน" รอดคดี ถามสังคม กระบวนการยุติธรรมได้มาตรฐานอยู่ตรงไหน?

มติชนสุดสัปดาห์

อัพเดต 26 มิ.ย. 2562 เวลา 03.49 น. • เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2562 เวลา 03.49 น.
S__67510337

วันที่ 26 มิถุนายน 2562 นางสาวเกศปรียา แก้วแสนเมืองโฆษกพรรคเพื่อชาติ เปิดเผยกรณี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ฉายาแรมโบ้อีสาน รอดพ้นคดีล้มการประชุมผู้นำอาเซียน เมื่อปี 2552 เนื่องจากคดีหมดอายุความ เพราะอัยการนำตัว ผู้ต้องหาส่งฟ้องศาลไม่ทัน เนื่องจากตำรวจไม่นำตัวมาส่งให้ ซึ่งข้อกล่าวอ้างนี้ไม่มีน้ำหนัก เพราะนายสุภรณ์จัดเป็นบุคคลสาธารณะเนื่องจากลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฏร และขึ้นเวทีหาเสียงและให้สัมภาษณ์สื่อเป็นประจำ ช่วงเดือน ธันวาคม 2561 – มีนาคม 2562 ถ้าต้องการจะนำตัวมาฟ้องจริงทั้งอัยการและตำรวจพัทยาสามารถขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่ได้ เพราะการหาตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากเกินความสามารถเจ้าหน้าที่ โดยทั่วไปผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา ไม่ว่าตำรวจจะทำคดีตรงไปตรงมาหรือไม่ ทุกคนต้องการจะให้อัยการส่งฟ้องศาลไม่ทัน จนคดีหมดอายุความ แต่ในความเป็นจริงก็มีบางกรณี ที่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ทั้งที่ผู้ต้องหาร่วมถูกส่งฟ้องคดีทุกคน และผู้ต้องหาที่เจ้าหน้าที่หาไม่พบไม่สามารถนำตัวมาส่งฟ้องได้ แต่กลับพบเห็นได้ตามสื่อสาธารณะ ซึ่งสังคมไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า เกิดเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร

นางสาวเกศปรียา กล่าวว่า เป็นเวลาหนึ่งทศวรรษที่ประชาชนฝ่ายตรงข้ามเผด็จการอำนาจนิยม ไม่ได้รับความยุติธรรมจากการดำเนินคดีในหลายลักษณะ แต่อยู่ในสภาพต้องจำทน ซึ่งในอดีตตนยังเด็กไม่เคยเข้าใจเรื่องความยุติธรรมที่ไม่เท่าเทียม พอมาเจอกรณีนายสุภรณ์ ที่อัยการไม่สั่งฟัองด้วยเหตุผลไม่มาพบอัยการและตำรวจไม่นำตัวมาให้จนคดีหมดอายุความ ทั้งที่ทำกรรมเดียวกับแกนนำ นปช. ที่โดนฟ้องทุกคน ทำให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่ทันเหตุการณ์ความขัดแย้งทางความคิดทศวรรษที่ผ่านมานี้เข้าใจจากการตามหาประวัติศาสตร์ส่วนนี้เพิ่ม อีกทั้งคดีกรุงไทยของนายอุตตม ก็เช่นกัน ที่หลุดจากคดีทั้งที่นายอุตตมเป็นกรรมการนั่งประชุมอยู่และได้ลงรายมือชื่อเช่นเดียวกับกรรมการอีก 3 คนที่ทำกรรมเดียวกันซึ่งโดนฟ้องและรับโทษไปแล้ว มีเพียงนายอุตตมที่ ปปช. ไม่สั่งฟ้อง ก็ตอกย้ำเรื่องความยุติธรรมตั้งต้นที่ไมเท่าเทียม ส่งผลให้ประชาชนไทยได้รับความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมมาตลอด 10 ปี โดยเฉพาะ 5 ปีหลังปี 2557 เป็นต้นมา มีวาทกรรม “ทำตามกฎหมาย” ที่ถูกเสนอขึ้นมาจากทั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ แต่คำถามคือ กฎหมายของใคร ใครบังคับใช้ ใครตัดสิน ความแตกต่างระหว่างกระบวนการยุติธรรมตั้งต้นที่ได้รับถ้าเป็นฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้าน

ผู้ต้องหาทั้งสองกรณีที่ไม่ถูกกระบวนการยุติธรรมตั้งต้นสั่งฟ้องมีสิ่งที่เหมือนกันคือทั้งคู่เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ที่ทั้งประเทศรับรู้ว่าเป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความต้องการอยากสืบทอดอำนาจของพลเอกประยุทธ ทั้งสองกรณีนี้คือการยืนยันหรือใบเสร็จที่ชัดเจนให้สังคมโลกรับรู้ว่า “กระบวนการยุติธรรมไทยตั้งต้นสั่งได้ถ้าศิโรราบผู้มีอำนาจ หรือ ที่ในโลกโซเชียลเรียกกรณีนี้ว่า โปร แรง ย้ายค่าย เปลี่ยนผิดเป็นถูก” นี่คือปัญหาของประเทศที่ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา ได้เกิดการเลือกปฏิบัติเพื่อเล่นงานบางฝ่าย ทำให้กระบวนการยุติธรรมมีหลายมาตรฐาน ประชาชนจำนวนไม่น้อยหมดความเชื่อถือ และบางครั้งก็เกิดข้อสงสัยว่าทำไมกระบวนการยุติธรรมของไทยจึงเป็นเช่นนี้ และเราจะต้องจำยอมในความไม่ถูกต้องเช่นนี้ไปอีกนานเท่าใด เราต้องการส่งต่อสังคมที่ไม่มีมาตรฐานไปสู่คนรุ่นต่อไปใช่หรือไม่ ถึงเวลาหรือยังที่สังคมต้องร่วมมือแก้ไขกระบวนการยุติธรรมของประเทศให้ยึดโยงกับประชาชนอย่างแท้จริง ไม่เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สั่งได้ ดังเช่นประชาชนรับรู้อย่างทุกวันนี้

โฆษกพรรคเพื่อชาติกล่าวว่า “ตนยังพบข้อมูลว่ามี จำเลยหลายคนในคดีล้มประชุมอาเซียนถูกตัดสินจำคุกในศาลชั้นอุทธรณ์ ขณะนี้กำลังรอคำพิพากษาศาลฎีกา อย่างไรก็ตาม คดีนี้พบว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่พัทยาที่ทำคดี ได้นำตำรวจในพื้นที่พัทยามาเป็นพยานเท็จกล่าวหาตำรวจด้วยกันว่า มีส่วนล้มการประชุมอาเซียน ทั้งๆที่ในวันเวลาดังกล่าวตำรวจที่ถูกซัดทอดนั้นอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่ได้มาที่พัทยา ต่อมาตำรวจที่เป็นพยานเท็จได้ถูกดำเนินคดีและถูกลงโทษ นี่คือการใช้กระบวนการยุติธรรมกลั่นแกล้งผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง จัดเป็นความจริงอันเจ็บปวดของผู้ที่ไม่สนับสนุนเผด็จการอำนาจนิยมอย่างคนเสื้อแดง”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0