โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

แนะวิธีหลีกเลี่ยง “สารบอแรกซ์” ในเนื้อหมู

new18

อัพเดต 24 มิ.ย. 2562 เวลา 06.51 น. • เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2562 เวลา 06.50 น. • new18
แนะวิธีหลีกเลี่ยง  “สารบอแรกซ์” ในเนื้อหมู

บอแรกซ์ เป็นสารเคมีที่มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การฟอกหนัง อุตสาหกรรมแก้ว ยา เช่น ยาล้างตา เป็นต้น มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี ในอดีตได้เคยมีการนำมาใช้เป็นวัตถุกันเสีย แต่ต่อมาพบว่าบอแรกซ์อันตรายต่อสุขภาพ จึงได้มีกฎหมายกำหนดห้ามนำมาใช้ในอาหาร ในกฎหมายสาธารณสุขของประเทศไทยได้กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ต้องถูกปรับ 20,000 บาท

ถ้าได้รับบอแรกซ์ร่างกายจะมีสะสมที่ไตและสมองซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อของแต่ละอวัยวะ เช่น จะทำลายไต และมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของไตในที่สุด บอแรกซ์ที่ได้รับเข้าไปในร่างกายจะถูกขับออกได้แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้นการที่เราบริโภคสารบอแรกซ์เป็นประจำจะทำให้ร่างกายมีการสะสมและเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

เนื้อสุกรที่พบว่ามีการใช้สารบอแรกซ์มากที่สุดคือ หมูบด เนื่องจากการบดหมูจะทำให้มีการผิวสัมผัสของเชื้อโรคเข้าไปในเนื้อหมูมากขึ้น ทำให้หมูบดเน่าเสียได้ง่าย จึงมีการใช้บอแรกซ์ใส่ปนในหมูบด ส่วนเนื้อหมูชิ้นจะมีการนำไปชุบน้ำยาบอแรกซ์ โดยจะมีภาษาเรียกของผู้ที่จำหน่ายสุกรว่า “หมูอาบน้ำ” ดังนั้นจะมีบอแรกซ์ติดอยู่ที่ผิว

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคทั่วไปคือ เมื่อซื้อหมูมาก่อนที่จะนำไปปรุงอาหารให้ล้างหลาย ๆ ครั้ง นอกจากจะลดหรือขจัดสารออกไปได้แล้วยังเป็นการลดความสกปรกที่ติดอยู่บนเนื้อหมูลงไปด้วย ถ้าเป็นหมูบดคงจะไม่สามารถล้างได้เราควรจะหลีกเลี่ยงโดยการนำมาบดเองจะดีกว่า ผลการตรวจบอแรกซ์ในหมูตามเขียงและที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ตพบว่าหมูที่จำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตมีการปนเปื้อนน้อยกว่าหมูตามเขียง ส่วนหมูที่จำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ต ปัจจุบันแทบจะตรวจไม่พบการปนเปื้อนของบอแรกซ์เลย
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0