โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โควิด-19 ตัวเร่ง Digital Transformation

Businesstoday

เผยแพร่ 05 เม.ย. 2563 เวลา 09.33 น. • Businesstoday
โควิด-19 ตัวเร่ง Digital Transformation

หลายธุรกิจปรับตัวทำงานที่บ้านจากวิกฤติโควิด-19 (COVID-19) ใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยทำงาน

แต่คำถามคือ เมื่อหลังวิกฤติผ่านไป 6 เดือน ถึง 1 ปี จะทำอย่างไร เมื่อการใช้ระบบ Work from Home ช่วยทำงานเป็นเพียงแค่ช่วยอำนวยความสะดวก แต่ไม่ใช่การทำ Digital Transformation

-Work from Home ดันยอดคนสั่งแก๊สพุ่ง
-Cloud และ IoT ตัวช่วยธุรกิจ ในวิกฤติโควิด-19

ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล ผู้เขียนหนังสือ Digital Transformation in Action เปลี่ยนธุรกิจในยุคดิจิทัล Step-by-Step กล่าวว่า หลายประเทศที่เจอวิกฤติก่อนประเทศไทย จะบอกว่าโควิด-19 เป็นปัจจัยให้องค์กร ทำ Digital Transformation เร็วกว่าเดิม 3-5 ปี

“คนที่ไม่ปรับตัวรอเจ๊งได้เลย แต่ถ้าปรับตัวก็จะรอดจากวิกฤติรอบนี้ไปได้ ช่วงวิกฤติที่ผ่านมาหลายธุรกิจใช้แอปพลิเคชันดิจิทัลเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ในระยะยาวธุรกิจต้องเรียนรู้คำว่า Digitization คือ การเปลี่ยนจากอนาล็อกมาเป็นดิจิทัล แต่สเต็ปต่อไปจะต้องทำทุกอย่างเป็น Digitalization คือ มีวิถีชีวิตและการทำงานเป็นดิจิทัล"

หลังจากวิกฤติโควิด-19 หลายธุรกิจจะเกิดการปฏิรูป เช่น การค้าปลีก การท่องเที่ยว ห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain) จะไม่เหมือนเดิม ประเทศไทยจะไม่กระจุกตัวหรือพึ่งพิงแรงงานเหมือนเดิม แต่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือระบบอัตโนมัติ (Automation) เข้ามาดำเนินธุรกิจ

นอกจากนี้บริษัทจะต้องมี Business Continuity Plan (BCP) และ Business Continuity Management (BCM) เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง องค์กรที่มีระบบการรักษาความปลอดภัยสูง เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ หรือ บริษัทโทรคมนาคม มักมีแผนเหล่านี้อยู่แล้ว

ธุรกิจที่ไม่เคยเตรียมแผนแต่ปรับตัวได้ เพราะคนในองค์กรมีไหวพริบ ปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงหรือคาดการณ์ไม่ได้

"หลายธุรกิจประสบปัญหาแรงงานหนีกลับประเทศและตามกลับมาทำงานไม่ได้ ซึ่งเขาวางแผนจะนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยทำงาน ขณะที่การส่งสินค้ากลายเป็น New Normal ไปแล้ว"

ปรับธุรกิจใหม่หลังรอดจากวิกฤติ

ธนพงศ์พรรณ กล่าวต่อว่า ธุรกิจจะรอดหลังจากวิกฤติ ต้องคิดเรื่อง Digital Transformation เพื่อสร้าง New Growth ให้กับธุรกิจใหม่ เช่น ทำระบบสมาชิก (Subscrition) และ การปรับต้นทุนเพื่อ Lean องค์กร ลดตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็น จากนั้นจะเริ่มนำดิจิทัลเข้ามาหารายได้ให้บริษัท เช่น การศึกษาทางไกล หรือ การแพทย์ทางไกล

สร้าง New Efficiency คือ ความสามารถใหม่ ๆ เช่น ธุรกิจที่เคยส่งแต่เอกสาร จะเพิ่มการส่งอาหารด้วย บริษัทโลจิสติกส์ที่มีเมสเซนเจอร์ (Messenger) จำนวนมากจะเข้ามาแข่งกับฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าใหญ่ได้ หรือร้านอาหารที่มีพนักงานเสิร์ฟจำนวนมากสามารถเปลี่ยนเป็นคนส่งสินค้าได้โดยไม่ต้องพึ่งฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เก็บค่า GP เป็นมูลค่าสูง

"คู่แข่งเราจะไม่ใช่คู่แข่งแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา แต่จะมาจากหลากหลายธุรกิจ ในอนาคตจะเกิดคำว่า New Business Normal จะเกิดธุรกิจใหม่มากมายไปหมด ขณะที่ไมโครกับนาโนอินฟลูเอนเซอร์จะเกิดขึ้นมากมาย เซเลบริตี้ที่มียอดคนตามเป็นหลักล้านจะไม่มีความหมาย"

อี-คอมเมิร์ซ จะ Localize มากขึ้น

ธนพงศ์พรรณ กล่าวต่อว่า ในสมัยก่อนเรามีแต่ห้างสรรพสินค้า (Hypermarket) จากนั้นมีซูเปอร์มาร์เก็ต ก่อนจะเป็นร้านสะดวกซื้อ อี-คอมเมิร์ซกำลังจะเป็นรูปแบบเดียวกัน

ปัจจุบันเจ้าใหญ่คือ Shopee Lazada และ JD แต่เมื่อใครก็อยู่ในโลกออนไลน์ หลายร้านค้าจะเริ่มทำแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา เช่นมี Facebook Instagram Line ของตัวเองเพื่อรับออเดอร์ แต่ยังมีสินค้าตัวเองอยู่บนอี-คอมเมิร์ซเจ้าใหญ่เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จัก อีกส่วนจะเป็น แบรนด์.com คือ เป็นสินค้าที่หาได้จากเว็บไซต์นี้เท่านั้น

ะบบนิเวศการชำระเงิน จะเห็นผู้ให้บริการรายย่อยมากมายนอกจากธนาคาร หรือบริษัทโทรคมนาคม จะมีบริการกระเป๋าเงินต่าง ๆ เข้ามารับบริการชำระเงิน

การขนส่ง จะเห็นคนที่มีความสามารถทำโลจิสติกส์ในธุรกิจอื่นเข้ามาแข่งขันกับผู้เล่นรายหลัก จะเริ่มเห็น Local Logistic มากขึ้น การทําสต๊อกสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) กลุ่ม Localize จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในแต่ละพื้นที่ เข้ามาสู้กับผู้ให้บริการหลักในราคาที่ถูกกว่า

เกิดความร่วมมือกันมากขึ้นผ่านระบบ Cloud ทั้งการใช้ครัว สำนักงาน ทีมงาน เครื่องจักร หรือโกดัง เป็นระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) ทำให้ผู้บริโภคเล็ก ๆ เติบโตได้

เว็บ 3.0 จะเกิด โดยนำบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้มาทำธุรกรรมร่วมกัน 1-1 โดยไม่ต้องมีคนกลางทำให้ต้นทุนต่ำลง

"สุดท้าย Localize ชุมชนและประเทศชาติ จะอยู่ได้ด้วยตนเองตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ธนพงศ์พรรณ กล่าวสรุป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0