โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แพทย์ ส่งสัญญาณ! พื้นที่เสี่ยง ย้ายจากกรุงเทพ ไปต่างจังหวัดแล้ว ระวังผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว

The Bangkok Insight

อัพเดต 28 มี.ค. 2563 เวลา 07.59 น. • เผยแพร่ 28 มี.ค. 2563 เวลา 07.59 น. • The Bangkok Insight
แพทย์ ส่งสัญญาณ! พื้นที่เสี่ยง ย้ายจากกรุงเทพ ไปต่างจังหวัดแล้ว ระวังผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว

แพทย์ ประกาศ! พื้นที่เสี่ยง ย้ายจากกรุงเทพไปต่างจังหวัดแล้ว ห่วงผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว เสี่ยงอาการรุนแรง หลังพบป่วยหนัก 17 ราย อยู่ภูมิภาคเกินครึ่ง ย้ำสังเกตอาการ คนกลับจากกทม.ให้ดี ระบุระยะฟักตัวเฉลี่ย 5-7 วัน ด้านกลุ่มสนามมวย-สถานบันเทิง ยังพบป่วยอีกต่อเนื่อง  

วันนี้ ( 28 มี.ค.) ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 109 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 1,245 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นรายที่ 6  กลับบ้านเพิ่ม 3 ราย รวมผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านแล้ว 100 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,139 ราย

ผู้ป่วยกลุ่มใหม่ แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 39 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 10 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 8 ราย และกลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 21 ราย

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 17 ราย ได้แก่ กลุ่มที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง เป็น คนไทย 6 ราย กลับมาจาก สหรัฐ อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และคนต่างชาติ 2 ราย จากยูเครน และโปรตุเกส

และมีกลุ่มผู้ทำงาน หรืออาศัยในสถานที่แออัด ต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก หรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 7 ราย ทำงานร้านนวด สปา พนักงานต้อนรับ ทำงานในร้านอาหาร เป็นเชฟ ร้านขายเครื่องประดับ และบุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย รวมเมื่อวาน 9 ราย เป็นติดเชื้อ 11 ราย

กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ได้รับผลยืนยัน ทางห้องปฏิบัติการ พบเชื้อ แต่อยู่ระหว่างรอประวัติ และสอบสวนโรค 53 ราย กระจายในจังหวัด เชียงราย นนทบุรี  ปทุมธานี สมุมทรสาคร มุกดาหาร ภูเก็ต ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และกทม.

สำหรับผู้ป่วยที่เสียชีวิต 1 ราย เป็นหญิง อายุ 55 ปี มีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี และไขมันในเลือดสูง เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ด้วยอาการหอบเหนื่อย ตรวจพบปอดอักเสบรุนแรง ต่อมาต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ส่วนผู้ป่วยอาการหนัก 17 ราย มีอาการปอดอักเสบ ใส่เครื่องช่วยหายใจ และเฝ้าระวังอาการใกล้ชิด ในจำนวนนี้ 1 รายใช้เครื่อง ECMO อาการอยู่ในภาวะวิกฤต  รับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ กลาโหม และกทม. จำนวน 12 ราย ส่วนอีก 5 รายอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ มีอายุระหว่าง 31-76 ปี และมีประวัติเสี่ยงทำงานที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว อาทิ ขับรถบริการ พนักงานร้านนวด และไปสนามมวย

จากการประมวลข้อมูลผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยอายุน้อยที่สุด  6 เดือน มากที่สุด 84 ปี หรืออายุเฉลี่ย 40 ปี ระยะแรกของการเจอดคลัสเตอร์สนามมวย และสถานบันเทิง พบผู้ป่วยอายุน้อย ช่วงอายุ 20-29 ปี 30-39 ปี และ 40-49  ปี แต่ระยะหลัง เราพบผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 19 ปีก็มี และสูงกว่า 60 ปีก็มี และพบผู้ป่วยชายมากกว่าหญิง 

สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ ที่พบนอกจากจะเป็นกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในสถานบันเทิง สนามมวย ที่มีรายงานผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังพบเป็นผู้ป่วยที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ผู้มีอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด ใกล้ชิดสัมผัสกับชาวต่างชาติ แสดงให้เห็นว่าประชาชนบางส่วน ยังไม่งดการเดินทาง และยังมีการป้องกันตัวเอง ไม่ดีพอในขณะทำงาน จึงขอย้ำเตือนให้ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)

"เราพบว่า ผู้ป่วยรายใหม่ ยังเป็นกลุ่ม สนามมวย และสถาบันบันเทิง ที่กลับมามีรายงานอีก แปลว่า 2 เหตุการณ์นี้ยังไม่จบ โดยเฉพาะสนามมวย เพราะ มี  5 รายการมวยใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ตามมาด้วยรายการที่ สนามมวยลุมพินี และราชดำเนิน 6 และ 15 มีนาคม ทุกสนามปิดเมื่อ 22 มีนาคม วันนี้จึงยังพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ " 

นพ.อนุพงศ์ ย้ำว่า จากการเฝ้าดูหลังกทม.ประกาศปิดหลายสถานที่ จากนั้นมีผู้คนเดินทางออกต่างจังหวัดนับแสนคน หลังจากนี้เราจะเห็นผู้ป่วยในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น จากการเก็บข้อมูลช่วง 12-18 มีนาคม ผู้ป่วยกระจายออกไปในภูมิภาค 57 จังหวัดแล้ว ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 1,245 ราย อยู่ในกทม. 515 ราย พบกระจายอยู่ในภูมิภาค ปริมณฑลของกทม.พบถึง 68 ราย ภูเก็ต 41 ราย จังหวัดทางชายแดนใต้ ก็มีตัวเลขผู้ป่วยสูง สงขา 22 ราย เพิ่ม 2 ปัตตานี้ 34 ราย เพิ่ม 5 ราย นราธิวาส 8 ราย ยะลา 29 ราย เพิ่ม 3 ราย

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ย้ำว่า สิ่งที่เรากังวล และต้องการให้ประชาชนรับทราบ คือ ตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต หากเทียบภาพรวมทั่วโลกป่วย 100 คน  80 คน จะอาการน้อยถึงน้อยมาก แทบเรียกว่าไม่ป่วยเป็นโควิด แต่จะมีสัดส่วน 5% เสียชีวิต สำหรับผู้ป่วยเสียชีวิตในไทย 6 ราย จากผู้ป่วย 1,245 คิดเป็น 0.5 % ถือว่าต่ำเมื่อเทียบ กับประเทศอื่น

หากเรามาโฟกัสอายุ ผู้เสียชีวิต 2 ราย อายุเกิน 70 ปี ส่วนผู้ป่วยอาการรุนแรง 17 ราย อายุเกิน 60 ครึ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเรื้อรังตามวัย ที่พบบ่อย คือ เป็นความดัน เบาหวาน ไต บางคนรักษามะเร็งอยู่ด้วย ซึ่งมักจะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติ กลุ่มเหล่านี้จำเป็นต้องระวังการติดเชื้อเป็นพิเศษ เพราะเมื่อติดเชื้อ จะมีโอกาป่วยรุนแรงมากกว่าคนไม่มีโรคประจำตัว

จึงเป็นที่มาของการรณรงค์ปกป้องไม่ให้ผู้สูงอายุติดเชื้อ เพราะเป็นกลุ่มเปราะบาง และเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นหากใครมีญาติผู้ใหญ่ในบ้าน ต้องระวังไม่ให้ได้รับเชื้อ ซึ่งคนพาเชื้อเข้าบ้าน มักเป็นคนอายุน้อยในบ้านนั่นเอง

