โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"แม้ว" อ่านอะไร? พาไปดูขุมปัญญา เศรษฐกิจ-การเมือง อดีตนายกฯคนดัง

MATICHON ONLINE

อัพเดต 17 ม.ค. 2562 เวลา 17.50 น. • เผยแพร่ 17 ม.ค. 2562 เวลา 14.27 น.
38

ภายหลังจากที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้จัดรายการ Good Monday ผ่านเว็บไซต์ thaksinofficial.com เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยจะมีการเผยแพร่ทุกวันจันทร์ เพื่อสื่อสารจากต่างประเทศมายังประชาชนในประเทศไทยนั้น

ในภาพนายทักษิณ กำลังอัดรายการ ที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชน มีคนตาดี มองเห็น ไมค์โครโฟนที่นายทักษิณใช้บันทึกเสียงในการจัดรายการ Good Monday เป็นแบบ Large-Diaphragm สามารถใช้กับอุปกรณ์ประเภท iOS, Mac, PC และอุปกรณ์ประเภท Android ราคา 11,500 บาท รองรับงานบันทึกเสียงคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นงานบันทึกเสียงพูด เสียงร้อง งานบันทึกเสียงเครื่องดนตรี และงานผลิตวิดีโอ ที่ต้องการความคมชัดสูง

นอกจากนี้ เมื่อเหลือบดูด้านหลัง จะเห็นหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนมากตั้ง อยู่หลังอดีตนายกรัฐมนตรีสองสมัยผู้นี้

พาไปดูกันดีกว่า ว่าหนังสือเล่มดังเล่มไหน ที่เข้าไปอยู่ในห้องอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ และอดีตผู้นำรัฐบาลท่านนี้ สนใจที่จะอ่านหนังสืออะไร เท่าที่พอจะมองเห็น

1.หนังสือ Who Owns the World: The Hidden Facts Behind Landownership, เขียนโดย  Kevin Cahill  เป็นหนังสือเกี่ยวกับการถือครองที่ดิน มีเรื่องราวของ ที่ดิน Queen Elizabeth II ในดินแดนต่างๆทั่วโลก

2. Capital in the Twenty-First Century พิมพ์ขึ้นในปี 2013  เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Thomas Piketty เป็นหนังสือที่พูดถึง พัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่งคั่ง ความไม่เท่าเทียม  ที่เกิดขึ้นในยุโรป และสหรัฐฯนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18

3.False Economy: A Surprising Economic History of the World  เขียนโดย Alan Beattie เป็นหนังสือ อธิบายประวัติศาสตร์การพัฒนาทางเศรษฐกิจการเมืองที่เกิดขึ้นในโลก เบื้องหลังความล้มเหลว และประสบความสำเร็จในการพัฒนาทางการเมือง และเศรษฐกิจ

4. Myths and Realities: The Democratization of Thai Politics (Kyoto Area Studies on Asia) เขียนโดย Yoshifumi Tamada เป็นหนังสือเกี่ยวกับ การศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยในการเมืองไทย เขียนโดยนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ชาวญี่ปุ่น

5. Blockchain Revolution: How the Technology Behind Bitcoin and Other Cryptocurrencies Is Changing the World  เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี Blockchain ที่ส่งผลกระทบกับอนาคตทางเศรษฐกิจของโลก

6. Alibaba—The House That Jack Ma Built เขียนโดย  Duncan Clark หนังสือเกี่ยวกับแนวคิดและประวัติการก่อตั้งและพัฒนาของ Alibaba ยักษ์ใหญ่ด้าน E-Commerce จากจีน

7.หนังสือ พลิกแผ่นดิน ประวัติการเมืองไทย 24 มิถุนายน 2475 , 14 ตุลาคม 2516

8.ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) เขียนโดย ณัฐพล ใจจริง  นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง  โดยเฉพาะช่วงหลัง 2475

9.การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เขียนโดย นครินทร์ เมฆไตรรัตน์  อดีตนักวิชาการรัฐศาสตร์ มธ. (ปัจจุบันเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) เป็นหนังสือ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475

10. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (A HISTORY OF THAILAND)  เขียนโดย คริส เบเคอร์, ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ไทย ศึกษาพัฒนาการสังคมการเมืองไทยอย่างรอบด้าน

11. “ก็ไพร่นี่คะ”  เขียนโดย “คำ ผกา” เป็นหนังสือ รวบรวมบทความคัดสรรของ คำผกา ที่ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ที่สะท้อนมุมมองทางวัฒนธรรมและการเมือง

12. คนเมือง ประวัติศาสตร์ล้านนาสมัยใหม่ พ.ศ. 2317-2553 เขียนโดย ธเนศวร์ เจริญเมือง พิมพ์โดย  สถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่, 2554

13. กำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้เผด็จการ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก” กับนัยยะ “ซ่อนเร้น” ในยุค จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่งโดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

14. ลับ ลวง เลือด  เขียนโดย วาสนา นาน่วม  เป็นหนังสือ ว่าด้วย ข้อมูลในเหตุการณ์พฤษภา’53 เปิดเผยเรื่องราวทางการเมือง การปะทะ ระหว่างเสื้อแดงกับกองกำลังทหาร

15 “แผนชิงชาติไทย” ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2491-250 เขียนโดย  สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อดีตอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

นอกจากนี้ยังมีหนังสืออีกหลายเล่ม เช่น หนังสือ โทนี่ แบร์ ประวัติของ อดีตนายรัฐมนตรีอังกฤษ  หรือ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ “อเล็กซ์” ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นต้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0