โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เส้นทางสู่เจ้าแห่งทุน : ‘สันติ ภิรมย์ภักดี’ สิงห์ อสังหาฯ (2)

The Bangkok Insight

อัพเดต 17 มิ.ย. 2562 เวลา 01.57 น. • เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 01.51 น. • The Bangkok Insight
เส้นทางสู่เจ้าแห่งทุน : ‘สันติ ภิรมย์ภักดี’ สิงห์ อสังหาฯ (2)

เมื่อปลายปี 2557สิงห์ ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มใหม่ แยกเป็น 5สายธุรกิจ 1.ธุรกิจแอลกอฮอล์  2.ธุรกิจไร้แอลกอฮอล์ 3.จัดจำหน่าย 4.แพคเกจจิ้ง  5.อสังหาริมทรัพย์ ๆ คือ สายธุรกิจใหม่ๆ ที่ “กลุ่มภิรมย์ภักดี” ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางธุรกิจ หลังฝันร้ายในช่วงปลายทศวรรษ 2530 ที่ส่วนแบ่งการตลาดเบียร์สิงห์หล่นฮวบจาก 80% เหลือ 20-30%

สิงห์ ส่งสัญญาณเข้าตลาดอสังหาริมทรัพย์ มาตั้งแต่ปี 2554หลังชนะประมูลที่ดินสถานฑูตญี่ปุ่นเดิม บริเวณหัวมุมถนนอโศก–เพชรบุรีตัดใหม่ พื้นที่ 11 ไร่ 1 งาน  24 ตารางวา มูลค่าขณะนั้น 1,600 ล้านบาท  หรือ 450,000บาทต่อตารางวา ก่อนประกาศรุกธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ อย่างเป็นทางการ ในปี 2557 ด้วยการเข้าเทคโอเวอร์ บมจ.รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดิเวลลอปเมนท์ หรือ รสา บริษัทอสังหาฯ เล็กๆในตลาดหุ้น    

กระบวนการเปลี่ยนมือเริ่มจาก รสา ออกหุ้นเพิ่มทุน จำนวน 4,162,352,331 หุ้น (ราคาที่ตราไว้ 1 บาทต่อหุ้น) จัดสรรให้ บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจ เมนท์  ราคา1.87 บาทต่อหุ้น มูลค่า 5,483ล้านบาท และ สันติ ภิรมย์ภักดี มูลค่า 2,300 ล้านบาท รวม 7,783 ล้านบาท    

ขณะเดียวกัน สันติ  โอนพอร์ต อสังหาฯ และแลนด์แบงก์ส่วนตัว  ที่ถือในนาม บริษัท สันติบุรี (เจ้าของ โรงแรม สันติบุรีบีชรีสอร์ท กอล์ฟ แอดน์ สปา ที่เกาะสมุย มูลค่า 2,608ล้านบาท ) ให้ รสา และ บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ฯ โอนบริษัท เอสไบร์ท ฟิวเจอร์  ซึ่งถือครองหุ้น 3 บริษัท สัดส่วน 99.99  % เท่ากัน ประกอบด้วย

สันติ ภิรมย์ภักดี
สันติ ภิรมย์ภักดี

หนึ่ง บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ ดิเวลลอปเม้นท์ เจ้าของที่ดินสถานทูตญี่ปุ่นเดิม มูลค่า 3,257 ล้านบาท 

สองบริษัท ภิรมย์พัฒน์ เจ้าของที่ดิน 2 ไร่ 48 ตารางวา ถนนอโศกมนตรี ราคา 721ล้านบาท และ บริษัท แม็กฟิวเจอร์ เจ้าของที่ดิน 30 ไร่ 2 งาน  10 ตารางวา ถนนประดิษฐ์มนูญธรรม มูลค่า 1,222 ล้านบาท) 

ปิดดีลแล้ว รสา เปลี่ยนชื่อเป็น สิงห์ เอสเตท สันติ ภิรมย์ภักดี และบริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเมนท์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือครองหุ้น 34.18 %และ 51.67% ตามลำดับ สิงห์เอสเตท เป็นธุรกิจน้องใหม่ในกลุ่มสิงห์    

