โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เหตุไฉน? การกักกันแบบจีนจึงช่วยยับยั้งไวรัสได้

Xinhua

เผยแพร่ 09 เม.ย. 2563 เวลา 05.09 น.
เหตุไฉน? การกักกันแบบจีนจึงช่วยยับยั้งไวรัสได้

วอชิงตัน, 8 เม.ย. (ซินหัว) -- การศึกษาใหม่ด้วยการใช้แบบจำลองที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ (8 เม.ย.) แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของจำนวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในจีนชะลอตัวลงหลังจากเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากการผสมผสานกลยุทธ์การกักกันของจีนในช่วงแรกที่เกิดการระบาดของโควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชากรกลุ่มใหญ่

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในนิตยสารไซแอนซ์ (Science) เมื่อวันพุธแสดงให้เห็นว่าความพยายามของรัฐบาลจีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงในประเทศติดเชื้อ

หลังจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในจีนเพิ่มขึ้นอย่างสูง ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในมณฑลหูเป่ยก็มาถึงจุดอิ่มตัวที่ 67,800 ราย ณ วันที่ 28 มี.ค. โดยมีสถิติพบผู้ป่วยใหม่ในวันดังกล่าวที่ 0 ราย

ในช่วงต้นของการระบาด รัฐบาลจีนได้วางนโยบายบรรเทาผลกระทบหลายประการ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส โดยผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อจะถูกกักกันในหอผู้ป่วยเฉพาะทางหรือต้องดำเนินการกักกันตนเองและมีระบบตรวจสอบที่บ้าน

นอกจากนี้เพื่อปกป้องประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง รัฐบาลจีนจึงได้ใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เช่นเดียวกับมาตรการติดตามผู้มีประวัติติดต่อกับผู้ติดเชื้อ

ความพยายามร่วมกันเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อเท่านั้น แต่ยังกำจัดความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มเสี่ยงต้องข้องเกี่ยวกับกระบวนการแพร่เชื้อด้วย

เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ว่าความพยายามเหล่านี้นำไปสู่สถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างเนิบช้าลงอย่างน่าประหลาดช่วงปลายเดือนมีนาคม เบนจามิน เมเออร์ (Benjamin Maier) ผู้นำคณะนักวิจัยนำจากสถาบันโรเบิร์ต ค็อก (Robert Koch) ในเยอรมนี จึงได้นำเสนอรูปแบบจำลองทางระบาดวิทยาที่แสดงให้เห็นการแยกตัวของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ติดเชื้อแล้ว อันเป็นแบบจำลองที่คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ป่วยในมณฑลหูเป่ยและสถานที่อื่น เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างสังเกตอาการ

ผลของวิธีการสร้างแบบจำลองนี้แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองของผู้คนต่อนโยบายกักกันอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมีประสิทธิภาพ แม้จะดำเนินการใช้หลังเกิดกรณีพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในช่วงแรกมาแล้ว

ผลการวิจัยยังสามารถให้ข้อมูลด้านการพัฒนากลยุทธ์การกักกัน เพื่อการพัฒนากลยุทธ์ในปัจจุบันสำหรับรับมือกับการระบาดขนาดใหญ่ครั้งที่ 2 ด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0