โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"แรร์เอิร์ธ" แร่สำคัญในการผลิต iPhone ที่จีนขู่จะระงับการส่งออกให้สหรัฐฯ

Amarin TV

เผยแพร่ 20 พ.ค. 2562 เวลา 16.24 น.
จากกรณีที่ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ได้เดินทางไปเยี่ยมโรงงานผลิต แร่แรร์เอิร์ธ (Rare-earth) ที่มณฑลเจียงซี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตแร่ดังกล่าวที่สำคัญ

จากกรณีที่ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ได้เดินทางไปเยี่ยมโรงงานผลิต แร่แรร์เอิร์ธ (Rare-earth) ที่มณฑลเจียงซี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตแร่ดังกล่าวที่สำคัญของประเทศ และจีนยังเป็นผู้ผลิตในสัดส่วนถึง 90% ของทั้งโลก พร้อมทั้งส่งสัญญาณไปถึง ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เริ่มตัดสัมพันธ์ทางการค้ากับหัวเว่ย ด้วยการขู่ไม่ส่งแร่ผลิตชิปให้กับสหรัฐฯ (อ่านเพิ่มเติม : เปิดข้อพิพาท “แร่แรร์เอิร์ธ” เมื่อสหรัฐฯ เคยร้อง WTO กรณีจีนจำกัดการส่งออกแร่หายาก)

มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยแล้วว่า แร่แรร์เอิร์ธ (Rare-earth) ที่กำลังพูดถึงนี้คืออะไร และทำไมจึงสำคัญมากซะจน ผู้นำจีนกล้านำมาเป็นประเด็นต่อรองกับผู้นำสหรัฐฯ เอาเป็นว่าเราลองมาทำความเข้าใจกับเจ้าแร่ที่ตกเป็นประเด็นพิพาทระหว่างสองชาติยักษ์ใหญ่นี้

<strong>แร่หายาก ขนาดเมื่อเทียบกับเหรียญเพนนีของสหรัฐอเมริกา</strong>
แร่หายาก ขนาดเมื่อเทียบกับเหรียญเพนนีของสหรัฐอเมริกา

ตามที่ได้มีการกำหนดโดย สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry) หรือ ไอยูแพ็ก (IUPAC) ได้กำหนด ธาตุหายาก หรือ ธาตุแรร์เอิร์ท ได้ทั้งหมด 17 ธาตุซึ่งเป็นธาตุทุกธาตุในหมู่แลนทาไนด์และรวมกับสแกนเดียมและอิตเทรียม สแกนเดียมและอิตเทรียมเป็นโลหะเบาที่หายาก เนื่องจากพวกมันมีแนวโน้มว่าจะเกิดในสินแร่เหล็กเช่นเดียวกับธาตุในหมู่แลนทาไนด์และมีสมบัติทางเคมีคล้ายกัน

อย่างไรก็ตามธาตุหายาก มีความอุดมสมบูรณ์ของข้างในเปลือกโลกซึ่งมีซีเรียมเป็นธาตุที่มีมากที่สุดประมาณ 25 ส่วน ต่อ 68 ล้าน (เหมือนกับทองแดง) เพราะมีสมบัติทางเคมีธรณีของพวกมัน แร่ธาตุหายากอยู่ห่างกันมากและไม่กระจุกตัว ซึ่งทำให้บนพื้นโลกธาตุเหล่านี้จึงหายาก และด้วยความหายากนี้ทำให้ธาตุหายากมีราคาสูงและทำให้ขาดแคลนเป็นอย่างมาก แร่หายากชนิดแรกที่ค้นพบ คือ แร่แกโดลิไนต์ ซึ่งมีสารประกอบของซีเรียม อิตเทรียม เหล็ก ซิลิกอน และธาตุอื่นๆ แร่นี้นำมาจากเหมืองของหมู่บ้าน Ytterby ในประเทศสวีเดน ซึ่งภายหลังได้นำชื่อหมู่บ้านนี้ไปตั้งเป็นชื่อธาตุ “อิตเตอร์เบียม”

<strong>ออกไซด์หายาก ใช้สำหรับเป็นตัวติดตามในการตรวจสอบพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆถูกกัดเซาะ เรียงตามเข็มนาฬิกา: เพรซีโอดิเมียม ซีเรียม แลนทานัม นีโอดิเมียม ซาแมเรียม และ แกโดลิเนียม</strong>
ออกไซด์หายาก ใช้สำหรับเป็นตัวติดตามในการตรวจสอบพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆถูกกัดเซาะ เรียงตามเข็มนาฬิกา: เพรซีโอดิเมียม ซีเรียม แลนทานัม นีโอดิเมียม ซาแมเรียม และ แกโดลิเนียม

ในปัจจุบัน ธาตุหายากอย่าง Yttrium และEuropium นั้นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันการทำงานของ iPhone อย่างมาก เพราะมีการใช้ในแบตเตอรี่ของโทรศัพท์ รวมถึงช่วยให้แสดงสีของหน้าจอแสดงผลออกมาดูดี และทำให้โทรศัพท์สั่นจากการโทรเข้าหรือมีการแจ้งเตือนต่างๆ โดยทั้งสองธาตุนี้แม้จะเป็นส่วนน้อยในองค์ประกอบหลักของโทรศัพท์ แต่ก็ถือว่าหายากมากสำหรับการทำธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยการผลิตสินค้าเป็นปริมาณมาก

นับตั้งแต่ปี 1994 จนถึงปี 2017 จีนนับเป็นประเทศที่มีการผลิตาตุหายากเหล่านี้ได้ในประมาณมากที่สุดในโลก แต่ขณะเดียวกัน แคนาดาก็เป็นผู้ส่งออกอลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดไปให้สหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ ที่ผ่านมา Apple ก็มีการวางแผนที่จะยกเลิกการใช้ธาตุหายากเหล่านี้ในการผลิต iPhone รุ่นต่อไป โดยจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุรีไซเคิลแทน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0