"จึงแนะนำมาตลอด ให้คนกลับจากกทม.และปริมณฑล ที่พากันกลับบ้านเป็นแสนคนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แยกตัว เมื่อเดินทางไปถึงภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ลดโอกาสถ่ายทอดเชื้อไปให้คนที่บ้านในต่างจังหวัด"

*" ตอนนี้ความเสี่ยงอยู่ที่ต่างจัหวัด โดยใน 17 รายที่ป่วยหนัก อยู่กรุงเทพไม่ถึงครึ่งแล้ว ผู้ป่วยในต่างจังหวัดกำลังเพิ่มขึ้น จึงขอให้จับตาดู คนมีอาการไข้ และทางเดินหายใจ หลังกลับจากกรุงเทพ หรือจังหวัดใหญ่ๆ หากเจอต้องก็รีบแจ้ง กักตัว โดยปกติจะมีอาการหลังรับเชื้อ  2 วัน หรือโดยเฉลี่ย 5-7 วัน อาทิตย์แรก อาการจะน้อย อาทิตย์ต่อมา อาการจะหนักขึ้น " *

อย่างไรก็ตามเห็นว่า การดำเนินงานในภูมิภาค ทำได้ดีกว่าในหลายเรื่อง เป็นเพราะประชาชนให้ความร่วมมือ และชุมชนรู้จักกันดี เป็นสังคมชนบทที่ห่วงใยกัน  หลายคนก็แยกตัว 14 วันอย่างเข้มงวด ไม่สัมผัสคนในพื้นที่ การแพร่เชื้อก็น่าจะน้อย เราก็อยากเห็นตัวอย่างแบบนี้ในทุกๆที่ รวมไปถึงจังหวัดที่ยังไม่พบผู้ป่วยด้วย

นพ.โสภณ บอกอีกว่า ไทยมีมาตรการดีกว่าในหลายประเทศ และเราจะพยายามทำให้ดีที่สุด เพื่อลดการป่วย และเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ขอย้ำว่า โรคนี้ติดโดยทางเดินหายใจ ซึ่งป้องกันยากมาก เมื่อเทียบกับโรคที่ติดโดยอาหาร น้ำ และเพศสมพันธ์ แต่ความพยายามของทีมแพทย์ของเราช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ป้องกันคนป่วยได้จำนวนมาก

หากไม่ทำอะไรเลย ยืนยันว่า จะมีผู้ป่วยมากกว่านี้  อาจสูงกว่าประเทศที่กำลังมีผู้ป่วยล้ำหน้าไปไกลแล้ว จึงอยากให้มั่นใจว่าเราดำเนินมาตรการทุกอย่างทางวิทยาศาสตร์ และถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อปกป้องคนไทย แต่จะทำได้ดีกว่านี้ หากได้รับความร่วมมือจากประชาชน

" ผมยืนยันว่า ไม่เคยเห็นการระบาดใหญ่ที่ทุกคนช่วยกันเต็มที่เท่านี้ เราเว้นระยะห่าง และปฏิบัติตัวเอง  และช่วยกันกระตุ้นคืนอื่นด้วย นำมาซึ่งคนป่วยไม่มาก ขณะเดียวกัน ทุกคนที่ป่วยก็ได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน หากได้รับความมือไปตลอด จะเดือนเมษายน หรือปลายปี ก็ตาม เราจะเสียหายน้อยที่สุด "  

นพ.อนุพงศ์ ย้ำอีกรอบว่า ตอนเรามีตัวเลขผู้ป่วยสูงสุด 188  คน หรือเพิ่มขึ้น 33% ก็มีการประเมินว่า หากเราไม่ทำอะไรเลย ประเมินว่าเราจะมียอดผู้ป่วยไปถึง 3,500 คนในเดือนเมษายน และจะเป็นเหมือนอิตาลี และอิหร่านแน่นอน  แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงหลังมีพรก.ฉุกเฉิน เราได้ทำอะไรไปมากพอสมควร  ขอให้ทุกคนร่วมมือกัน หยุดอยู่บ้านเพื่อชาติ จะทำให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0