โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โควิดเจ็บแต่จบ จะจบเมื่อไหร่ จะตายอยู่แล้ว!

77kaoded

เผยแพร่ 30 มี.ค. 2563 เวลา 23.46 น. • 77 ข่าวเด็ด
โควิดเจ็บแต่จบ จะจบเมื่อไหร่ จะตายอยู่แล้ว!

อุบลราชธานี - นักวิชาการ แนะ! โควิดหยุดได้หากไทยยอมปิดประเทศ พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิตรวจหาเชื้อ ลดการแพร่กระจายต่อ

ธรรมรส รักธรรม ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยการพยากรณ์สถานการณ์โรคระบาดCOVID19เชิงข้อมูลผ่าน Ubon connect ว่า จากการศึกษางานวิจัยจำนวนมากพบว่า สิ่งที่ต้องนึกถึงโรคโควิดคืออัตราการแพร่กระจายของโรค ซึ่งมีอัตราแพร่สูงโดย 1 คนส ามารถแพร่ได้2.5 - 3  โดยความอันตรายของโควิดคือการแพร่เชื้อจะอยู่ในช่วงที่ผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการเพราะเมื่อเชื้อเข้ามาในร่างกายมนุษย์ต้องใช้เวลา 5 -7วันและจากวิจัยหลายแห่งพบว่าการจะแพร่เชื้ออยู่ในระยะ7 - 8 วัน

ในการจัดการหยุดกระจายเชื้อ ต้องเริ่มจากการลดการสัมผัสผู้ติดเชื้อ 2 ใน 3 หรือ 66% ยกตัวอย่างประเทศไทย ถ้าประชากรอย่างน้อย 44 ล้านคนอยู่บ้านการแพร่เชื้อจะหยุดลง เพราะประเทศไทยโชคดีสภาพอากาศค่อนข้างร้อนประจวบกับคนไทยไม่นิยมสัมผัสตัวกันอัตราการแพร่กระจายจึงน้อย

เฉพาะจากข้อสมมติฐานถ้ามาตรการทำให้คนตระหนักรู้เว้น ระยะห่างทางสังคมสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นการลดการแพร่เชื้อได้ แต่อย่างไรเสียประเทศไทยใช้มาตรการดังกล่าวมาแล้ว 2 เดือนพบความจริงว่ายอดผู้ติดเชื้อกับไม่ลดลงซึ่งทำให้เห็นว่าสิ่งคนไทยทำอยู่ยังไม่เพียงพอ ทั้งนี้เมื่อภาครัฐประกาศใช้ พรก. ฉุนเฉิน  ประชาชนตระหนักรู้ หันมาใส่ใจมากขึ้นถึง 60-70% ถ้าความตื่นตัวอยู่ในระดับนี้ประเทศไทยน่าจะสามารถจัดการกับเชื้อโควิดได้

ส่วนกรณีจังหวัดอุบลฯ ไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมาเป็นเวลา 3 วันแล้ว โดยส่วนตัวมีความคิดว่าเป็นสิ่งอันตราย เพราะมาตรการจัดการเชื้อของประเทศไทยยังเป็นแบบตั้งรับ ส่วนคนที่ตรวจเป็นคนที่มีอาการแล้วจึงมาตรวจ  แต่เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อสูง พบว่าในต่างประเทศการตรวจลักษณะแสดงอาการนับเป็นเพียงแค่ 5 % จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด

ซึ่งในความจริงเป็นโรคโควิดสามารถจัดการได้แต่ความยากคือหาวิธีจัดการ โดยมาตรการ social distancing หรือล็อกดาวน์ ไม่ใช่มาตรการจัดการระยะยาวแต่เป็นเพียงการรีเฟรชเพื่อเตรียมสู้ใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้มาตรการที่ภาครัฐกำลังใช้อยู่น่าจะต้องให้เวลา1 ปี กว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ เหตุผลเพราะเมื่อยอดผู้ติดเชื้อลดลงอย่างคงที่ประชาชนจะลดการตระหนักและหันกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ ทำให้ยอดผู้เชื้อจะกลับมาขึ้นลงตามวังวนเดิม

ด้านมาตรการจัดการไม่ให้มีการแพร่เชื้อแบบระยะเวลายาว แบ่งได้ 2 ประเภท 1) จัดการคนที่มีเชื้อ  2) จัดคนที่รับเชื้อ โดยวิธีการจัดการคนที่มีเชื้อคือตรวจหาคนที่ติดเชื้อโควิดเมื่อเจอคนติดเชื้อแล้วทำการกักตัวและรักษาลดอัตราการกระจายเชื้อต่อ ส่วนการจัดการคนที่รับเชื้อคือต้องส่งเสริมการกักตัวตนเองและสวมหน้ากากอนามัย การกักตัวในที่นี้คือการปิดประเทศ ปิดจังหวัด ปิดอำเภอ ร้ายแรงสุดถึงขั้นปิดบ้านประชาชน  ทั้งนี้มาตรการที่จะจัดการกับโรคระบาดโควิดและเป็นผลดีที่สุดต่อประเทศไทยคือ 1) ตรวจเข้มรายบุคคล 2) สุ่มตรวจกลุ่มชุมชน 3)สร้าง save zone เช่นหวัดแล้วอยู่บ้านกักกันตนเอง เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อและแพร่เชื้อต่ออย่างไม่รู้ตัว

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0