โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

แบคทีเรียโปรไบโอติกมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่?

issue247.com

อัพเดต 24 ก.ย 2561 เวลา 05.50 น. • เผยแพร่ 22 ก.ย 2561 เวลา 00.00 น.

การศึกษาครั้งใหม่จากแคนาดากล่าวว่ามีแบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อเต้านมของผู้หญิงและเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ กลุ่มนักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีก้อนเนื้อในเต้านมจะมีแบคทีเรียหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่มีก้อนเนื้อในเต้านม แม้ว่าแบคทีเรียจะมีอยู่มากมายในร่างกายส่วนต่างๆของผู้หญิง เช่น ปาก ลำไส้ และช่องคลอดแต่ก็สามารถพบได้เล็กน้อยในเนื้อเยื่อเต้านม กลุ่มนักวิจัยต้องการดูว่าแบคทีเรียเหล่านี้แตกต่างกันหรือไม่โดยการสังเกตตัวอย่างเนื้อเยื่อเต้านมของผู้หญิง 13 คนที่มีภาวะเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงและผู้หญิง 45 คนที่มีเนื้องอกมะเร็ง ขณะที่ผู้หญิงอีก 23 คนไม่มีก้อนเนื้อในเต้านม ผู้หญิงทั้งหมดในการศึกษานี้ได้วางแผนที่จะเข้ารับการผ่าตัดเต้านมเรียบร้อยแล้ว ทั้งเพื่อกำจัดเนื้องอกและเพื่อเสริมหรือลดขนาดหน้าอก

กลุ่มนักวิจัยได้วิเคราะห์ดีเอ็นเอจากตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อหาว่ามีแบคทีเรียชนิดใดอาศัยอยู่ ส่วนผู้หญิงที่มีก้อนเนื้อในเต้านมกลุ่มนักวิจัยจะใช้เนื้อเยื่อในส่วนที่ไม่มีก้อนเนื้อนำมาวิเคราะห์แทน จากการวิจัยพบว่ามีแบคทีเรียหลายชนิดในร่างกายของผู้หญิงที่มีก้อนเนื้อในเต้านมได้แก่ Enterobacteriaceae, Staphylococcus และ Bacillus ซึ่งมากกว่าผู้หญิงที่ไม่มีก้อนเนื้อในเต้านมและเป็นไปได้ว่าแบคทีเรียเหล่านี้อาจพัฒนาจนกลายเป็นมะเร็ง

นอกจากนี้กลุ่มนักวิจัยยังได้ทำการทดลองว่าแบคทีเรียที่พบในผู้หญิงที่มีก้อนเนื้อในเต้านมจะทำให้ดีเอ็นเอเสียหายหรือไม่ เนื่องจากเมื่อดีเอ็นเอเสียหายก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นมะเร็งได้ ผลปรากฏว่าแบคทีเรียสองชนิด (Enterobacteriaceae กับ Staphylococcus) จากเนื้อเยื่อเต้านมได้สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอ ขณะเดียวกันกลุ่มนักวิจัยก็พบว่ามีแบคทีเรีย Lactococcus กับ Streptococcus ในปริมาณที่สูงในเนื้อเยื่อเต้านมของผู้หญิงที่ไม่มีก้อนเนื้อซึ่งก็อาจเป็นไปได้ว่าแบคทีเรียเหล่านี้มีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง ทว่าก็ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามมีผลวิจัยจากบางแห่งชี้ว่าแบคทีเรีย Lactobacillus ซึ่งเป็นแบคทีเรีย “ดี” อาจช่วยทำลายสารประกอบที่ก่อมะเร็งได้

 

กลุ่มจุลินทรีย์ในเต้านม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมซึ่งหมายความว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ขณะที่การรับประทานโปรไบโอติก (แบคทีเรีย “ดี”) ก็อาจส่งผลต่อแบคทีเรียในเต้านมเช่นกัน เชื่อกันว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันในลำไส้อาจจะเก็บสะสมโปรไบโอติกและส่งต่อไปยังเต้านม แต่ก็ยังมีข้อสังเกตว่าแบคทีเรียอาจมีบทบาทเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านมด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกมาก

ทางเดียวที่จะสานต่องานวิจัยครั้งนี้คือขอร้องให้ผู้หญิงที่มีแผนว่าจะผ่าตัดเต้านมรับประทานโปรไบโอติกและติดตามผลเพื่อดูว่าโปรไบโอติกจะยังอยู่ในเนื้อเยื่อเต้านมที่ผ่าตัดออกไปหรือไม่ ที่สำคัญเพื่อดูว่าหลังจากนี้มันจะพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ แบคทีเรียที่มีประโยชน์สามารถป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดได้ ดังนั้นผู้หญิงที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงหรือมีแบคทีเรีย “เลว” สูง กลุ่มนักวิจัยต้องหาวิธีเพื่อเปลี่ยนหรือตรวจสอบแบคทีเรียเหล่านั้น ส่วนในกรณีของผู้หญิงที่มีสุขภาพดีกลุ่มนักวิจัยก็ยังตั้งคำถามว่าเราจะสามารถส่งเสริมแบคทีเรียที่มีประโยชน์และดูแลให้พวกมันดีอยู่เสมอได้หรือไม่?

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0