โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เหงากันทั้งอำเภอ! เมื่อวิจัยบอกว่า "ความเหงา" แพร่กระจายได้ คล้ายโรคติดต่อ!

Dek-D.com

เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 03.27 น. • DEK-D.com
เหงากันทั้งอำเภอ! เมื่อวิจัยบอกว่า
ใครที่เหงาบ่อยๆ อ่านบทความนี้แล้วจะฮึดสู้ ไม่อยากปล่อยให้ตัวเองเหงาอีกเลย!

Spoil

  • ผู้คน 52% จะรู้สึกเหงากว่าปกติ ถ้าคนใกล้ตัวรู้สึกเหงา

  • ผู้ชายเหงาน้อยกว่าผู้หญิง แต่เหงาแล้วอันตรายมากกว่า!

  • เมื่อไหร่ที่รู้สึกเหงา รู้ไว้เลยว่าคือสัญญาณเตือนว่า "ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแล้ว"


น้องๆ ชาว Dek-D ใครบ้างไม่เคยเหงา? พี่กวางว่าไม่น่าจะมีนะคะ หรือถ้ามีก็ถือว่าเป็นคนที่โชคดีมากๆ เพราะต่อให้เพื่อนเยอะ เรียนหนัก ชีวิตวุ่นๆ แค่ไหน ไม่รู้ทำไม ความเหงาก็ยังแอบเข้ามาทักทายเราได้ทุกครั้งไป (ใครเป็นบ้าง?) จากผลการศึกษาพบว่าโลกเรามีคนเหงามากขึ้นทุกปีและมนุษย์เรายังมีเพื่อนที่ไว้ใจได้น้อยลงเรื่อยๆ ที่น่าทึ่งสุดๆ ไปเลยก็คือ ความเหงานี้ไม่ได้โจมตีเฉพาะวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่เท่านั้นนะ แต่แม้กระทั่งเด็กอนุบาลหรือนักเรียนชั้นป.1 ยังพบว่ารู้สึกเหงาได้ไม่แพ้วัยรุ่นอย่างเราเลย
แล้วน้องๆ เคยสังเกตไหม? ว่าเวลารู้สึกเหงา โลกจะกลายเป็นสีเทาๆ คล้ายคนรอบข้างเหงาไปพร้อมเราด้วย เรื่องนี้บอกเลยว่าน้องๆ อาจไม่ได้คิดไปเองค่ะ เพราะมีผลวิจัยที่บอกมาแล้วว่า ที่จริงความเหงาสามารถแพร่กระจายสู่คนรอบข้างได้ คล้ายโรคติดต่อเลยทีเดียว

ภาพจาก pixabay.com
เพราะจากผลวิจัยหัวข้อ Alone in the crowd: The structure and spread of loneliness in a large social networkยืนยันว่า ความเหงาสามารถแพร่กระจายไปสู่คนรอบข้างได้คล้ายเชื้อหวัดต่างกันตรงที่เชื้อความเหงาไม่ได้แพร่กระจายด้วยวิธีจามใส่กัน หรือกินน้ำแก้วเดียวกัน แต่แพร่กระจายผ่านพลังงานแง่ลบที่เราส่งต่อให้คนรอบตัวต่างหาก…
แน่นอนว่าผลวิจัยนี้ไม่ได้ติ๊ต่างขึ้นมาเล่นๆ แต่ใช้เวลานานถึง 10 ปีในการศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างกว่า 5,000 คนที่มีปัญหาด้านความเหงาจากการทำแบบทดสอบ Loneliness Questionnaire รวมถึงมีประวัติการรักษาอย่างสม่ำเสมอ พบว่าเมื่อศึกษาไปถึงคนรอบๆ ตัวของพวกเขาทั้งเพื่อนและญาติ ได้ผลลัพธ์ดังนี้
- ผู้คน 52% จะรู้สึกเหงากว่าปกติ ถ้าคนใกล้ตัวรู้สึกเหงา
- ผู้หญิงเหงามากกว่าผู้ชาย
- ความเหงาแพร่กระจายในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- ความเหงาแพร่กระจายในหมู่เพื่อนฝูง มากกว่าครอบครัว