คล้อยหลัง ปิดดีล สิงห์ เอสเตท ไม่นานต้นปี 2558  สันติ ปรากฏตัวในงานเปิดตัวบริษัท ดีวีเอส 2014กิจการร่วมทุน ระหว่าง บริษัท วราฟู้ด แอนด์ ดริ๊ง จำกัด กิจการในกลุ่มสิงห์  กับ บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด  หนึ่งในตำนานกาแฟไทย  ที่จังหวัดเชียงราย  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นการปรากฏตัวออกสื่อครั้งแรกในรอบ 10ปี ของเบอร์หนึ่งค่ายสิงห์  สันติ บอกกับผู้สื่อข่าวถึง การปรับโครงสร้างว่า ไม่มีนโยบายอะไรเป็นพิเศษให้ลูกๆ (ภูริต กับ ปิติ)“เพียงแต่ให้เขาคิดนอกกรอบ การบริหารหลักจากนี้จะมาจากลูกๆที่ผมได้วางพื้นฐานไว้ดีแล้ว” ก่อนย้ำ “ผู้บริหารรุ่นนี้ต้องเก่งกว่าผม “

สันติ ยังพูดถึงการควบรวมกิจการด้วยว่า“…ถ้าเริ่มจากศูนย์มันช้าเกินไป การเจริญเติบโตได้ส่วนหนึ่งต้องมีพันธมิตรที่ดี ถ้าเริ่มจากศูนย์เลยคงลำบากมาก “ (กรุงเทพธุรกิจ 4 มีนาคม 2558) แม้กล่าวในวาระเปิดกิจการขายกาแฟ แต่ก็สะท้อน หลักคิดของ สันติ ต่อกลยุทธ์ในการขยายอาณาจักรธุรกิจ แน่นอนย่อมรวมถึง สิงห์เอสเตท สิงห์ตัวที่สองที่เพิ่งปรากฏตัว   

การปรับโครงสร้างกลุ่มสิงห์ครั้งนั้น สันติ ตั้งเป้าปรับสัดส่วนรายได้กลุ่มสิงห์ จากเดิม 75% ของรายได้รวม (ประมาณ 100,000 ล้านบาท ณ ขณะนั้น) มาจากธุรกิจเบียร์ ลดลงเหลือ50%และรายได้จากธุรกิจอื่นๆอีก 50%

งานนี้ สิงห์ เอสเตท รับการบ้านจาก สันติ  รายได้ต้องเติบโตปีละ 50% เพื่อให้รายได้จากอสังหาฯ แตะหลัก 20,000 ล้านบาท หรือประมาณ 20% ของรายได้รวมภายในปี 5 ปี (ราวปี 2564)

นริศ เชยกลิ่น
นริศ เชยกลิ่น

นริศ เชยกลิ่นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สิงห์ เอสเตท ให้สัมภาษณ์สื่อว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สิงห์ เอสเตท จึงต้องโดด้วยกลยุทธ์รุกไล่ซื้อควบกิจการ นับจาก สิงห์ เอสเตท ปรากฎตัว สิงห์ ตัวนี้ ไล่ซื้อ และร่วมลงทุน ในกิจการและโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ

ปี 2558 สิงห์ เอสเตท ประเดิมปิด 2ดีลใหญ่คือ ซื้อหุ้น 51%  บมจ.เนอวานา บริษัทพัฒนาอสังหาฯ ขนาดกลางในตลาดหุ้น มูลค่า 2,091 ล้านบาท ซื้ออาคารสำนักงาน ซันทาวเวอร์ ( 2อาคาร) ริมถนนวิภาวดีรังสิต มูลค่า 4,700 ล้านบาท รวมทั้งซื้อ โรงแรม เมอร์เคียว  ในอังกฤษแบบยกล็อต 26 แห่ง  มูลค่า 8,600ล้านบาท หรือ ปี  2561 ซื้อรีสอร์ท 6แห่ง ใน 4 ประเทศจากกลุ่ม Outrigger hotel hawaii มูลค่า 253.59ล้านดอลลาร์ (ราว 9,129ล้านบาท เป็นต้น รวมแล้ว สิงห์ เอสเตท ครอบครองโรงแรม 37 แห่ง รวม 4,271 แห่ง

