โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แจง'โจอี้ บอย'รัฐเร่งแก้ฝุ่นพิษ ถามใช้ยาแรงรับได้หรือไม่?

เดลินิวส์

อัพเดต 20 ม.ค. 2563 เวลา 11.52 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 10.46 น. • Dailynews
แจง'โจอี้ บอย'รัฐเร่งแก้ฝุ่นพิษ ถามใช้ยาแรงรับได้หรือไม่?
“อธิบดีคพ.”แจง “โจอี้ บอย”ภาครัฐเร่งดำเนินป้องกัน-แก้ไขฝุ่นต่อเนื่อง ถ้าใช้ยาแรง ประชาชนรับได้หรือไม่ ชงมาตรการเข้า ครม. 21 ม.ค.

เมื่อวันที่ 20 ม.ค.นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าจากกรณีโจอี้ บอย แร็พเปอร์ชื่อดังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 กำลังอยู่ในสถานการณ์วิกฤต ระบุว่า สงสัยเหลือเกิน ว่าไม่มีใครกลัวเลยเหรอ? หรือคนที่ต้องรับผิดชอบเค้าไม่กลัวพวกเราเป็นอะไรเลยเหรอ? และมีประชาชนเข้าไปคอมเม้นท์แสดงความคิดเห็นมากมายทั้งที่เห็นคล้อยตามจำนวนมาก และบางส่วนเห็นในทางตรงกันข้ามว่าทุกคนต้องเริ่มที่ตัวเอง เช่นการไม่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ให้หันมาใช้รถยนต์สาธารณะ การไม่เผา เป็นต้นนั้น

นายประลอง กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 เกิดขึ้นในช่วงที่มีความกดอากาศสูงมาปกคลุม สภาพอุตุนิยมวิทยา เกิดภาวะฝาชีครอบ (inversion) และสถานการณ์การจราจรค่อนข้างจะหนาแน่นต่อเนื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังดำเนินการต่อเนื่อง จากการวิจัยสัดส่วนการระบาย PM2.5 ในพื้นที่ กทม.มาจากการขนส่งทางถนน ร้อยละ 72.5 อุตสาหกรรม ร้อยละ 17 การเผาในที่โล่ง ร้อยละ 5 และอื่นๆ การออกมาตรการใดๆย่อมส่งผลกระทบต่อคนแต่ละกลุ่ม เช่นหากใช้ยาแรงถึงระดับลดการใช้รถส่วนบุคคล ในวันทำงาน สัปดาห์ละ 1 วัน ซึ่งใน กทม. มีรถยนต์ส่วนบุคคลกว่า 6.4 ล้านคัน ก็สามารถลดรถบนท้องถนนลงได้ กว่า 1.2 ล้านคันต่อวัน จำนวนรถลดลง การระบายรถคล่องขึ้น มลพิษก็ลดลง แต่ก็ต้องกระทบต่อความสะดวกของประชาชน เป็นต้น

นายประลอง กล่าวว่า รัฐบาลได้ติดตามและให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว มีการเตรียมการรับมือและระดมหน่วยงานต่างๆมาก่อนนี้แล้ว ล่าสุดคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ได้ประชุมและเสนอมาตรการต่างๆ จำนวน 12 มาตรการ ที่จะลดฝุ่น PM2.5 ลงได้และไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน ซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม ครม. ในวันที่ 21 ม.ค.นี้ เช่น สาเหตุหลักก็คือรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่จะห้ามไม่ให้เข้า มาในเวลาช่วงกลางวันในเขต กทม. เฉพาะในวันเลขคี่ รวมทั้ง มาตรการ ในการควบคุม รถโดยสารไม่ประจำทาง ที่จะต้องไม่ปล่อยควันดำเกินมาตรฐาน

นอกจากนี้ ในมาตรการที่จะเสนอจะให้แหล่งปล่อยมลพิษส่วนหนึ่งที่มาจากภาคอุตสาหกรรม ก็ให้มีการลดกำลังผลิตลงรวมทั้งให้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากผิดไปจากเงื่อนไขในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ให้สั่งพักใบอนุญาตและโรงงานต้องไปฟื้นฟูเพื่อให้ได้ ค่าการระบายมลพิษออกมาที่อยู่ในเกณฑ์ ตามมาตรฐาน

รวมทั้งการขอความร่วมมือให้ข้าราชการได้ลดการใช้ปริมาณรถยนต์ส่วนตัวลง รวมทั้ง รถราชการทุกคันที่วิ่งอยู่จะต้องมีการตรวจเช็คและ ปรับปรุงระบบเครื่องยนต์ในการปล่อย ควันดำจะต้องไม่เกินมาตรฐาน ขณะที่ในด้านการเผา เศษวัชพืชต่างๆ ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็คือกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ในมาตรการก็ให้ตรวจสอบอย่างเข้มงวด และออก กฎหมาย ในแต่ละท้องถิ่นเพื่อใช้บังคับ อย่างเข้มงวด

สำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปีซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง ทาง ธอสก็ได้มีโครงการเพื่อให้รถยนต์เหล่านั้นได้มาถ่ายเครื่องถ่ายน้ำมันเครื่องและเปลี่ยนกรอง โดยได้ขอความร่วมมือกับ อู่และผู้ประกอบการขายรถได้ร่วมมือกันในการ ลดภาระให้แก่พี่น้องประชาชน ในช่วงเกิดวิกฤต เป็นต้น.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0