โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เหตุใดคนเราจึงมีอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันและเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

issue247.com

อัพเดต 22 เม.ย. 2562 เวลา 05.07 น. • เผยแพร่ 23 เม.ย. 2562 เวลา 00.00 น.

คุณรู้จักอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันไหม? คนส่วนใหญ่บอกว่าจะมีภาวะหายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ตัวสั่น คลื่นไส้ แน่นหน้าอก และ/หรือ “มีความเป็นบุคลิกวิปลาส” ซึ่งผู้ป่วยจะรับรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความรู้สึกและไม่ได้เป็นความจริง

ฟังดูเหมือนสนุกใช่ไหม? ไม่สนุกเลย ว่าแต่คุณรู้ไหมว่าจริงๆแล้วอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันนั้นเป็นเช่นไร? คำอธิบายที่ดีที่สุดของอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันคืออารมณ์อดกลั้นที่ประทุขึ้นมาอย่างเต็มที่ในคราวเดียวคล้ายกับการเปิดท่อน้ำดับเพลิงซึ่งน้ำทั้งหมดที่อยู่ข้างใต้จะพุ่งขึ้นมาอย่างรุนแรง เนื่องจากอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันจะมีลักษณะค่อนข้างคล้ายกับโรคหัวใจ เราจึงขอแนะนำว่าคุณควรไปตรวจร่างกายที่ห้องฉุกเฉินทันทีที่กลุ่มอาการเหล่านี้กำเริบในตอนแรก ในกรณีที่ไม่ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คุณสามารถบอกได้ไหมว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจหรืออยู่ในกลุ่มอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลัน?

การไม่มีสิ่งปลุกเร้าอารมณ์ที่ชัดเจนไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคหัวใจ ที่สำคัญไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณเข้าใจผิดระหว่างอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันกับโรคหัวใจเมื่อสิ่งปลุกเร้าทางอารมณ์นั้นเกิดขึ้นนอกเหนือจากสติการรับรู้ของตนเอง คนจำนวนไม่น้อยคิดว่าอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันนั้นเกี่ยวข้องกับสุขภาพกายล้วนๆ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาเลือกไปฝึกนั่งสมาธิแทนที่จะไปรักษาตัว ถ้าพูดโดยทั่วไปแล้วอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันไม่ได้เกิดจากปัญหาในระบบประสาทเคมีแต่เกิดจากอารมณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนเราซึ่งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับร่างกาย อาการเหล่านี้ค่อนข้างเข้าใจยากเนื่องจากจิตใจชอบเล่นตลกกับเราเช่นเดียวกับการเก็บกด การวางแผน การแบ่งภาคซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันตัวเอง หรือการแสดงปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับความต้องการที่แท้จริง

อย่างไรก็ตามการรู้สึกโกรธคนที่คุณรักไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ไม่มีความสัมพันธ์ใดที่สดใสและโรยด้วยกลีบกุหลาบตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้นวัฒนธรรมที่เราอาศัยอยู่ล้วนป้อนแต่ข้อความที่ทำให้อารมณ์ของเราเข้าใจยาก จงคิดบวก รู้จักขอบคุณ และอย่าพร่ำบ่นแต่ปัญหา เอาละและนี่คือเคล็ดลับที่สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรควิตกกังวลอย่างเฉียบพลันได้

“จงอนุญาตให้ตัวเองรับรู้ถึงความรู้สึกได้จริงๆ อย่าสงสัยว่ามันจะคุ้มค่าหรือไม่และอย่าตัดสินตัวเองว่าเป็นคนเอาแต่ใจตนเอง” จงเข้าใจว่าเกือบทุกอย่างในชีวิตขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลและความรู้สึกของคุณก็ไม่จำเป็นต้องตรงกับความจริงภายนอก ขณะเดียวกันคนอื่นๆในชีวิตของคุณก็สามารถมีความเห็นแตกต่างกันได้และไม่จำเป็นต้องมองว่าความเห็นของตัวเองผิด แต่ความรู้สึกของคนเรามักจะแฝงไว้ด้วยความจริงทางอารมณ์และเราจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเมื่อเลิกพยายามที่จะผลักไสมันออกไป

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0