โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้ที่อยู่นอกภาคการเกษตร

รักบ้านเกิด

อัพเดต 06 ก.ค. 2563 เวลา 06.47 น. • เผยแพร่ 06 ก.ค. 2563 เวลา 06.47 น. • รักบ้านเกิด.คอม

สำหรับคนนอกภาคการเกษตรนั้น เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้ เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นแนวปฏิบัติตนไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมหรืออาชีพใด ก็ต้องยึดวิถีไทยอยู่แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลาง อยู่กินตามฐานะ ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต เจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนัน ซึ่งตั้งอยู่บนความเสี่ยง กู้เงินมาลงทุนโดยหวังรวยอย่างรวดเร็ว แล้วก็ไปสู่ความล้มละลายในที่สุด ตั้งอยู่บนหลักของ "รู้ รัก สามัคคี" ใช้สติปัญญาปกป้องตนเองไม่ให้หลงกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยไม่รู้ถึงสาเหตุและผลตามสภาพแวดล้อมของไทย ให้รู้จักแยกแยะสิ่งดี สิ่งเลว สิ่งที่เป็นประโยชน์ ตามสภาพ ความเป็นจริงของบ้านเมืองเราเป็นที่ตั้ง ให้มีความรัก ความเมตตา ที่จะช่วยเหลือสังคมให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ และรวมพลังกันด้วยความสามัคคี เป็นหมู่เหล่า ขจัดข้อขัดแย้งไปสู่ความประนีประนอม รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

Plant/8423_1.jpg
Plant/8423_1.jpg

ในโอกาสนี้ภาคเอกชนได้รวมพลังครั้งใหญ่ ผลักดันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้กับองค์กรธุรกิจอย่างจริงจัง หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบยั่งยืน โดยทุกภาคส่วนของสังคมได้เริ่มหันมาตามรอยยุคลบาท โดยยึดหลักการทั้งหลายที่ทรงแสดงให้เห็นมาใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency Economy)

 

เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้กับธุรกิจได้จริง เพราะเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้หมายถึง เศรษฐกิจระบบปิด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่ค้าขาย ไม่ส่งออก ไม่ผลิต เพื่อคนอื่น ไม่ได้สนับสนุนการปดประเทศ หรือหันหลังให้กับกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวไม่ประมาท ไม่โลภมากเกินไป จนเมื่อแข็งแรงพอ สามารถเข้าสู่การแข่งขันในแบบที่สร้างสรรค์ ใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างชาญฉลาด รู้เท่าทัน สามารถเลือกรับเฉพาะสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากจนเกินไป

 

แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามไม่ให้ลงทุนหรือขายธุรกิจ แต่เน้นให้ทำธุรกิจที่ไม่เสี่ยงมากเกินไป ควรลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง

++ ประเทศไทยสู่เศรษฐกิจพอเพียง ++
รอบคอบ-อย่าตาโต :
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงในเรื่องความโลภของคนอันเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า ความพอเพียง พอสมควร ตามอัตภาพนั้นเป็นจุดเข้นมาโดยตลอด เป็นประเด็นของการลดความเสี่ยงอันเกิดจากสภาพความไม่ไม่แน่นอนในทุกด้าน ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ ได้ทรงขยายความให้เห็นถึงรูปธรรมของการไม่ประมาณตนเองและแก่ผู้อื่นอย่างละเอียด ซึ่งพระองค์ทรงมีหลักการในการทำโครงการว่า ต้องรอบคอบอย่าตาโต

มีความโลภน้อย :
 

"…คนเราถ้าพอใจความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีควมคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข…"

รากฐานที่มั่นคง แข็งแรง :
 

เศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเสมือนการฝังรากปักเสาเข็มแบะคำนวณให้แบกรับน้ำหนักก่อนสร้างบ้าน หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการวางรากฐานของบ้านให้มั่นคงก่อน จะก่อสร้างตัวบ้านต่อไป ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียงก็คือ การวางรากฐานอันมั่นคง และยั่งยืนของชีวิตเรานั่นเอง

 

เศรษฐกิจพอเพียง : อาจจะหมายถึง การดำเนินงานอย่างเต็มศักยภาพ (ไม่ใช่การห่อตัว)จากฐานรากของตัวเองที่มีอยู่ อันได้แก่ ทุนสังคม การศึกษา ทุนทรัพยากร เป็นต้น

 

"…อาคารบ้านเรือน ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ก็เพราะความแข็งแรงของรากฐาน หรือ เสาเข็ม ซึ่งเรามองไม่เห็น และมักจะลืมไปว่าเราอยู่ได้บนรากอะไร…"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0