โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

แพทย์แนะวิธีการดูแลหัวใจให้แข็งแรง อันตรายหากพบเจ็บแน่นหน้าอก

NATIONTV

อัพเดต 15 ต.ค. 2562 เวลา 04.03 น. • เผยแพร่ 14 ต.ค. 2562 เวลา 23.06 น. • Nation TV
แพทย์แนะวิธีการดูแลหัวใจให้แข็งแรง อันตรายหากพบเจ็บแน่นหน้าอก
แพทย์แนะวิธีการดูแลหัวใจให้แข็งแรง อันตรายหากพบเจ็บแน่นหน้าอก

สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เผยคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน แนะวิธีการดูแลหัวใจให้แข็งแรง และหากมีอาการบ่งชี้ จุกแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ และปวดร้าวไปที่หัวไหล่ซ้ายหรือไปที่กรามนานกว่า 3 - 5 นาที อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจให้รีบไปพบแพทย์ทันที

จากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน 

ทั้งนี้ในระหว่างปี 2548 - 2552 อัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยพบประมาณปีละ 37,000 ราย คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจ ต้องนอนโรงพยาบาล วันละ 1,185 ราย 

โดยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิต ชั่วโมงละ 2 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยจะมีอัตราตายสูงกว่าในต่างประเทศประมาณ 4 - 6 เท่า 

สะท้อนให้เห็นว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคที่รุนแรงและต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน การหันมาดูแลตัวเองใส่ใจสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง เพื่อหัวใจของเราและมอบกำลังใจแก่คนรอบข้างในทุกกลุ่มอายุ

อาการที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ มักเหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลาทำงาน จุกแน่นหน้าอก จะมีอาการจุกบริเวณยอดอกตรงกลางมักเป็นในขณะออกกำลังกาย หลังจากหยุดออกกำลังกายอาการจะดีขึ้น มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ และอาการเจ็บนี้ จะปวดร้าวไปทั่วหัวไหลซ้ายหรือไปที่กราม ถ้าอาการเจ็บหน้าอกนั้นเป็นนานเกินกว่า 3 - 5 นาที พักแล้วไม่ทุเลา หรืออาการเจ็บรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ ทันทีเพีอทำการตรวจวินิจฉัยหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ 

สามารถรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนพร้อมใส่ขดลวดค้ำยัน และการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและการวินิจฉัยของอายุรแพทย์หัวใจ

สำหรับแนวทางการดูแลหัวใจของเราให้แข็งแรงควรปฏิบัติดังนี้ 

1. ดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง 

2. ควบคุมน้ำตาลในเลือด 

3. ควบคุมความดันโลหิต 

4.ควบคุมไขมันในเลือด 

5. งดสบบูหรี่ 

6.พักผ่อนให้เพียงพอ 

7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน 

8. เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกาย เช่น ผัก และผลไม้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0