โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

แบงค์ชาติหนุนฟินเทค เป็นนโยบายหลักขับเคลื่อนประเทศ

Money2Know

เผยแพร่ 18 ก.ค. 2562 เวลา 03.58 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
แบงค์ชาติหนุนฟินเทค เป็นนโยบายหลักขับเคลื่อนประเทศ

"ผู้ว่าแบงค์ชาติ" มอง เทคโนโลยีทางการเงิน(Fintech) จะเป็นนโยบายหลักของแบงค์ชาติ เตรียมสร้างโครงสร้างและมาตรฐานทางการเงินให้โอนเงินได้อย่างอิสระ พร้อมทำให้ผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาดการเงิน-การธนาคารง่ายขึ้น เพื่อให้เกิดนโยบายใหม่ๆ และสร้างความร่วมมือระหว่างธนาคารและบริษัทด้านเทคโนโลยี

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน Bangkok FinTech Fair 2019 ที่ อาคารศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย  พร้อมนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เพื่อสร้างความร่วมมือและนวัตกรรมใหม่ๆในการรับชำระเงิน จะได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคธนาคาร

ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า เป็นเวลากว่า 1 ปี ที่ได้มีการจัดงาน Bangkok Fintech Fair โดยงานครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2018 ปัจจุบันเราได้มีการดำเนินการเพื่อให้การชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล ง่ายขึ้น โดยที่ผ่านมาเทคโนโลยีทางการเงิน(Fintech) จะทำให้เกิด 3 สิ่งหลัก คือการสร้างประสิทธิภาพทางการเงิน การเข้าถึงระบบการเงิน และเสถียรภาพในระบบการเงิน

ปัจจุบันมีบัญชีกว่า 50 ล้านบัญชีที่เชื่อมโยงกับบัญชีพร้อมเพย์ และมีการโอนเงินผ่านระบบดิจิทัลต่อวันเฉลี่ยถึง 6 ล้านครั้ง/วัน  ซึ่งที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการพัฒนาสกุลเงินดิจิตอลสำหรับธนาคาร ในชื่อโครงการ "อินทนนท์" และมีการสร้างกฎหมายต่างๆเพื่อรองรับการชำระเงินผ่านระบบดิจิตอล เพลงสร้างวัฏจักรการชำระเงินผ่านโลกดิจิทัลการสร้างโครงสร้างต่างๆให้รองรับการชำระเงินผ่านดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน เพราะ เทคโนโลยีทำให้เงินสามารถที่จะโอนเงินได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นทั้งในและนอกประเทศ แล้วจะทำให้ระบบการเงินการธนาคารของเราพัฒนาเพิ่มขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง Fintech จึงเป็นนโยบายสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย

ประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องสร้าง มูลค่าให้กับระบบทางการเงินด้วยเทคโนโลยีเพราะเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในโลกระบบเศรษฐกิจไทยถือว่ามีขนาดเล็กและถ้าหากระบบเศรษฐกิจไทยมีมูลค่าที่ต่ำก็จะไม่สามารถทำให้เกิดเสถียรภาพได้ หนึ่งสิ่งที่จะทำให้ระบบทางการเงินของไทยมีมูลค่าคือการทำให้ระบบการเงินการธนาคารของสถาบันทางการเงินต่างๆเชื่อมต่อกันได้อย่างอิสระและไร้พรมแดน โดยการที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ก็จำเป็นที่จะต้องมี การสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางที่จะเปิดให้ผู้เล่นใหม่ๆเข้ามายังตลาดการเงินได้ง่ายมากขึ้น และจะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งใจจะให้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆเพื่อสร้างมูลค่าให้กับระบบการเงินการธนาคารของไทยประกอบด้วย 4 ประการ คือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบการเงิน , เชื่อมโยงระบบต่างๆเข้าด้วยกัน , การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมในการใช้และให้บริการ และ การทำให้กฏระเบียบต่างๆมีความเหมาะสม

สำหรับ "การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน" ประเทศไทยมีการสร้างระบบการเงินโดยธนาคารเพียงไม่กี่ธนาคารและมีมาตรฐานแตกต่างกันซึ่งหากมองในภาพรวมระดับโลกสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่ากังวล และธนาคารแห่งชาติ ตระหนักว่าถึงเวลาแล้วที่ จะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นใหม่เข้ามาสู่ตลาดการเงินและเมื่อมีผู้เล่นใหม่ก็จะทำให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเติมเต็มให้กับผู้ใช้บริการ

ขณะที่"การเชื่อมโยงระบบต่างๆเข้าด้วยกัน" ที่ผ่านมา ธนาคารต่างๆก็มีระบบเป็นของตนเองและมีมาตรฐานเป็นของตนเองซึ่งสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการ คือ การสร้างมาตรฐานเพื่อให้ระบบต่างๆของธนาคารนั้นสามารถที่จะสื่อสารกันได้และทำให้ระบบการเงิน-การธนาคารเป็นไปอย่างราบรื่น และจะถูกขยายไปสู่การชำระเงินและระดับอาเซียนด้วย QR Code

หนึ่งในสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องสร้าง คือ "แรงจูงใจที่เหมาะสมในการใช้และให้บริการ" ทั้งในฝั่งของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการไม่ว่าจะเป็นการทำให้ระบบจ่ายเงินผ่านระบบดิจิตอลมีเสถียรภาพใช้งานได้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นแต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีความหมายเลยหาก ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้บริการได้ ขณะเดียวกันในด้านของผู้ให้บริการเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องสร้างแรงจูงใจในการให้บริการเช่นการลดกฎเกณฑ์บางอย่างลง

ซึ่งเมื่อลดกฏเกณฑ์ต่างๆลง "กฏระเบียบก็จำเป็นต้องมีความเหมาะสม" ต้องไม่หย่อนเกินไปจนเกินความเสี่ยงต่อระบบ แต่ก็ต้องไม่รัดกุมเกินไป ต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะเท่าทันต่อโลก เช่น เปลี่ยนการสร้างกฏให้แต่ละองค์กรในอดีต ก็เปลี่ยนเป็นกฏที่ดูการกระทำของธุรกิจ ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องทำให้ธนาคารสถาบันทางการเงินเป็นตัวและขยับให้ทันต่อสถานการณ์ด้วย เพราะเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็วจะทำให้ธนาคารต้องก้าวไปเร็วกว่าเทคโนโลยี การสร้างความมั่นคงให้กับระบบการเงิน

ดร.วิรไท สันติประภพ กล่าวทิ้งท้ายว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย มีความตั้งใจที่จะให้ธนาคารสร้างพันธมิตรที่ดีกับบริษัทด้านเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางระบบการเงินการธนาคารใหม่ๆ ที่จะทำให้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นที่มาของหัวข้อในปีนี้นั่นคือ"การร่วมมือกันเพื่ออนาคตของระบบการเงิน-การธนาคาร" ซึ่งภายในงานมีการจัดบูธและการร่วมเสวนาในหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Fintech

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0