โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นพิษสงครามการค้าฉุดส่งออกดิ่ง “กนง.” ทบทวนจีดีพีใหม่ในเดือนก.ย.นี้

สยามรัฐ

อัพเดต 19 ส.ค. 2562 เวลา 09.21 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2562 เวลา 09.20 น. • สยามรัฐออนไลน์
เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นพิษสงครามการค้าฉุดส่งออกดิ่ง “กนง.” ทบทวนจีดีพีใหม่ในเดือนก.ย.นี้

แบงก์ชาติรับเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ชะลอมากกว่าที่คาดไว้ สงครามการค้าไม่งบง่ายๆกระทบส่งออกไทยรุนแรง พร้อมทบทวนจีดีพีใหม่ในการประชุม กนง.เดือนก.ย.นี้

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า คาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ( กนง.) เดือนก.ย.นี้ ธปท.จะพิจารณาปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2562 ลงอีก เนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนยืดเยื้อ กระทบต่อภาคการส่งออก โดย กนง.คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวร้อยละ 3.3

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2562 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)แถลงขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาส 1 ปี 2562 ต่ำกว่าประมาณการของ ธปท.ที่เผยแพร่ในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมิ.ย.62 ที่ร้อยละ 2.8 โดยเฉพาะภาคต่างประเทศที่หดตัวจากทั้งการส่งออกสินค้าและการส่งออกภาคบริการ

นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐที่ขยายตัวชะลอลง ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม ในการประชุม กนง.รอบที่ผ่านมา กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะขยายตัวต่ำกว่าประมาณการอย่างมีนัย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ กนง.พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง

สำหรับระยะต่อไปประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแรงส่งจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยจะมีการประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจและเผยแพร่อีกครั้งในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนก.ย.62

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศที่ต้องติดตามพัฒนาการต่อไปอย่างใกล้ชิด อาทิ ความเสี่ยงจากสงครามการค้าฯ แนวโน้มนโยบายการเงินที่ผันผวนของธนาคารกลางทั่วโลก และความต่อเนื่องของการเบิกจ่ายและการดำเนินนโยบายภาครัฐ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0