โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เว็บ www.ไทยชนะ.com ปลอมเป็นของต่างชาติ เผลอกด SMS แนะไปล้างเครื่อง-เคลียร์ข้อมูล

BRIGHTTV.CO.TH

เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 04.15 น. • Bright Today
เว็บ www.ไทยชนะ.com ปลอมเป็นของต่างชาติ เผลอกด SMS แนะไปล้างเครื่อง-เคลียร์ข้อมูล

กระทรวงดิจิทัลฯ กระทรวงสาธารณสุข ใช้ข้อมูลจาก www.ไทยชนะ.com เพื่อสอบสวนติดตามผู้สัมผัสโรคหากพบผู้ป่วยรายใหม่จากการใช้บริการในสถานประกอบกิจการต่างๆ และตรวจสอบประเมินแนวปฏิบัติวิถีใหม่ของสถานประกอบการ ย้ำทำ New Normal ดีจะไม่มี New Wave ส่วนผลสำรวจข่าวปลอมโควิด19 พบว่า ประชาชนร้อยละ 78.21 รู้เท่าทันข่าวปลอมโควิด 19 ส่วนที่แชร์ข่าวปลอมพบในเฟสบุ๊กมากที่สุด

บ่ายวันนี้ (26 พฤษภาคม 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะรองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) หรือ ศบค. เปิดเผยถึงรายงานผลสำรวจโครงการประเมินพฤติกรรมของประชาชนต่อข่าวปลอมช่วงสถานการณ์โรคโควิด 19 ว่า ผลการสำรวจในสัปดาห์ที่ 1 (4-14 พฤษภาคม 2563) ดัชนีการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ข่าวสารเกี่ยวกับโควิด 19 อยู่ที่ร้อยละ 78.21 โดยที่ร้อยละ 57.6 เคยเห็น/ได้ยิน/ได้อ่าน ข่าวปลอมในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จากเฟสบุ๊กมากถึงร้อยละ 51.1, สื่ออื่นที่ไม่ใช่ออนไลน์ ร้อยละ 28.6, และออนไลน์อื่น ๆ ได้แก่ ไลน์, ทวิตเตอร์/ยูทูป/อินสตาแกรม ร้อยละ 20.14

ขณะเดียวกันมีอยู่ถึงร้อยละ 35.7 ที่ไม่สามารถแยกข่าวจริงและข่าวเท็จ โดยมีประชาชนร้อยละ 4.8 แชร์ข่าวเท็จ และจากประชาชนที่แชร์ข่าวเท็จ พบว่าร้อยละ 83.8 แชร์ทางเฟสบุ๊กเป็นหลัก ผลสำรวจดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดีว่าประชาชนสามารถแยกแยะข่าวจริงข่าวปลอมตัวข่าวปลอม เรื่องโควิด19 ได้ ซึ่งจะติดตามสำรวจความเข้าใจเรื่องข่าวปลอมต่อไป

ส่วนกรณีเรื่อง www.ไทยชนะ.com ปลอมนั้น กระทรวงดิจิทัลฯ ได้เร่งติดตามพร้อมสั่งปิดเว็บไซต์ที่ตรวจพบ เบื้องต้นทราบว่าเป็นเว็บต่างชาติที่ทำปลอมขึ้นมาล่อลวงให้เข้าไปใช้งานและให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากเว็บ ซึ่งอาจทำให้ติดมัลแวร์หรือไวรัสมาได้ จึงไม่แนะนำให้เข้าไปใช้งาน รวมทั้งการมีข้อความสั้น (SMS) ส่งเข้าไปยังเครื่องโทรศัพท์ ขอให้ประชาชนอย่ากดดาวน์โหลดใดๆ

หากเผลอกดดาวน์โหลดมาแล้วขอให้ลบออก หากยังไม่มั่นใจให้นำโทรศัพท์ไปให้ศูนย์บริการล้างเครื่องและเคลียร์ข้อมูลเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ หากพบเบาะแสการทำเว็บไซต์ปลอมหรือมีปัญหาการใช้งานสามารถแจ้งที่สายด่วน 1119 ส่วนเรื่องการนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้นั้น ยืนยันว่า www.ไทยชนะ.com เน้นความปลอดภัยส่วนบุคคลเป็นสำคัญ ไม่มีการระบุชื่อนามสกุลใช้เพียงเบอร์โทรศัพท์ลงทะเบียนครั้งแรก และข้อมูลใช้เพื่อการติดตามควบคุมโรคโควิด 19 เท่านั้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0