โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

แจ้งระงับผูก ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ กับ ‘แอพฯ เป๋าตัง’ เช็คเงิน 3,000 บาทไม่ได้แล้ว

The Bangkok Insight

อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 06.23 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 06.23 น. • The Bangkok Insight
แจ้งระงับผูก ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ กับ ‘แอพฯ เป๋าตัง’ เช็คเงิน 3,000 บาทไม่ได้แล้ว

“ธนาคารกรุงไทย” แจ้งระงับฟังก์ชั่น "ผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” กับ “แอพฯ เป๋าตัง” เช็คเงินเยียวยา 3,000 บาทเหลือแค่ 2 วิธี คือ ตู้ ATM กับโทร Call Center

ช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้โอนเงินเยียวยาไวรัสโควิด-19 จำนวน 3,000 บาทเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิสก์ (e-Money) ของผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ไปแล้วจำนวน 1.14 ล้านราย

ผู้ที่ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาทในครั้งนี้ คือ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ไม่เคยได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐมาก่อน

สำหรับผู้ที่สงสัยว่า ตนเองได้รับสิทธิ์หรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบได้ 3 ทาง คือ ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย, Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง แต่ล่าสุดธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า ช่องทางแอพฯ เป๋าตังไม่สามารถดำเนินการได้แล้ว

ผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ก่อนหน้านี้ แอพพลิเคชั่นเป๋าตังของธนาคารกรุงไทย มีฟังก์ชั่น ผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้ผูู้ถือบัตรฯ สามารถตรวจสอบวงเงินคงเหลือในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิสก์ (e-Money) รวมถึงสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ ได้ แต่ล่าสุดประชาชนที่ดาวน์โหลดแอพฯ เพื่อตรวจสอบเงินเยียวยา 3,000 บาท กลับไม่พบฟังก์ชั่นการผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบนแอพฯ แล้ว

The Bangkok Insight จึงได้ตรวจสอบเรื่องนี้กับ ธนาคารกรุงไทย โดยวันนี้ (7 ก.ค. 63) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของธนาคารฯ ชี้แจงว่า ปัจจุบันแอพฯ เป๋าตังไม่มีฟังก์ชั่นการ ผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แล้ว เนื่องจากอยู่ระหว่างการพัฒนาแอพฯ เพื่อรองรับบริการเพิ่มเติม

ส่วนแอพฯ จะมีฟังก์ชั่นการผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีกครั้งหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการทำงานระหว่างภาครัฐกับทางธนาคารฯ ในอนาคต

โดยล่าสุดธนาคารกรุงไทยได้นำคู่มือแนะนำขั้นตอนการ ผูกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กับแอพฯ เป๋าตัง ออกจากเว็บไซต์ของธนาคารแล้ว เพื่อรอคู่มือใหม่หลังการพัฒนาแอพฯ แล้วเสร็จ สำหรับสาเหตุที่นำคู่มือออกจากเว็บไซต์ล่าช้า เป็นเพราะปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการปรับปรุงข้อมูลและรูปแบบการให้บริการใหม่

ดังนั้น ปัจจุบันการตรวจสอบเงินเยียวยาไวรัสโควิด-19 จำนวน 3,000 บาท จึงทำได้เพียง 2 วิธี คือ การนำบัตรฯ ไปตรวจสอบยอดเงินที่ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยและ Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร 02 109 2345

สำหรับกรณีที่เป็นผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ไม่ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท อาจเกิดจากมีคุณสมบัติไม่ตรงกับเงื่อนไขของโครงการ

โดยเงื่อนไขการรับเงินเยียวยา 3,000 บาท คือ ต้องเป็นผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ไม่เข้าข่ายดังนี้

1.ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคม โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้าง ผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน

2.ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ

3.ไม่เคยได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 จากโครงการอื่นๆ ของภาครัฐ ได้แก่

  • โครงการเราไม่ทิ้งกัน ที่ช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน รวมแล้ว 15,000 บาท
  • โครงการเยียวยาเกษตรกร จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมแล้ว 15,000 บาท
  • โครงการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 3 ประเภท ได้แก่ เด็กที่ได้รับสิทธิ์โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด, ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ซึ่งกลุ่มเปราะบางทั้ง 3 ประเภทนี้กำลังจะได้รับเงินเยียวยา 1,000 บาท จำนวน 3 เดือน รวมแล้ว 3,000 บาทในวันที่ 20 กรกฎาคม 2563

น.ส.วิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดี กรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงที่มาของโครงการว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองใช้จ่ายเงินกู้ ที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการใด ๆ ของภาครัฐ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19

“กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการเบิกเงินแทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ โดยการโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ใน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 3,000 บาท ซึ่งจ่ายเพียงครั้งเดียว ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2563 ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0