โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เอกชนแนะรัฐ “ยกเว้นค่าประกันสังคม” ระยะสั้น แทนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท

Money2Know

เผยแพร่ 19 ก.ค. 2562 เวลา 12.07 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
เอกชนแนะรัฐ “ยกเว้นค่าประกันสังคม” ระยะสั้น แทนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชี้รัฐควรปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามความเหมาะสม พร้อมแนะแนวทางระยะสั้น “ยกเว้นค่าประกันสังคม จัดอบรมทักษะฟรี” แทนการขึ้นค่าแรงวันละ 400 บาท

นาย สุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์สดผ่านเฟซบุ๊คเพจ Business Today Thai ถึงกรณีที่รัฐบาลใหม่มีนโยบายจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว ดังนั้นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเป็นวันละ 400 บาท ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 20-30% อาจส่งผลกระทบให้สินค้าและบริการต่างๆ มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น และจะส่งผลเสียต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจทั้งระบบ เพราะนอกจากประชาชนผู้บริโภคจะต้องแบกภาระค่าครองชีพเพิ่มขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่ที่จำเป็นต้องจ้างแรงงานรวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กก็จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากหากต้องเสียต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น แต่รายได้ชะลอตัวหรือลดลง

ทั้งนี้ หากเทียบอัตราค่าแรงขั้นต่ำของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ไทยมีการจ่ายค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่าประเทศมาเลเซียและอีกหลายๆ ประเทศ อีกทั้ง แรงงานส่วนใหญ่ของไทยกว่า 3 ล้านคน กว่า 70-80% คือ กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ได้รับเงินค่าจ้างแล้วก็จะส่งกลับไปยังประเทศของตนเอง ไม่ได้มีการใช้จ่ายให้มีเงินสะพัดหมุนวียนอยู่ในระบบ จึงทำให้ไทยเสียผลประโยชน์เดือนละไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท ดังนั้น การจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสามารถปรับขึ้นได้แต่ต้องดูตามความเหมาะสมตามแต่ละพื้นที่ และหากรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยเหลือลูกจ้างก็น่าจะหามาตรการระยะสั้นเข้ามาช่วยเหลือ เช่น การ ละเว้นค่าประกันสังคม 3 เดือน หรือ 6 เดือนให้แก่ลูกจ้าง เพื่อให้มีเงินนำไปจับจ่ายใช้สอยในระบบได้ พอเศรษฐกิจฟื้นอยู่ในภาวะดีขึ้นค่อยยกเลิกมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว นอกจากนี้ รัฐควรหามาตรการช่วยเหลือเรื่องการอบรมพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มแรงงานเพิ่มเติมฟรี ทั้งเรื่องภาษา และทักษะความชำนาญงานต่างๆ เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้พัฒนาศักยภาพและได้รับการปรับขึ้นค่าแรงได้อย่างเหมาะสม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0