โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

แก้ปัญหา “ทารกสะอึก” แบบคุณพ่อคุณแม่มือโปร

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 23 พ.ค. 2563 เวลา 04.30 น. • Motherhood.co.th Blog
แก้ปัญหา “ทารกสะอึก” แบบคุณพ่อคุณแม่มือโปร

แก้ปัญหา "ทารกสะอึก" แบบคุณพ่อคุณแม่มือโปร

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับทารกน้อย คุณพ่อคุณแม่ย่อมเป็นกังวลทั้งนั้น แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรงมากอย่างปัญหา "ทารกสะอึก" หลังให้นมเสร็จ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องเคยกังวล วันนี้ Motherhood เลยจะมาแชร์เทคนิควิธีแก้ปัญหา พร้อมพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับอาการสะอึกหลังให้นมของทารกให้มากขึ้นกันค่ะ

การสะอึกคือเสียงของกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะหายใจออก
การสะอึกคือเสียงของกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะหายใจออก

เด็กทารกสะอึกเพราะอะไร?

อาการสะอึกเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นกับคนได้ทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงทารกด้วย สำหรับในวัยผู้ใหญ่หรือเด็กโต เมื่อเกิดอาการสะอึก ทิ้งไว้สักพักอาการสะอึกจะค่อย ๆ หายไปเองได้ ในส่วนของทารก การที่เขาสะอึกมักพบได้หลังจากการให้นม เนื่องจากกระเพาะอาหารของทารกขยายตัวจากการที่ดูดนมเข้าไป ทำให้เกิดแรงดันไปยังกล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้อง จึงเกิดเป็นเสียงของกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะหายใจออก นี่เป็นที่มาของอาการสะอึกของทารก

จะเป็นอันตรายหรือไม่?

ทารกแรกเกิดมีอาการสะอึกเกิดขึ้นได้เป็นปกติ โดยเมื่อทารกสะอึกไปสักพักก็จะหยุดได้เอง ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เมื่อทารกเริ่มโตขึ้นถึงช่วงอายุ 4-5 เดือน อาการสะอึกของทารกจะค่อย ๆ หายไป ไม่เกิดขึ้นบ่อยเท่าก่อนหน้าแล้ว

การอุ้มเรอก็ช่วยบรรเทาอาการสะอึกของทารกได้
การอุ้มเรอก็ช่วยบรรเทาอาการสะอึกของทารกได้

ควรทำอย่างไรเมื่อทารกสะอึก?

  • หลังจาทารกดูดนมอิ่มแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรทำให้ทารกเรอเพื่อไล่ลมออกทุกครั้ง เพื่อช่วยไม่ให้ทารกสะอึกหลังอิ่มนม ด้วยการตบหลังเบา ๆ อย่างอ่อนโยน หรือทำมือวนเป็นวงกลมบริเวณท้องของทารกก็ช่วยทำให้ลูกเรอได้
  • อุ้มลูกโดยให้ส่วนหัวพักอยู่บนไหล่ของคุณแล้วลูบหลัง หรืออุ้มลูกพาดบ่า โดยให้ลูกตัวตั้ง แล้วพาเขาเดินไปเดินมา เพื่อเป็นการช่วยให้น้ำนมไหลเข้าสู่กระเพาะอาหารได้เร็วขึ้น
  • ให้ลูกนั่งตัวตรงบนตัก แล้วใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับประคองคางลูกไว้ ให้ลูกเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือลูบขึ้นเบา ๆ ช้าๆ จากบริเวณด้านหลังเอวขึ้นมาจนถึงต้นคอลูก ทำเช่นนี้เพื่อเป็นการไล่ลมขึ้นมา จะเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการสะอึกของทารกได้อย่างดี
  • ให้ลูกดูดนมแม่แก้อาการสะอึก โดยที่ไม่ต้องกินน้ำ ในกรณีที่ลูกกินนมผง เมื่อลูกสะอึกให้ลูกกินนมจากขวดหรือภาชนะอื่น ๆ จะช่วยทำให้อาการสะอึกของลูกหยุดเร็วขึ้น
  • หากลองหมดแล้วทุกวิธีแล้วก็ยังไม่หาย ทารกยังคงสะอึกติดต่อกันนานนับชั่วโมง หรือสะอึกแล้วมีอาการผิดปกติตามมา เช่น สะอึกจนกินน้ำหรือนมเพื่อแก้สะอึกไม่ได้ มีการอาเจียนและมีไข้ร่วมด้วย หรือถ่ายออกมา ควรรีบพาเขาไปพบแพทย์ทันที

หากสะอีกนานจนต้องพบแพทย์ จะรักษาอย่างไร?

เบื้องต้นแล้วแพทย์จะรักษาตามอาการ เริ่มต้นจากการซักถามประวัติของทารก ส่วนยาที่มักจัดให้ทารกรับประทานนั้นเป็นยาคลายเครียด เพราะยาจะเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือจัดยาขับลม ทั้งนี้ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์

โดยปกติแล้วเด็กทารกจะสะอึกหลังอิ่มนมกันแทบทุกคน และมันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงสาเหตุของอาการสะอึกที่ลูกมี และรู้วิธีการรับมือกับมันอย่างถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่คลายกังวลไปได้มากแล้วค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0