โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

แอมเนสตี้ชวนทั่วโลกส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ให้ยุติคดีชุมนุมหน้าสถานีตำรวจปทุมวันปี 2558

TODAY

อัพเดต 24 มิ.ย. 2562 เวลา 13.10 น. • เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2562 เวลา 13.10 น. • Workpoint News
แอมเนสตี้ชวนทั่วโลกส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ให้ยุติคดีชุมนุมหน้าสถานีตำรวจปทุมวันปี 2558

แอมเนสตี้ชวนสมาชิกทั่วโลกส่งจดหมายเรียกร้องไทยยุติการดำเนินคดี17คน ที่ถูกดำเนินคดีข้อหายุยงปลุกปั่น-ก่อความวุ่นวาย ตาม ม.116และ215จากการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันเมื่อวันที่ 24มิถุนายน 2558ระบุว่าทั้งหมดถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ

สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ออกปฏิบัติการด่วน เชิญชวนสมาชิก นักกิจกรรม และผู้สนับสนุนกว่า 7ล้านคนทั่วโลกร่วมกันส่งจดหมายถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องทางการไทยยุติการดำเนินคดีต่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งอดีตนิสิต-นักศึกษากลุ่มดาวดิน จำนวน 7คน กลุ่มประชาธิปไตยใหม่จำนวน 6คน และอดีตประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS)รวมทั้งหมด 17คน ซึ่งการรณรงค์นี้จะมีไปถึงวันที่5สิงหาคม 2562

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า ทางการไทยได้เริ่มปราบปรามครั้งใหม่ต่อผู้ประท้วงอย่างสงบ โดยการดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคล17คนรวมทั้งนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน จากเหตุการณ์ที่เข้าร่วมการประท้วงนอกสถานีตำรวจตำรวจนครบาลปทุมวัน เมื่อวันที่24มิถุนายน 2558การชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลทหารมีคำสั่งห้ามชุมนุม“ทางการเมือง” เกิน 5 คน

โดยแอมเนสตี้ระบุว่า "การดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านี้หลังผ่านเหตุการณ์ชุมนุมมาเกือบสี่ปี ดูเหมือนเป็นการตัดสินใจที่มีแรงจูงใจทางการเมืองเพื่อปิดปากฝ่ายที่รัฐบาลเห็นว่าอยู่ฝั่งตรงข้าม และต้องการสร้างบรรยากาศให้เกิดความหวาดกลัวในการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบในประเทศไทย"

แอมเนสตี้ยังระบุอีกว่าแม้รัฐบาลไทยจะยกเลิกคำสั่งที่จำกัดสิทธิอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนหลายประการ แต่ทางการยังคงใช้วิธีคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมข่มขู่ผู้วิจารณ์และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และเอาผิดทางอาญากับการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและเสรีภาพในการแสดงออก

"แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงเชิญชวนสมาชิก นักกิจกรรม ผู้สนับสนุน ตลอดจนผู้ที่สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนทั่วโลก เขียนจดหมายเรียกร้องถึงทางการไทยให้ยกเลิกการดำเนินคดีโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อบุคคลเหล่านี้และบุคคลอื่นๆ ซึ่งถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและเสรีภาพในการแสดงออก  เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ"

สามารถร่วมลงชื่อได้ที่นี่

หลังการชุมนุม 4 ปี การดำเนินคดีเริ่มขึ้นติด ๆ กันตั้งแต่ช่วงเมษายนที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 6เมษายน2562มีการดำเนินคดีกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) และผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2562ในข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา116และข้อหาชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10คนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215และช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้น หรือโดยการช่วยผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา189เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าให้รังสิมันต์ โรม ซึ่งเป็นนักกิจกรรมในเวลานั้น นั่งรถไปด้วยจากโรงพัก หลังการประท้วงในวันที่24มิถุนายน 2558

ต่อมาในวันที่ 22พฤษภาคม2562จึงมีการดำเนินคดีกับอดีตนักศึกษาและนักกิจกรรม13คนเพิ่มเติมตามมาตรา116และมาตรา 215โดยเป็นอดีตนักศึกษาในกลุ่มดาวดินเจ็ดคน ได้แก่วสันต์ เสดสิทธิ พายุ บุญโสภณ อภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ ศุภชัย ภูคลองพลอย ภาณุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ สุวิชา พิทังกร จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นอกนั้นอีกหกคนเป็นนักศึกษาในกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM)ได้แก่พรชัย ยวนยี ชลธิชา แจ้งเร็ว รังสิมันต์ โรม รัฐพล ศุภโสภณ อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์

ล่าสุดในวันที่11มิถุนายน2562ได้แจ้งข้อหากับนักกิจกรรมอีกสองคนคือปกรณ์ อารีกุล และวรวุฒิ บุตรมาตร รวมถึงสุไฮมี ดูละสะอดีตประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนเยาวชนปาตานี (PerMAS)ก็ถูกแจ้งข้อหาเดียวกัน ในวันที่ 15มิถุนายน2562

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0