โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

แบงก์ลุยดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม ดัน "บิ๊กดาต้า" ทะลุหมื่นล้าน

ประชาชาติธุรกิจ

เผยแพร่ 22 ก.ย 2561 เวลา 14.00 น.
ดิจิทัล , ทรานส์ฟอร์ม , บิ๊กดาต้า , นโยบาย
depa จับมือ IDC เผยสำรวจอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าไทยแตะ 11,839 ล้านบาท คาดปีนี้โต 13.7% ปี”62 โต 16.4% ทะลุ 1.5 หมื่นล้านบาท อานิสงส์กลุ่มสถาบันการเงิน-ประกันลุยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ดันยอดงานเซอร์วิสเพิ่มสูง

น.ส.กษมา กองสมัคร ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เปิดเผยว่า ร่วมกับบริษัท ไอดีซี รีเสิร์ช (ไทยแลนด์) สำรวจอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าไทยครั้งแรก พบว่า ปี 2560 มีมูลค่า 11,839 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะโต 13.7% อยู่ที่ 13,642 ล้านบาท และอยู่ที่ 15,671 ล้านบาทโต 16.4% ในปี 2562

โดยพบว่าเป็นมูลค่าจากงานเซอร์วิสสูงที่สุด 6,462 ล้านบาท ตามด้วยซอฟต์แวร์ 3,866 ล้านบาท และฮาร์ดแวร์ 1,511 ล้านบาท สะท้อนถึงความต้องการพึ่งพาความรู้เฉพาะทางและทักษะชั้นสูงในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งมีแนวโน้มจะใช้งานที่ซับซ้อนมากขึ้น

เมื่อเจาะลึกลงไปพบว่า ในด้านเซอร์วิสนั้นเกิดจากงานบริการไอทีถึง 6,462 ล้านบาท อีก 549 ล้านบาท เป็นบริการด้านธุรกิจ ขณะที่งานด้านซอฟต์แวร์เกิดจากการพัฒนาเครื่องมือและแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ 1,620 ล้านบาท แพลตฟอร์มในการบริหารจัดการและควบรวมดาต้าสำหรับการวิเคราะห์ 1,579 ล้านบาท แอปพลิเคชั่นและบริหารจัดการผลการปฏิบัติงาน 667 ล้านบาท ส่วนงานด้านฮาร์ดแวร์เกิดจากการลงทุนระบบเซิร์ฟเวอร์ 878 ล้านบาท ระบบสตอเรจ 633 ล้านบาท

โดยสถาบันการเงินและประกันมีการใช้งานและการลงทุนในบิ๊กดาต้าสูงสุด ราว 4,032.5 ล้านบาท รองลงไปคือ กลุ่มสื่อสารและขนส่ง 2,406.5 ล้านบาท การผลิตและการก่อสร้าง และทรัพยากรธรรมชาติ 1,877.8 ล้านบาท ขายส่ง-ขายปลีก 1,469.7 ล้านบาท การศึกษาและภาครัฐ 1,190.8 ล้านบาท ธุรกิจบริการและสาธารณูปโภค 510.7 ล้านบาท บริการสุขภาพ 351.6 ล้านบาท

ส่วนปี 2560-2562 กลุ่มการเงินและการประกันภัย ยังเติบโตสูงกว่า 18.3% ขณะที่กลุ่มอื่นก็โตมากกว่า 9.7%

ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนคือการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ปริมาณข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการใช้งานการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และเชิงแนะนำที่สำคัญกับภาคธุรกิจมากขึ้น แต่มีปัจจัยหน่วงคือ ความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมการใช้งาน ความพร้อมของข้อมูล และการขาดแคลนบุคลากร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0