 

 

นอกจากซื้อแล้วยังพัฒนาโครงการใหม่ๆ ในย่านธุรกิจอีกหลายโครงการ  โดยเฉพาะ สิงห์ คอมเพล็กซ์ (หัวมุมอโศก–เพชรบีรีตัดใหม่) มูลค่า 4,255 ล้านบาท ที่ สันติหมายมั่นให้เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯ  ณ ปี 2561สิงห์ เอสเตท มีกิจการในกลุ่ม 58บริษัท สินทรัพย์รวม 58,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าตัว นับจากปี 2557

การรุกเข้าธุรกิจอสังหาฯของกลุ่มสิงห์ นอกจากกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ หลังจากผูกอนาคตไว้กับธุรกิจเบียร์ เป็นหลักมาตลอดแล้ว ธุรกิจใหม่ยังเป็นช่องทางให้กลุ่ม“ภิรมย์ภักดี” นำแลนด์แบงก์ในมือ ที่มีอยู่มากกมาย  นอกเหนือ พอร์ตอสังหาฯ ที่โอนเข้า สิงห์ เอสเตท แล้ว “ตระกูลภิรมย์ภักดี” ยังถือครองที่ดินผืนใหญ่ไว้ไม่น้อย เช่นที่จังหวัดเชียงราย ขอนแก่น ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 10,000 ไร่ โดยประมาณ มาพัฒนาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกมากมาย      

ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีกลุ่มทุนหลายกลุ่มเข้าสู่ธุรกิจอสังหาฯ โดยเริ่มต้นจากแลนด์แบงก์ในมือ เช่นเดียวกับสิงห์  โดยในจังหวะที่ สิงห์ เอสเตท เกิดใหม่ในตลาดอสังหาฯ กลุ่มทุนใหญ่อย่าง กลุ่มทีซีซี ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” เจ้าของสมญาราชาอสังหาฯ และซีพีของ “เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์”  ก็เปิดฉากรุกอสังหาฯโดยเน้นพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส มุ่ง ตลาดบน เช่นกัน

เจ้าสัวเจริญ ปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาฯ  (หนึ่งใน 5 สายธุรกิจหลักของทีซีซี) หลายระลอกและตะลุยผุด โครงการมิกซ์ยูส ปักธงยึดทำเลพระรามฯ 4เช่น โครงการระดับแลนด์มาร์ค “วัน แบง ค็อก”  มูลค่าโครงการ 120,000ล้านบาท ที่เจ้าสัวเจริญ ประกาศว่าจะเป็นแลนด์มาร์กของโลก 

 ส่วนเจ้าสัว ธนินท์ ปัดฝุ่นที่ดินริมเจ้าพระยาฯฝั่งเจริญนคร ที่เก็บไว้หลายสิบปีมาพัฒนาเป็น ไอคอนสยาม (มูลค่าโครงการ 50,000  ล้านบาท) เป็นแลนด์มาร์คริมเจ้าพระยา เป็นต้น  

อาจกล่าวได้ว่า สิงห์ เอสเตท คือธุรกิจใหม่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องธุรกิจเดิม ที่ “ตระกูลภิรมย์ภักดี” ลงทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 8ทศวรรษ และยังเป็นก้าวใหม่ที่กลุ่มภิรมย์ภักดี เข้าระดมทุนจากตลาดหุ้นไปขยายธุรกิจ โดย สันติ มีแผน ดันกลุ่ม กลุ่มโรงแรม (กิจการในกลุ่มสิงห์ เอสเตท) และสายธุรกิจอาหารเข้า ระดมทุนในตลาดหุ้น อีกด้วย

การขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ และเพิ่มช่องทางระดมทุนจากตลาดทุนของกลุ่มสิงห์มีผลต่อ การขยายขนาดธุรกิจในกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี และ สปีด ในการสะสมทุน ของ สันติ ภิรมย์ภักดี  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0