โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

โควิด ตัวเร่งสู่ดิจิทัล อาชีพต้องเปลี่ยน ธุรกิจต้องปรับรับ New Normal

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 27 พ.ค. 2563 เวลา 04.23 น. • เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 04.01 น. • Thansettakij

      ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีการใช้ชีวิตของคน แต่ได้กลายเป็นตัวเร่งการทรานส์ฟอร์มของธุรกิจและการทำงานในสาขาอาชีพต่างๆ ไปโดยปริยาย ซึ่งวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ยังได้เปลี่ยนแปลงการทำงานและธุรกิจ ทั้งในแง่ของการผลักดันให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับมีธุรกิจหรืออาชีพที่ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงและต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในช่วงหลังวิกฤติ โควิด-19 เพื่อรับยุค New Normal ที่จะเกิดขึ้นจากนี้

อาชีพต้องเปลี่ยนหลังดิจิทัล ดิสรัปต์
    ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย และอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า สำหรับอาชีพจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแน่นอนหลังจากวิกฤติ โควิด-19 ได้แก่ 1. ทักษะแพทย์ในยุคเฮลท์เทค ด้วยพฤติกรรม New Normal ของผู้คนที่เลือกใช้ชีวิตประจำวันที่บ้านมากขึ้น แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพต่อเนื่อง ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือระบบสุขภาพออนไลน์ อาทิ Telemedicine Telepharmacy 2. ทนายความในยุค e-Filing ระบบยื่นฟ้องและส่งคำคู่ความเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้สามารถยื่นฟ้องร้อง รวมถึงพิจารณาคดีความผ่านระบบ VDO Conference โดยไม่ต้องเดินทางไปขึ้นศาล 3. สถาปนิกยุค New Normal ต้องให้ความสำคัญกับเกณฑ์ออกแบบใหม่ เช่น ความหนาแน่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดโซนนิ่ง ฯลฯ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 4. วิศวกรไทยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมปรับตัว เรียนรู้ และบูรณาการความรู้สู่การประดิษฐ์นวัตกรรมสู้ โควิด-19 ตลอดจนรองรับโรคอุบัติใหม่อื่นๆ ในอนาคต

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สมาพันธ์ฯ ชี้ 4 อาชีพ เปลี่ยนแน่ หลังวิฤติโควิด   

ส่องวิถี New Normal ‘โควิด-19’ ตัวเร่งองค์กรสู่ดิจิทัล

สื่อใหญ่ลดลง ปรับตัวสู่ออนไลน์
    ด้าน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า จากวิกฤติที่เกิดขึ้นใน ขณะนี้ “สื่อและสื่อมวลชน” เป็นตัวกลางสำคัญที่จะช่วยส่งต่อข่าวสาร รวมไปถึงข้อมูลที่ประชาชนจำเป็นต้องรู้โดยสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 นี้ มีผลกระทบต่อการรายงานข่าวของสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะด้านรูปแบบ เทคนิค และวิธีการนำเสนอ เนื่องจากต้องมีทั้งข้อมูลเชิงลึกทางสถิติและองค์ความรู้ทางการแพทย์ที่ต้องรวดเร็ว ถูกต้องและเข้าใจได้ง่าย เน้นสร้างความเข้าใจมากกว่าความตระหนกให้สังคม จึงจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้เสพข่าวในยุค New Normal ทั้งนี้ โควิด-19 เป็นปัจจัยการปรับตัวครั้งสำคัญของสื่อซึ่งการเปลี่ยน แปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือสื่อขนาดใหญ่จะเหลือน้อยลง นายทุนจำเป็นต้องอาศัยโอกาสนี้ในการลดขนาดบริษัท ลดจำนวนพนักงานและหันมาทำสื่อออนไลน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ทุกคนจะได้เห็นสำนักข่าวออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่าที่ผ่านมา นอกจากนี้การนำเสนอข่าวในโซเชียลมีเดียจะกลายเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่จะกลายเป็นสื่อหลักในยุค New Normal

โควิด หนุนผู้บริโภคเปิดรับธนาคารดิจิทัล
    นายฤทธี ดัตตา ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียของ Backbase กล่าวว่า คนไทยเปิดรับเทคโนโลยีการชำระเงินและการยืนยันตัวตนผ่านดิจิทัล หรือการผนวกโซเชียลมีเดียเข้ากับธุรกรรมต่างๆ ที่เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ การแข่งขันจะมุ่งการเป็นผู้ให้บริการด้วยดิจิทัลเป็นหลัก (Digital-first) โดยความต้องการผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากวิกฤติ โควิด-19 และอาจกระทบรายได้กว่า 38% ของธนาคารรูปแบบเดิมในอีก 5 ปีข้างหน้า มีการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้งานเพื่อให้ข้อมูลกับลูกค้าได้ทันทีตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจการเงิน อีกทั้งผลสำรวจยังพบว่าคนส่วนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพร้อมที่จะใช้งานธนาคารดิจิทัล โดยลูกค้า กว่า 63% พร้อมเปลี่ยนไปใช้บริการของผู้ให้บริการทาง การเงินรูปแบบใหม่ๆ ในยุค New Normal

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,577 หน้า 16 วันที่ 24 - 27 พฤษภาคม 2563

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0