ภาพจาก pixabay.com
รวมถึงยังมีผลวิจัยอีกมากมายที่บอกว่า ความเหงาก่อให้เกิดความเครียดและปัญหาสุขภาพทั้งทำลายสมอง รบกวนระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงยังทำให้เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าอีกต่างหาก ที่สำคัญมีการค้นพบเพิ่มเติมอีกด้วยว่า คนเหงามีแนวโน้มจะดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น และออกกำลังกายน้อยลงกว่าคนปกติ เพราะคนเหงามักติดกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ รวมถึงนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทำให้เพลียในเวลากลางวัน และทำให้หน้าแก่ไว
ที่น่าสนใจคือ แม้ผลการวิจัยจะบอกว่าผู้หญิงเหงามากกว่าผู้ชาย แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าผู้ชายเหงา จะอันตรายถึงชีวิตได้มากกว่าผู้หญิงหลายเท่า!เพราะธรรมชาติของผู้ชายนั้นแสดงออกน้อยกว่า จึงมักเก็บความเหงาไว้คนเดียวในใจ ทำให้ฟื้นตัวจากความเหงาได้ยาก และยังมีความเครียดที่มาก การศึกษาจึงพบว่า ผู้ชายหลายคนรู้สึกเหงาแต่เลือกจะเก็บไว้โดยไม่ขอความช่วยเหลือจากใครทำให้เมื่อรู้ตัวอีกที ก็เกิดความเสียหายต่อสภาพจิตใจอย่างรุนแรงซะแล้ว

ภาพจาก pixabay.com
อื้อหือ ถ้าความเหงามันร้ายขนาดนี้ เราจะรับมือยังไงดีล่ะ! พี่กวางก็บอกเลยว่าจริงๆ แล้วเราสามารถรับมือกับความเหงาได้ง่ายๆ ไม่ยากเลยค่ะ
1. จำไว้เสมอนะคะ ว่าเมื่อไหร่ที่รู้สึกเหงา เป็นสัญญาณเตือนว่าเราต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง อาจจะเป็นสถานที่, กิจกรรม, สังคม หรือผู้คนรอบข้างค่ะ
2. ทำความเข้าใจว่าความเหงาส่งผลกระทบอะไรกับตัวเราบ้าง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3. ออกไปบำเพ็ญประโยชน์ หรือทำกิจกรรมที่ชอบ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราได้พบเจอผู้คนใหม่ๆ และได้มีสังคมใหม่ๆ
4. พัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่ดีต่อใจเรา อาจจะเป็นเพื่อนที่ชอบสิ่งเดียวกัน หรือคิดอะไรคล้ายๆ กันก็ได้
5. "มองโลกในแง่ดี" สำคัญมาก เพราะว่าคนเหงาส่วนใหญ่มักคาดหวังอะไรในแง่ร้าย จึงควรฝึกจิตให้คาดหวังสิ่งดีๆ มองโลกในแง่ดีไว้ค่ะ

ภาพจาก pixabay.com
ทีนี้เชื่อพี่กวางรึยังคะ ว่า “ความเหงา”เป็นเรื่องธรรมชาติ ที่ร้ายกาจกว่าที่คิด แต่เราสามารถจัดการมันได้! ดังนั้นใครที่กำลังรู้สึกเหงา อย่าปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความรู้สึกนั้นนาน ลองหากิจกรรมทำ หรือพูดคุยกับใครสักคนที่เรารู้สึกไว้ใจและสบายใจ หรือน้องๆ ชาว Dek-D คนไหนมีเคล็ดลับอะไรแก้เหงาบ้าง แนะนำเพื่อนๆ ไว้ได้เลยค่ะ
ที่มา
(1) https://www.verywellmind.com/
(2) https://www.verywellmind.com/
https://www.cam.ac.uk/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0